สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

                  กลุ่มสื่อต่างชาติรายงาน กรมศุลกากรจีนประกาศประกาศยกเลิกการระงับการนำเข้ารถยนต์เทสลาโมเดล 3 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้กรมศุลกากรจีนระงับนำเข้ารถยนต์รุ่นดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า บริษัทฯ ไม่ได้ปฎิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยการติดป้ายเตือนเป็นภาษาจีนภายในรถยนต์ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ราคาหุ้นของเทสลาร่วงลงทันทีร้อยละ 5  แหล่งข่าวภายในเปิดเผยว่า ขณะนี้เทสลาได้ปรับปรุงรถยนต์ของตรให้สอดคล้องกับข้อกำหนดดังกล่าวแล้ว ทำให้ได้รับบริการอนุญาตให้นำเข้าจีนอีกครั้ง ข่าวดีดังกล่าวทำให้หุ้นของเทสลาในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นทนที่ร้อยละ 3  ทั้งนี้ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เทสลาได้เปิดโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเทสลา บนที่ดินมูลค่ากว่า 40 ล้านดอลลาร์ ในเชตชานเมืองของเซี่ยงไฮ้ โดยนับเป็นเดิมพันที่สำคัญของเทสลาที่ต้องการปัจจัยสนับสนุนในประเทศจีน อันเป็นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก การผลิตรถยนต์ในประเทศจีนจะลดต้นทุนจากภาษีศุลกากรและการขนส่งทางทะเลสำหรับเทสลา เนื่องจากต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นจากผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในท้องถิ่น โรงงานแห่งใหม่ของเทสลาในจีน ตั้งเป้าจะมีกำลังการผลิตสูงสุด 500,000 คันต่อปี และจะกลายเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่แข่งขันกันเพื่อแย่งส่วนแบ่งชองภาคยานยนต์ไฟฟฟ้าของจีน อันเป็นอุตสหกรรมที่คาดว่าจะเติบโตต่อไป เนื่องจากรัฐบาลมุ่งมั่นผลักดันเทคโนโลยีพลังงานสะอาด

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 19 มีนาคม 2562

               อีก 2 ปีข้างหน้าหรือปี 2564 รถยนต์ทุกรุ่นจาก 12 ค่ายรถที่ผลิตขายในประเทศ จะต้องปรับระบบเครื่องยนต์เพื่อรองรับน้ำมันมาตรฐานที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบมาตรการแก้ไขวิกฤตมลพิษทางอากาศที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่เกินค่ามาตรฐานในปี 2562 แต่ทว่าการพัฒนาไปสู่ระบบดังกล่าวยังต้องอาศัยระยะเวลาปรับตัว 12 ค่ายรถพร้อมปี 64  การลดฝุ่นละอองได้กลายเป็นวาระแห่งชาติในทันที ไม่เพียงการควบคุมปริมาณการเผาป่าการปล่อยควันจากยานพาหนะให้เป็นจำเลยที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด “นายสมชาย หาญหิรัญ” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จัดทำมาตรฐานการระบายสารมลพิษจากเครื่องยนต์เทียบเท่า EURO 5 (มอก. EURO 5 ) ให้มีผลบังคับใช้ในปี 2564 ที่จะกำหนดค่ากำมะถันไม่เกิน 10 ppm รวมถึงกำหนดค่าการปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์และไนโตรเจนออกไซต์ เป็นต้น โดยล่าสุดมีค่ายรถยนต์ 12 แบรนด์ ประกอบด้วย Audi, BMW, Isuzu, Mazda, Mercedes-Benz, Mitsubishi, Mini, MG, Nissan, Suzuki, Toyota และ Volvo พร้อมที่จะปรับมาตรฐานเครื่องยนต์และผลิตภัณฑ์รถยนต์ทุกรุ่นเพื่อขายในประเทศให้เป็นไปตาม มอก. EURO 5 ในปี 2564 จากนั้นมาตรฐาน EURO 6 จะออกมาบังคับในปี 2565 ต่อไป สอดคล้องกับกระทรวงพลังงานที่มีเป้าหมายว่า ในอีก 2 ปี หรือปี 2564 กำลังการผลิตน้ำมันดีเซลมาตรฐาน EURO 5 ของโรงกลั่นทั้งหมด 6 แห่งทั้งโรงกลั่นไทยออยส์ IRPC เอสโซ่บางจาก SPRC และเซลล์ จะต้องผลิตน้ำมันและขายน้ำมันยูโร 5 ในสถานีจ่ายน้ำมันได้ครบทั้งหมด 100% ซึ่งล่าสุดทางคณะกรรมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้พิจารณาออกมาตรการเร่งรัดการลงทุนเพื่อให้โรงกลั่นน้ำมันจะได้รับสิทธิประโยชน์ ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรในการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน ทั้งนี้ จะต้องยื่นขอรับสิทธิและประโยชน์ตามาตรการนี้ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2562

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 18 มีนาคม 2562

               นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้สั่งการให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เร่งดำเนินการปรับมาตรฐานการระบายสารมลพิษจากเครื่องยนต์จากปัจจุบันที่ใช้มาตรฐานยูโร 4 ให้เทียบเท่ายูโร 5 ในปี 2564 และยูโร 6 ในปี 2565 เพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวว่า สมอ. อยู่ระหว่างจัดทำมาตรฐานยูโร 5 โดยกำหนดรายละเอียดการระบายสารมลพิษและฝุ่นละอองที่เข้มกว่ายูโร 4 คาดว่าจะสามารถลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ภายในปีนี้ และบังคับใช้ในปี 2563  แต่ละบังคับใช้จริงปี 2564 เพื่อให้เวลาปรับตัว 1 ปี คาดว่าต้นทุนการผลิตจะเพิ่มขึ้นราว 3-4 % จะส่งผลกระทบกับรถยนต์อีโคคาร์และรถยนต์หรูต่างกันตามต้นทุน นายครรชิต ไชยสุโพธิ์ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า หากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเพราะต้องมีการปรับเปลี่ยนเครื่อยนต์โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซลที่อาจจะต้องชดเชยเพราะหากต้นทุนเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะขายในราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม

ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 15 มีนาคม 2562