สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

     รถยนต์พระที่นั่งองค์แรกแห่งราชสำนักไทยมีการบันทึกไว้ว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ที่รู้จักกันว่าเป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” พระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จฯทรงรักษาตัวที่ประเทศฝรั่งเศส ได้ซื้อรถเดมเลอร์ เบนซ์ (Daimler Benz)มาไว้ใช้งาน และเมื่อเสด็จฯกลับสยาม ก็ได้ถวายแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไว้ใช้เป็นราชยานยนต์ส่วนพระองค์เป็นคันแรก  รถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สมัยประทับอยู่เมืองโลซานประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ คือ“เมอร์เซเดส-เบนซ์ นูร์เบิร์ก 500 (Mercedes-Benz Nurburg 500)” ซึ่งเป็นรถยนต์พระที่นั่งที่รัฐบาลไทยจัดถวาย รถยนต์ฝรั่งเศสที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 โปรดและเสด็จฯทอดพระเนตร ยี่ห้อเดอลาเฮย์ (Delahaye)ผลิตในกรุงปารีส โดยทรงซื้อรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์จากเดอลาเฮย์ถึง 4 คัน คือเดอลาเฮย์ โมเดล 135สองประตูเปิดประทุน คาบริโอเล่ต์,เดอลาเฮย์ โมเดล 178เครื่องยนต์หกสูบ สามคาร์บิวเรเตอร์แบบรถแข่ง ตัวถังซาลูน,เดอลาเฮย์โมเดล 178เครื่องยนต์หกสูบ คาร์บิวเรเตอร์เดี่ยว เดิมเป็นตัวถังซาลูน ต่อมาปรับปรุงเป็นแวก้อนติดซันรู้ฟโดยบริษัท ไทยประดิษฐ์, และเดอลาเฮย์ โมเดล 180ตัวถังลีมูซีน เครื่องยนต์หกสูบ สามคาร์บิวเรเตอร์ ฐานล้อยาว มีกระจกกั้นกลางห้องโดยสารกับห้องคนขับ   

ที่มา : หนังสือพิมพ์ แนวหน้า วันที่ 24 ตุลาคม 2560

 

    สมชาย หาญหิรัญ อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม มองเห็นการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทย มาทุกยุค ขยายความให้ฟังว่า ภาคอุตสาหกรรม ของไทยเติบโตตามนโยบายส่งเสริมการลงทุน ของรัฐบาล โดยในช่วงปี 2528- 2529 เกิด "จุดเปลี่ยน" สำคัญทำให้อุตสาหกรรมไทย เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมาจาก 2 ปัจจัยหลักๆ ได้แก่  1. การค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และการเริ่มต้นพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก หรือ อีสเทิร์นซีบอร์ด  และ 2. ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประเทศต่างๆขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่น กลายเป็น "แรงกดดัน"ให้ญี่ปุ่นต้องปรับค่าเงินเยน ให้แข็งค่าขึ้นเกือบเท่าตัว จึงต้องหาทางออกด้วยการย้ายฐานไปผลิตในประเทศอื่น จึงมุ่งมาลงทุนที่อิสเทิร์นซีบอร์ดเป็นจำนวนมากเพราะมีก๊าซธรรมชาติ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 23 ตุลาคม 2560

 
 

 

      นายณัฐพล รังสิตพล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) เปิดเผยว่า ข้อตกลงเขตการค้าอาเซียน - จีน (เอซีเอฟทีเอ) จะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2561 นี้ โดยขณะนี้มีความกังวลประเด็นการนำเข้ารถยนต์นั่งไฟฟ้าที่ภาษีจะเหลือ 0% อาจส่งผลกระทบต่อแผนส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย เนื่องจากราคารถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) จากประเทศจีนถูกกว่า  ประเด็นนี้ สมอ.ต้องขอหารือกับผู้บริหาร กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ก่อน โดยก่อนหน้านี้ ทางกรมศุลได้แจ้งมามายังสมอ.แล้วว่า มีความประสงค์หารือร่วมกับสมอ.ถึงแนวทางการดูแลเรื่องนี้  นายณัฐพลกล่าวว่า สำหรับบทบาทของสมอ.ต่อการกำกับดูแลรถยนต์ไฟฟ้า(อีวี)ได้กำหนดแผนงานอย่างชัดเจนในการกำหนดมาตรฐาน ปลั๊กสำหรับชาร์จรถอีวี แบตเตอรี่ ซึ่งปัจจุบันมีการกำหนดมาตรฐานทั่วไปปลั๊กแล้ว 6 ประเภท ขณะนี้ทราบว่า กระทรวงพลังงาน เตรียมเสนอให้กำหนดเหลือ 2 ประเภท เพื่อให้การจัดตั้งสถานีชาร์จมีความคล่องตัวมากขึ้น ขณะที่แบตเตอรี่จะมีการจัดตั้งห้องทดสอบ(แล็บ)ภายในปี 2562 มีสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ดูแล ซึ่งแบตเตอรี่จะกำหนดเป็นมาตรฐานบังคับเพราะหากไม่ได้มาตรฐานจะเป็นระเบิดขนาดใหญ่ ที่อยู่ใกล้ผู้ใช้รถ โดยจะมีการประกาศหลังปี 2562  นอกจากนี้ สมอ. อยู่ระหว่างการกำหนดมาตรฐานด้านการท่องเที่ยวและบริการ เช่น มาตรฐานด้านความสะอาด สารที่ใช้ปรุงแต่ง ฯลฯ ตลอดจนการกำหนดมาตรฐานของอุตสาหกรรมสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว อาทิ กลุ่มของฝาก ของที่ระลึก ที่อยู่อุตสาหกรรมอาหาร สิ่งทอ โดยกลุ่มนี้จะมี 2 มาตรฐานหลักดูแล คือ มาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ(เอสเอ็มอีไลท์) ซึ่งสมอ.กำลัง จัดทำคาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ช่วงต้นปี 2561 และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.)ซึ่งดำเนินการอยู่แล้ว

ที่มา : หนังสือพิมพ์  แนวหน้า วันที่ 20 ตุลาคม 2560