นายณัฐพล รังสิตผล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากช่องโหว่ของมาตรการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าในระยะแรก ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้จากการลดอัตราภาษีสรรพสามิตให้กับผู้ผลิตรถยนต์ HEV/PHEV โดยไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next – Generation Vehicles) ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรม S-Curve ของประเทศ ดังนั้น สศอ. จึงได้นำเสนอมาตรการในการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุนการผลิตชิ้นส่วนสำคัญ “Core Tecnology” ของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นหัวจำสำคัญในการยกระดับไปสู่การเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต รวมทั้งต้องการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้ำด้ราคาประหยัด และยังช่วยบรรเทาผลกระทบจากฝุ่นละองขนาดเล็ก หรือเรียกว่า “อีโค่อีวี” (ECO EV) นายณัฐพล เปิดเผยเพิ่มเติมว่ามาตรการ ECO EV มีวัตถุประสงค์หลัด 2 ประการ คือ (1) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถปรับพลิกโฉมฐานการผลิตรถยนต์ ECO Car ซึ่งเป็นฐานการผลิตรถยนต์นั่งหลักของประเทศไทยซึ่งถูกกระทบอย่างรุนแรงจากมาตรการาภาษ๊สรรพามิตของการส่างเสริม EV ระยะแรก และ (2) เพื่อปิดจุดอ่อนของมาตรการส่งเสริม EV ในรอบแรก ซึ่งจากโครงการที่บริษัทเสนอขอรับการสนับสนุนทั้งหมด สศอ. พบว่ามีปัญหาใน 3 ประเด็นหลัก คือ ร้อยละ 79.8 ของรถยนต์ทุกคันเป็นการลงทุนผลิต HEV ที่ไม่สามารถชาร์จไฟฟ้าได้ จึงไม่เอื้อให้เกิดการพัฒาโครงข่ายไฟฟ้าที่จำเป็นต่อการพัฒนาให้ไปสู่ BEV ในอนาคตได้และกว่าร้อยละ 91.8 ของรถยนต์ที่ทุกบริษัท เสนอขอรับการสนับสนุน ไม่มีการลงทุนใน Core technology ของ EV ในประเทศไทยลเลย โดยเป็นการประกอบขั้นปลายสุด คือ ประกอบตัวถังและแบตเตอรี่ นอกจากนี้รถยนต์ทุกคันที่ทุกบริษัทเสนอขอรับการสนับสนุนมีราคาสูงกว่าที่ประชาชนผู้ใช้รถยนต์ส่วนใหญ่จะเข้าถึงได้ คือ ราว 1-6 ล้านบาท ซึ่งย่อมทำให้ไม่แพร่หลายหรือมีขนาดการผลิตที่เพียงพอสำหรับการลงทุนผลิต Core Technology ของ EV ในประเทศไทย
ที่มา : หนังสือพิมพ์ สยามธุรกิจ ฉบับวันที่ 29 มีนาคม 2562
นายศุกรศิษฎ์ หริตวร ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายเพาเวอร์ ออโต้โมบิล บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าบริษัทได้ร่วมมือกับบริษัท ตุ๊กตุ๊ก แฟคตอรี่ จำกัด เปิดตลาดรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ภายใต้แบรนด์ “TTF” ในไทยและภูมิภาคอาเซียนมุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าสหกรณ์สามล้อเครื่อง โรงแรม โรงพยาบาล คอนโดมิเนี่ยม ร้านอาหาร สถานศึกษา และกลุ่มรถขายอาหาร (Food Truck) เป็นหลัก โดยในปี 2561 บริษัทได้ขายรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า TIF ให้ลูกค้ากลุ่มดังกล่าวไปแล้วกว่า 10 คัน และในปี 2562 นี้มีแผนจะขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มผุ้ขับรถสามล้อรับจ้างสาธารณะ ซึ่งปัจจุบันได้รับอนุมัติให้จะทะเบียนเพิ่มเติมเฉพาะในเชียงใหม่ 450 คัน คาดว่าบริษัทจะชิงส่วนแบ่งตลาดได้ประมาณ 10% ในขณะเดียวกันได้จับมือกับธนาคารออมสิน ในการสนับสนุนสินเชื่อรถสามล้อรับจ้างมีโอกาสซื้อรถสามล้อไฟฟ้าไว้ใช้ประกอบอาชีพได้ง่ายขึ้น ตลอดจนเป็นการสนับสนุนการใช้รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าแทนสามล้อเครื่อง เพื่อลดปัญหามลภาวะฝุ่นละอองในอากาศที่กำลังเป็นปัญหาอย่างหนัก อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตลาดสามล้อรับจ้างในกรุงเทพฯนั้น ยังไม่ได้รับการอนุมัติให้จดทะเบียนเพิ่ม จึงยังไม่สามารถขยายตลาดในส่วนนี้ได้
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 21 มีนาคม 2562
นายพิทักษ์ พฤทธิสาริการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปฎิบัติการบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า การปฎิเสธ เข้าร่วมโครงการอีโคอีวีของรัฐในมุมมองของบริษัทมองของบริษัทมองเจตนาของรัฐบาลในการสนับสนุนนั้นดี แต่การต่อยอดทางเทคโนโลยีดังกล่าวไปสู่เทคโนโลยีไฮบริดหรือปลั๊ก-อิน ไฮบริด นั้นไม่สามารถทำได้ “เราเสนอให้รัฐบาล ถ้าหากจะมีการแก้ไขปัญหาของการสนับสนุนรถยนต์อีโคคาร์ควรแก้ทั้งระบบ ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาด้วยการออกมาตรการใหม่ออกมาเป็นอีโคอีวีในลักษณะนี้ ซึ่งเคยมีการสะท้อนมุมมองไปให้ทางภาครัฐในการสร้างความสมดุลของนโยบายเก่ากับนโยบายใหม่ให้สามารถเทียบเท่ากันได้ โดยหากโครงการอีโคคาร์จะเดินหน้าต่อไปได้นั้น รัฐบาลจะต้องปรับปรุงภาษีสรรพสามิตให้เหมาะสม” นายพิทักษ์ กล่าว ทั้งนี้ สำหรับการก้าวสู่เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยนั้น มองว่าในประเทศไทยนั้น มองว่าในประเทศไทยอาจจะยังไม่ก้าวไปถึงจุดนั้นเร็วนัก เนื่องจากราคาของแบตเตอรี่ยังเป็นอุปสรรคอยู่ และความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานยังมีข้อจำกัดอยู่โดยหากรัฐบาลสนับสนุนให้เป็นธุรกิจหรือสินค้าพิเศษดังเช่น กลยุทธ์ในประเทศจีน ที่รัฐบาลสนับสนุนให้ราคาถูกลง และโครงสร้างพื้นฐานเพียงพอก็จะทำให้ตลาดเกิดขึ้นได้ สำหรับแผนบริษัท ล่าสุดเปิดตัว ฮอนด้า แอคคอร์ด ใหม่ เจเนอเรซั่นที่ 10 มีให้เลือก 2 เครื่องยนต์ ได้แก่ เครื่องยนต์ 1.5 ลิตร เทอร์โบ และเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร ไฮบริดราคาเริ่มต้นไม่เกิน 1.5-1.8 ล้านบาท โดยรถยนต์รุ่นดังกล่าวเป็นรุ่นแรกที่อยู่ภายใต้การขอรับส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอในโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในส่วนของเทคโนโลยีไฮบริด ขณะที่ภายในงานบางกอก อินเตอร์ เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 มีนาคม – 7 เมษายน นี้ ที่ชาเลนเจอร์ฮอลล์ อินมแพ็ค เมืองทองธานี จะมีการเปิดให้สำรองสิทธิการซื้อรถยนต์รุ่นดังกล่าว และจะสามารถส่งมอบได้ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป โดยตั้งเป้ายอดขายภายใน 1 ปีหลังจากการส่งมอบไว้อยู่ที่ 9,000 คัน ซึ่งคาดว่าจะช่วยกระตุ้นตลาดได้เป็นอย่างดี
ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 20 มีนาคม 2562