สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

                  ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles : EV) เป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยให้การสนับสนุนมาตั้งแต่ปี 2560 โดยได้วางแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านพลังงานเพื่อส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยในระหว่างปี 2557-2562 การที่รัฐบาลไทยพยายามผลักดันยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มที่เพราะนี่คือส่วนหนี่งของการลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมโดย ผศ.ดร.ภูรี สิรสุนทร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์ นักวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฮิบายว่ายานยน๕ชต์ไฟฟ้าหรือรถยนต์ไฟฟ้ามีอัตราเร่งในการออกตัวสูงไม่ต้องทดเกียร์ไม่มีเสียงดังของเครื่องยนต์นอกจากนี้ยังประหยัดค่าซ้อมบำรุงและค่าเชื้อเพลิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ก่อให้เกิดมลพิษอย่างฝุนละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ยานยนต์ไฟฟ้ามีข้อด้อยที่นักขับไม่ค่อยปลื้มคือราคาที่ค่อนข้างสูงและการชาร์จพลังงาน 1 ครั้ง (ประมาณ 4 ชั่วโมง) จะวิ่งได้ประมาณ 400 กิโลเมตร ทำให้ไม่เหมาะแก่การใช้เดินทางไกล เพราะฉะนั้นต่อให้มีข้อดีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหลายๆประเทศ อาทิ นอร์เวย์ เยอรมนี ญี่ปุ่น อเมริกาและจีน เริ่มนำมาใช้จริง แต่ความคุ้มค่าคุ้มราคาสำหรับคนไทย อาจจะต้องใช้เวลาในการวัดผลสักนิด สกว. จึงได้ทำงานวิจัยโครงหารประเมินมาตรการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าต่อการยอมรับของผู้บริโภคและประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคขนส่งเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาดูว่าจะทำอย่างไรให้ผู้ใช้รถตัดสินใจมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแทนยานยนต์ประเภทที่ใช้เชื้อเพลิง (เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal combustion engine : ICE )) ผลการวิจัยพบว่าสิ่งที่ต้องทำให้เกิดความชมัดเจนคือตัวชี้วัดเพื่อนเปรียเทียบให้เห็นชัดเจนทั้ง ต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (Total cost Ownership : TCO) ต่อยานยนต์ 1 คันไม่ว่าจะเป็นราคารถมือหนึ่งและมือสอง รวมไปถึงค่าเชื้อเพลิง ค่าบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จะตามมา เช่น ดอกเบี้ยประกันและภาษี ซึ่งในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนที่ผู้ใช้ยานยนต์ต้องจ่ายหรือ ต้นทุนเอกชนแล้ว EV ยังมีความโดดเด่นจูงใจไม่มามกพอที่จะทำให้ผู้ซื้อเปลี่ยนมาซื้อ EV โดยเฉพาะเมื่อยานยนต์ในเซ็กเมนต์เดียวกันยานยนต์ประเภทสันดาปภายในมีราคาที่ถูกกว่าในขณะที่ ต้นทุนทางสังคม โดนเฉพาะต้นทุนที่เกิดจากมลพิษทางอากาศการใช้ EV ไม่ก่อให้เกิดต้นทุนนี้เลยและมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562

                  นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เผยว่า โตโยต้าร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดประกวดโครงการ ซียู โตโยต้า ฮาโม โอเพ่น อินโนเวชั่น คอนเทสต์ (CU TOYOTA Ha:mo OPEN INNOVATION CONTEST) เพื่อร่วมพัฒนานวัตกรรมการเดินทางในอนาคต โดยรองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี กำกับดูแลด้านการพัฒนางานใหม่และงานนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมเป็นประธานในงานตัดสินรอบชิงชนะเลิศ ณ อาคารฌฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเร็วๆนี้ นายนินนาทกล่าวว่า บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ริเริ่มโครงการนี้ภายใต้ความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2560 เพื่อทดลองระบบการแบ่งปันรถกันใช้ด้วยยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก อีวี คาร์แชริ่ง (EV Car Sharing) เพื่อวิ่งมนระยะทางสั้นๆ สำหรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างระบบขนส่งสาธารณะ และการเดินทางส่วนบุคคลอย่างราบรื่น เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกสบาย เดินทางสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างรวดเร็วและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันโครงการมีรถไฟฟ้าที่ให้บริการรวมทั้งหมด 30 คัน ใน 22 สถานี โดยครอบคลุมพื้นที่ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สยามสแควร์ สามย่าน และสวนหลวง จากการประเมินโครงการ “CU TOYOTA Ha:mo” พบว่า ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากกลุ่มเป้าหมาย และเพื่อขยายระบบคมนาคม Ha:mo ออกไปในวงกว้าง ทางโครงการจึงเปิดให้นิสิตนักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาโครงการจะประสบการณ์การใช้งานจริง ภายใต้โครงการ “เวทีเปิดทาง นวัตกรรม” เพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ความสามารถ และนำแนวความคิดหรือแผนงานที่เข้าร่วมแข่งขันไปประยุกต์ใช้งานในอนาคตตลอดจนมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบ EV Car Sharing ไปในมิติต่างๆ มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 30 ทีม ผลการตัดสิน ด้านระบบขับขี่อัตโนมัติ เพื่อการรีโลเคชั่นรถ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม KWY ด้านการนำเทคโนโลยีหรือแอพพลิเคชั่นเข้ามาปรับปรุงให้ผู้ใช้งานขับขี่ปลอดภัยและประหยัดมากขึ้น รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม SIMPLE HARMOIC ด้านการออกแบบระบบรีโลเคชั่นรถ สำหรับ CU TOYOTA Ha:mo รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม CAPANITY ด้านแผนการตลาดเพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิกและการใช้งาน รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม องศ์หญิงสามย่าน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน ฉบับวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562

              นายธนานันต์ กาญจนคูหา ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอฟโอเอ็มเอ็ม (เอเซีย) จำกัด ปิดเผยว่าจากการเปิดตัว FOMM One รถไฟฟ้าจากแบตเตเอรี่ 100% ใน 2 จังหวัดคือ ภูเก็ตและขอนแก่นที่ผ่านมา พบว่าลูกค้าให้ความสนใจอย่างมาก แต่ลูกค้ายังต้องการเวลาศึกษาและตัดสินใจการเลือกซื้อเพราะเป็นรถที่เป็นเซ็กเมนต์ใหม่ในตลาด ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล้ำยุค ซึ่งนอกจากใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าแล้ว รถคันนนี้จะเชื่อมต่อกับระบบอิรเตอร์เน็ตที่รู้จักกันในชื่อว่า Internet of Things อีกด้วย ล่าสุดบริษัทได้เปิดตัวในเมืองพัทยา ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 11-17 กุมภาพันธ์  ณ ศูนย์แสดงสินค้า ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล พลาซ่า มารีน่า ภายใต้ความร่วมมือของ PEA Encom ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายและเป็นบริษัทในเครือของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยได้ร่วมกันจัดแคมเปญลดราคาพิเศษ เฉพาะในงานพร้อมกันนี้ ยังจัดรถให้ท่านผู้สนใจทดลองขับรถ EV FOMM One และร่วมกับกรุงศรีออโต้ จัดออกเบี้ยพิเศษดริ่มต้น  2.9% ผ่อนสูงสุดนาน 72 เดือน ให้แก่ลูกค้าจองรถในงาน โดย FOMM One เป็นรถนั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กที่ขับเคลื่อนด้วยระบบพลังงานไฟฟ้า 100% ออกแบบโดยทีมงานวิศวกรชาวญี่ปุ่น โดย นายฮิเดโอะ ชูรุมากิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอฟโอเอ็มเอ็ม (เอเชีย) จำกัด และลงทุนเปิดสายการผลิตรุ่นแรกในประเทศไทยด้านเงินลงทุน 1,000 ล้านบาท และได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ในประเภทการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กที่เรียกว่า ‘Micro-Fab’ อันเป็นเทคโนโลยีการผลิตรถไฟฟ้า เป็นการคิดค้นโดยวิศวกรของ FOMM เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ในการผลิตรถยนต์ ซึ่งรถรุ่นนี้แม้จะมีขนาดเล็กกระทัดรัด แต่สามารถรองรับได้ถึง 4 ที่นั่ง และไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่เป็นเทคโนโลยีรุ่นใหม่ล่าสุดจากประเทญี่ปุ่นคือ In-Wheel Motor สามารถชาร์จไฟฟ้าจากระบบภายในบ้านเพียง 6 ชั่วโมง (0-100%) คิดเป็นค่าใช้จ่าย 42 บาท วิ่งได้ไกล 160 กิโลเมตร (WLTC) ปัจจุบันมีผู้สนใจสั่งจองรถ FOMM One แล้ว 616 คัน คาดว่าจะสามารถส่งมอบรถคันแรกได้ประมาณปลายเดืทอนมีนาคม 2562 นี้ โดยมีสีให้เลือกทั้งหมด 7 สี ได้แก่ สีส้ม สีขาว สีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน สีชมพู และสีขียว

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562