สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

           ค่ายรถยนต์ รายใหญ่เกือบทุกค่าย ในเวลานี้ไม่เพียง แต่เร่งออกแบบ และผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle หรือ EV) เท่านั้น แต่เหนือกว่านั้น ค่ายรถชั้นนำอย่าง บีเอ็มดับเบิลยู ออดี้ ฟอร์ด เมอร์เซเดส-เบนซ์ นิสสัน หรือโตโยต้า ต่างกำลังเร่งวางแผนและออกแบบรถรุ่นใหม่ ที่รองรับนวัตกรรมไร้คนขับ (Autonomous Vehicle หรือ AV) เพื่อให้พร้อมรับมือกับคู่แข่งมาแรง อย่างเทสล่า (Tesla) หรือผู้ท้าชิงน้องใหม่ อย่างบริษัทเวย์โม (Waymo) ซึ่งแตกตัวมาจากกลุ่มงานโครงการ Self-Driving Car ของกูเกิล ตลอดจนอูเบอร์ (Uber)ที่เริ่มการทดสอบรถยนต์ไร้คนขับมา ตั้งแต่ปี 2016 โดยความหวังที่จะเปิด ให้บริการรถแท็กซี่แบบไร้คนขับ (Robo-Taxi หรือ Robo-Cab)ในอนาคต  ระดับสู่ความเป็นเลิศ   การจัดระดับยานพาหนะที่ขับเคลื่อนแบบไร้ผู้ขับขี่ (Autonomous) ถูกจัดเป็น 5 ระดับ โดยมีระดับ 0 ซึ่งถือเป็นระดับที่ยานพาหนะไม่มีการควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติแต่อย่างใด ระดับที่ 1 "Driver Assistance"เป็นระดับการขับขี่อัตโนมัติขั้นพื้นฐานที่ผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนใหญ่อาจคุ้นเคย เช่น การทำงานของระบบ Cruise Control ที่สามารถปรับระยะตรวจจับหน้ารถได้ก่อนรถเบรก  ระดับที่ 2 "Partial Automation"เป็นระดับที่เริ่มเห็นมากขึ้น โดยระบบเริ่มเข้าควบคุมการขับเคลื่อนรถยนต์ได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่นระบบการเข้าจอดในที่จอดรถแบบอัตโนมัติ (Remote-Controlled Parking) เป็นต้น
ที่มา : หนังสือพิม กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 20  เมษายน 2561

 

            นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะ กรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงสถิติขอรับส่งเสริมการลงทุนในช่วงไตรมาสแรก ของปี 2561 (มกราคม - มีนาคม 2561) ว่ามีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนรวม 333 โครงการเงินลงทุนรวม 203,630 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อบรรยากาศการลงทุนในปีนี้โดยมูลค่าดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วน 28% ของเป้าหมายขอรับส่งเสริมการลงทุนตลอดทั้งปี ที่ 720,000 ล้านบาท   ทั้งนี้มูลค่าเงินลงทุนในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา กว่า 1 แสนล้านบาท โดยเป็นการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจากกลุ่มอุตสาหกรรม เป้าหมายต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
ที่มา: หนังสือพิมพ์ แนวหน้า วันที่ 19  เมษายน 2561

 

                      China will end foreign ownership caps on local auto companies by 2022 and will remove restrictions on new-energy vehicle ventures this year, a major shift that will open the market wider to carmakers such as Nissan and Tesla.  The country will remove limits on companies making electric and plug-in hybrid vehicles in 2018, commercial-vehicle producers in 2020 and the wider passenger vehicle market by 2022, China's state planner said in a statement.  The move, which comes amid a trade standoff between Washington and Beijing, signals the end of a rule put in place in 1994 in the world's largest auto market that limited foreign automakers to a 50 percent share of any local venture. The policy was implemented to help support domestic carmakers compete against more advance international rivals.
ที่มา : www.autonews.com วันที่ 18  เมษายน 2561