Two years ago, a robot crushed a 22-year-old man to death at a Volkswagen Group factory in Germany after the maintenance worker became trapped in an area usually off-bound to humans. While this type of tragedy is still relatively rare, efforts to improve safety are intensifying as factories around the world become increasingly automated. Now, in a development that's drawn interest from automakers including Volkswagen, entrepreneurs Roman Weitschat and Hannes Hoeppner, working at the German Aerospace Center outside of Munich, say they have designed a way to better safeguard interactions between humans and robots with the aim of allowing them to work more closely.
ที่มา : www.autonews.com วันที่ 18 กันยายน 2560
ค่ายรถญี่ปุ่นทยอยปรับแผนใหญ่มุ่งสู่ยุครถยนต์ไฟฟ้า มาสด้าขอ 18 ปี ปิดฉากรถน้ำมัน สำนักข่าวเกียวโดรายงานอ้างแหล่งข่าวว่า บริษัท มาสด้า มอเตอร์ จะยกเลิกการผลิตรถยนต์เครื่องสันดาป โดยหันมาผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (อีวี) และรถเครื่องยนต์ไฮบริดทั้งหมดภายในปี 2035 ซึ่งนับเป็นค่ายรถญี่ปุ่นยักษ์ใหญ่รายแรกที่ตั้งเป้าหมายดังกล่าว เพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดรถยนต์ โดยเฉพาะในยุโรปที่ปรับกฎเพิ่มความเข้มงวดด้านการปล่อยมลพิษมากขึ้น รายงานระบุว่า มาสด้ายังไม่มีการผลิตรถยนต์อีวีและรถยนต์ไฮบริดแบบ เสียบปลั๊ก โดยมีเพียงรถไฮบริดแบบเดิมที่ใช้แบตเตอรี่ และรถยนต์เครื่องสันดาปที่ใช้น้ำมัน แต่เมื่อเดือนที่แล้ว มาสด้าได้ประกาศความร่วมมือกับบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เพื่อร่วมกันพัฒนารถอีวีและเปิดโรงงานผลิตแห่งใหม่ในสหรัฐ โดยมาสด้าคาดว่าจะสามารถเปิดตัวรถอีวีได้ครั้งแรกในสหรัฐ ภายในปี 2019
ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ ทูเดย์ วันที่ 18 กันยายน 2560
ปักกิ่ง-รัฐบาลจีนประกาศนโยบายขยายการใช้เชื้อเพลิงเอธานอลสำหรับยานยนต์ทั่วประเทศภายในปี 2563 หวังสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเชื้อเพลิงเอธานอลภายในประเทศ เนื่องจากจีนยังใช้เชื้อเพลิงชีวมวลน้อยเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ ทั้งๆที่ตลาดรถยนต์จีนถือว่าใหญ่ที่สุดของโลก อีกทั้งเป้าหมายของจีนคือการช่วยลดสภาวะโลกร้อน ขณะที่จีนมีปริมาณข้าวโพดส่วนเกินที่จะใช้ผลิตเอธานอลได้มากเฉลี่ยปีละกว่า 200 ล้านตัน.
ที่มา : หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ไทยรัฐ วันที่ 14 กันยายน 2560