สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

   การพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบต้นทุนต่ำดังกล่าวเป็นความร่วมมือโดย บริษัท นิปปอนคิไคเอ็นจิเนียริ่ง กับสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสถาบันไทย-เยอรมัน เพื่อช่วยผู้ประกอบการ ในการลดต้นทุนในการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ นายทองพูน ทองเปล่ง วิศวกรของ บริษัท นิปปอนคิไคเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ให้ข้อมูลแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า เนื่องจากอุตสาหกรรมในประเทศไทย มีบทบาทเรื่องอุตสาหกรรมยานยนต์ ยานพาหนะ และอุตสาหกรรมการบิน อีกทั้งผู้ประกอบการยังต้องนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศที่มีราคาค่อนข้างสูง  นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องระยะเวลา ที่พนักงานใช้ในการเดินไปหยิบชิ้นงานมาประกอบ ทำให้ได้ประสิทธิภาพของการทำงาน ต่อตัวชิ้นงานค่อนข้างน้อย เมื่อนักวิจัยของนิปปอนคิไคเอ็นจิเนียริ่งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว และต้องการช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุน ในการนำเข้าเครื่องจักร และเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน จึงได้ประดิษฐ์คิดค้น หุ่นยนต์ต้นทุนต่ำนี้ขึ้นมา

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายวัน 360 องศา วันที่  27 กันยายน 2560

 

 

กรศ.จ่อคลอดแผนพัฒนาบุคลากรฯรองรับ 10 อุตฯเป้าหมาย ในพื้นที่อีอีซีคาดเสนอ "ประยุทธ์" ได้ต.ค.-พ.ย.นี้เผยมีความ ต้องการแรงงานระดับอาชีวะถึง 1.75แสนคน   การพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี ถือเป็น 1ใน8แผนงานย่อย ที่คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้เห็นชอบในกรอบแผนงาน เพื่อนำไปสู่การยกร่างแผนดังกล่าว  โดยในการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(กรศ.) มีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน ที่จะมีขึ้นในเร็วๆนี้จะมีการพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างดังกล่าว เพื่อจะนำเสนอคณะกรรมการนโยบายฯ เห็นชอบในช่วงเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายนนี้ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะผลิตกำลังคน แรงงานที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมถึงการสนับสนุนการถ่ายทอดองค์ความรู้สมัยใหม่ การวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยีดี

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ วันที่  27 กันยายน 2560

 

 

   การพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติหรือรถยนต์ไร้คนขับ จากบริษัทเทคโนโลยีหลายๆแห่งรวมถึงอุตสาหกรรมรถยนต์ มีความชัดเจนและเข้มขึ้นเรื่อยๆ และบริษัทเทคโนโลยีจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นอีกค่ายหนึ่งที่มีความชัดเจนในการพัฒนาเพื่อแข่งขันกับเทคโนโลยีตะวันตก          บริษัทไป่ตู้ (Baidu) ยักษ์ใหญ่ทางด้านการบริการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตของจีน หลังจากได้ประกาศโครงการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ Apollo และได้เริ่มพัฒนามาหลายปีแล้ว ล่าสุดยังได้ให้คำมั่นเพื่อเร่งโครงการได้ประกาศการจัดตั้งกองทุน Apollo Fund มูลค่าถึง 10,000 ล้านหยวนหรือประมาณ 50,000 ล้านบาท   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า การจัดตั้งกองทุนนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานเพื่อเร่งการพัฒนาด้านเทคนิคและแข่งขันกับคู่แข่งจากสหรัฐฯ โดยจะนำไปลงทุนในโครงการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับประมาณ 100 โครงการในช่วง 3 ปีข้างหน้า

ที่มา : หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ไทยรัฐ วันที่ 25 กันยายน 2560