สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

         กระทรวงโยธาธิการและคมนาคม รัฐบาลกัมพูชา กำลังวางแผนสร้างมาตรฐานรถยนต์นำเข้า โดยเฉพาะรถยนต์มือ 2 เพื่อสร้างความมั่นใจด้านคุณภาพและความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน  ทั้งนี้ ที่ผ่านมากัมพูชายังไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานของรถยนต์ในการนำเข้า แม้ว่าจะมีการนำเข้ามาแล้วจำนวนมาก นอกจากนี้ประเทศกัมพูชาไม่ใช่ประเทศ ที่มีการผลิตรถยนต์จึงจำเป็นต้องสร้างมาตรฐานในการนำเข้า  โพว มาลี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง โยธาธิการและคมนาคม ระบุว่า ขณะนี้กัมพูชากำลังเตรียมกำหนดมาตรฐาน ซึ่งกระทรวงโยธาธิการและคมนาคม ได้ทำงานร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรม และสถาบันมาตรฐาน ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อ หารือเกี่ยวกับประเภทยานยนต์ที่กัมพูชาควรนำเข้า ตลอดจนกฎระเบียบระหว่างประเทศ ทั้งนี้กัมพูชาต้องปฏิบัติตาม กฎระเบียบของอาเซียนที่วางไว้ในปี 2566 ด้วย     "ประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียนได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการนำเข้ายานพาหนะให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสากล" โพว มาลี กล่าว ทั้งนี้ การประชุมของกระทรวง โยธาธิการและคมนาคม เมื่อเร็วๆ นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรฐานของอาเซียน สำหรับกำหนดประเภทยานยนต์ที่ควรใช้ในประเทศกัมพูชา ซึ่งในปี 2566 อาเซียนจะมีมาตรฐานสำหรับการ นำเข้ายานพาหนะทุกชนิด
ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ ทูเดย์ วันที่ 24 ตุลาคม 2561

 

            หลายประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) พยายามหาวิธีปกป้อง อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศของตัวเอง ที่ได้รับผลกระทบจากรถยนต์นำเข้า หลังจากมาตรการยกเลิกการจัดเก็บภาษีศุลกากรระหว่างกันในหมู่ชาติสมาชิก เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อปีที่แล้ว อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย ออกมาตรการต่างๆ เพื่อสกัดกั้นรถนำเข้า และปกป้องอุตสาหกรรมการผลิตรถ ในประเทศ ส่วนมาเลเซีย กำลังมองหา แนวทางต่างๆ เพื่อลดปริมาณการจัดจำหน่ายรถยนต์ต่างชาติ ซึ่งแนวโน้มลักษณะนี้ จะรุนแรงขึ้นเนื่องจากหลายประเทศพยายามลดการขาดดุลการค้า และกระตุ้นเศรษฐกิจ ในระยะสั้น แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า การทำลักษณะนี้จะทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อ่อนแอลงในระยะยาว   เมื่อไม่นานมานี้  อินโดนีเซีย ประกาศแผนจำกัดการนำเข้ารถด้วยการกำหนดเพดานที่ค่ายรถแต่ละแห่งจะนำเข้ามาในประเทศ โดยยึดตามการสนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่นของค่ายรถแห่งนั้นๆ เป็นหลัก ซึ่งจะทำให้บริษัทที่มีกำลังการผลิตรถ ไม่มากหมดโอกาสที่จะนำเข้ารถไปโดยปริยาย
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 24 ตุลาคม 2561

 

         อิสราเอลกำหนดเส้นตายนับตั้งแต่ปี 2031 หรือ พ.ศ.2574 หรือ 13 ปีข้างหน้า ห้ามประชาชนซื้อใช้ยานยนต์บริโภคเชื้อเพลิงน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซล ให้เปลี่ยนซื้อใช้รถยนต์ไฟฟ้าหรือไม่ก็ยานยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติ    นโยบายนี้กำลังท้าทายเสียงประท้วงวิพากษ์วิจารณ์จากชาวบ้านอย่างกว้างขวาง แต่รัฐบาลเชื่อมั่นจะผ่านร่างอนุมัติแผนให้ได้ภายในสิ้นปีนี้     อีกความท้าทายของรัฐบาลอิสราเอลคือ อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการแผนรองรับนโยบายหยุดใช้ยานยนต์บริโภคน้ำมันเบนซินและดีเซลด้วยการเพิ่มงบประมาณลงทุนสร้างสถานีบริการชาร์จไฟยานยนต์และเพิ่มสถานีบริการเติมก๊าซธรรมชาติทั่วประเทศให้ได้อีกมากกว่า 2,000 แห่ง นอกเหนือจากนโยบายอื่นคือ ลดภาษีนำเข้ายานยนต์ไฟฟ้าลงเหลือเกือบ 0 เปอร์เซ็นต์  ความจริงจังต่อนโยบายเปลี่ยนใช้รถไฟฟ้าหรือรถใช้ก๊าซธรรมชาติของอิสราเอลสืบเนื่องจากเมื่อเร็วๆนี้อิสราเอลเพิ่งค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสะอาดกว่าเชื้อเพลิงน้ำมัน ทำให้เชื่อมั่นจะใช้แหล่งพลังงานก๊าซธรรมชาติตอบสนองใช้กับยานพาหนะ โดยเฉพาะภาคขนส่งมวลชนและขนส่งสินค้าได้ทั่วถึงไม่ขาดแคลน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ วันที่ 24 ตุลาคม 2561