สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

              ภาครัฐของหลายประเทศกำลังพยายามหาทางนำผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดแอฟริกา โดยมีแม่เหล็กดึงดูดสำคัญจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะแร่ธาตุซึ่งมีอยู่หลายชนิดและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากในปัจจุบัน อาทิ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เป็นแหล่งผลิตแร่โคบอลต์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของแบตเตอรี่ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก  แม้อุตสาหกรรมรถยนต์ในทวีปแอฟริกายังมีขนาดเล็กด้วยกำลังการผลิตเพียงปีละ 1 ล้านคัน แต่ทวีปแอฟริกาเป็นที่ตั้งฐานการผลิตของค่ายรถยนต์กว่า 10 ค่าย จากทั้งยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐ โดยประเทศในทวีปแอฟริกาที่ค่ายรถยนต์เข้าไปลงทุนมากที่สุด คือ แอฟริกาใต้ ตามมาด้วยโมร็อกโก โดยในช่วงระหว่างปี 2556-2560 ปริมาณการผลิตรถยนต์ในทวีปแอฟริกา ขยายตัวเฉลี่ยถึง 10% ต่อปี  ผู้ประกอบการของไทยที่สนใจส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ควรหาทางเร่งทำตลาดแอฟริกาในช่วงที่อุตสาหกรรมกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในระยะยาว เพราะนอกจากทวีปแอฟริกาจะมีแรงงานจำนวนมาก คาดาจะมีจำนวนแซงหน้าจีนและอินเดียในอีก 15 ปีข้างหน้าแล้ว ประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกายังให้ความสำคัญกับการขจัดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน เพื่อเพิ่มปริมาณการค้าภายในกลุ่ม ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำที่สุดในโลกเพียง 18% เมื่อเทียบกับยุโรปที่สูงถึง 70% และเอเชียที่ราว 45%

ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 25มีนาคม 2562

              ก้าวสู่ปีที่ 40 ซะแล้วหากจะเปรียบเป็นช่วงอายุรวมถึงจังหวะชีวิต ต้องบอกเลยว่าตัวเลข 40 นั้น ถือว่า “หนักแน่นมั่นคง” ตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมาปฎิเสธไม่ได้ว่า งานมอเตอร์โชว์ เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์บ้านเรา นวัตกรรมใหม่ๆมีให้คนไทยได้สัมผัสอย่างใกล้ชิด และถือเป็นอีเวนต์รถยนต์ ค่ายเดียวที่มี “รถต้นแบบ” ให้ได้ยลโฉมมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนปีนี้จะมีอะไรเป็นไฮไลต์ ไปฟังจากปาก “ดร.ปราจิน เอี่นมลำเนา” ผู้อยู่เบื้องหลังจากโชว์ที่ยิ่งใหญ่ และเป็นงานเดียวที่ถูกบรรจุอยู่ในปฎิทินงานมอเตอร์โชว์ทั่วโลก ปีนี้มีคอนเซ็ปต์ "สุนทรียภาพทางอารมณ์" หรือ  ENJOYMENT OF AUTOMOBILES ซึ่งเราต้องการสื่อสารให้ผู้เข้าร่วมชมงานได้สัมผัสถึงการออกแบบของยนตกรรมยุคใหม่ผ่านอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสบายต่างๆ ที่ต้องการเชื่อมต่อระหว่างนวัตกรรมยานยนต์และผู้ขับขี่เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีร่วมกัน ทั้งนี้เราหวังว่าผู้ร่วมงานทุกคนไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการค่านรถยนต์ จักรยานยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และประดับยนต์ ร่วมทั้งผู้เข้าร่วมงานหรือทุกๆคนที่มีโอกาสได้เข้ามาเยี่ยมชมงานมอเตอร์โชว์ของเรานั้นต้องได้รับความประทับใจกลับบ้านไปอย่างแน่นอน เพราะพวกเราทีมงานทุกคนมีความตั้งใจอย่างยิ่งในการจัดงานตลอดทั้ง 12 วัน และตลอดระยะเวลาของการเตรียมงานซึ่งทุกคนพยายามรักษามาตรฐานและพัฒนาให้งานคงคุณภาพและดียิ่งๆขึ้นเสมอ

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 25 มีนาคม 2562

          "โตโยต้า มอเตอร์"ค่ายรถยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น และบริษัท ยานยนต์ญี่ปุ่น 10 รายจับมือกันวิจัยเทคโนโลยี ส่งกำลังรถยนต์ ซึ่งถือเป็นความพยายาม ที่พุ่งเป้าเร่งความคืบหน้าให้ทันการพัฒนา ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้าทั่วโลก  พันธมิตร 11 บริษัทได้ก่อตั้งองค์กร์ ที่เรียกว่า "สมาคมวิจัยการส่งกำลังเพื่อ นวัตกรรมยานยนต์" หรือ "ทรามี" (TRAMI) เพื่อศึกษาวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการ ส่งกำลังขับเคลื่อนรถจากเครื่องยนต์และ มอเตอร์ การเพิ่มการส่งกำลังสามารถทำให้ รถประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น   9 ใน 11 บริษัทเหล่านี้เป็นคู่แข่งกัน ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้แก่ "โตโยต้า" "ฮอนด้า อาร์แอนด์ดี" หน่วยวิจัยของฮอนด้า มอเตอร์ "นิสสัน มอเตอร์" "อีซูซุ มอเตอร์ส" "ซูซูกิ มอเตอร์" "ซูบารุ" "ไดฮัตสุ มอเตอร์" "มาสด้า มอเตอร์" และ "มิตซูบิชิ มอเตอร์ส" ส่วนอีก 2 รายคือซัพพลายเออร์ระบบ ส่งกำลังอย่าง "ไอซิน เอดับเบิลยู" และ "จาโตโค" ทรามีเป็นองค์กรวิจัยร่วมรายที่ 2 ในอุตสาหกรรมยานยนต์ของญี่ปุ่น หลังมี 9 บริษัทก่อตั้งสมาคมเพื่อศึกษาเครื่องยนต์ เผาไหม้ภายในเมื่อปี 2557  มี 2 ปัจจัยที่ทำให้บรรดาผู้ผลิตรถ ร่วมมือกัน ได้แก่ การเปลี่ยนรถเป็นแบบ ไฮบริดและพลังงานไฟฟ้าเต็มตัวทำให้ การพัฒนาเพียงบริษัทเดียวมีความยาก ลำบากกว่า และความรวดเร็วของการวิจัย ในเยอรมนีและจีนเพิ่มแรงกดดันต่อ ผู้ผลิตในประเทศอื่น ๆ
ที่มา:หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ   วันที่  5 มิถุนายน 2561