สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
               สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนสุวรรณภูมิฯ เซ็นจองรถไฟฟ้าอิวี 3.5 พันคัน จาก “ไมน์ โมบิลิตี้” เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับสมาชิกสหกรณ์ ต้นปีหน้าให้กับสมาชิกสหกรณ์ ต้นปีหน้าจะเริ่มให้บริการแท็กซี่อีวี ชาร์จเพียง 15 นาที ด้วยระบบ Quick Charge ความเร็วถึง 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมงวิ่งยาว 200 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เปิดเผยว่า บริษัท ไมน์ โมบิลิตี้ คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด หรือ MMC ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ EA ถือหุ้นสัดส่วน 99.99% ดำเนินธุรกิจหลักเพื่อประกอบ ผลิตและจัดจำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ MINE Mobility ได้ลงนามบันทึกคามเข้าใจ กับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนสุวรรณภุฒิพัฒนา จำกัด กลุ่มผู้ให้บริการรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) เพื่อตกลงให้จองสิทธิซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle หรือ EV) และอะไหล่จำนวน 3,500 คัน โดยจะนำไปจดทะเบียนเป็ฯรถยนต์รับจ้าง เพื่อจำหน่ายให้กับสมาชิกของสหกรณ์ อีกทั้งยังตกลงใช้บริการชาร์จไฟฟ้าจากสถานีชาร์จของกลุ่ม EA ที่ได้ลงทุนเตรียมไว้อำนวยความสะดวกล่วงหน้าแล้วภายใต้ชื่อสถานีชาร์จ EA  Anywhere จึงมั่นใจได้ว่า ธุรกิจใหม่ของ EA ที่ต่อยอดออกมาโดยใช้แบตเตอรี่ที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสูง รวมถึงช่วยลดมลพิษทางอากาศได้เป็นอย่างดีเนื่องจากไม่มีไอเสีย รถยนต์ไฟฟ้าจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราได้อย่างชัดเจนมากขึ้น และขับเคลื่อนสังคมไทยเข้าสู่ยุค Energy 4.0 ได้อย่างเป็นรูปธรรม สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่เข้าร่วมโครงการนี้ จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าอเนกประสงค์ MINE รุ่น SPA 1 รถครอบครัวขนาด 5 ที่นั่ง ผลิตด้วยวัสดุที่มีน้ำหนักเบา เสริมความแข็งแรงด้วยอลูมิเนี่ยมแพลตฟอร์ม อัตราความเร็วสูงถึง 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนขนาด 30 kWh พร้มอเทคโนโลยี STOBA ช่วยป้องกันการลัดวงจรจากภายในเซลล์แบตเตอรี่ สาเหตุหลักของการเกิดไฟไหม้ สามารถขับเคลื่อนให้วิ่งระยะทางกว่า 200 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวสด ฉบับวันที่ 28 มีนาคม 2562

                 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดตัว เลกซัส UX ยนตรกรรมหรู คอมแพกต์ ครอสโอเวอร์ รุ่นใหม่ล่าสุด มาพร้อมกับเทคโนโลยีมากมาย เครื่องยนต์ระบบไฮบริด 2.0 ลิตร โครงสร้างตัวถังแบบใหม่ GA-C ( Global Architecture – Compact Platform ) พร้อมด้วยการเชื่อมต่อตัวถังด้วยระบบเลเซอร์ เอกสิทธิ์เฉพาะของเลกซัส และการใช้อะลูมิเนียมเข้ามาเป็ฯองค์ประกอบของตัวรถ ส่งผลให้ได้ตัวถังที่มีน้ำหนักเบาและแข็งแกร่ง มีจุดศูนย์ถ่วงต่ำ ระบบไฮบริดเจเนอร์เรชั่นที่ 4 รุ่นล่าสุด ติดตั้งเทคโนโลยีความปลอดภัย เลกซัส เซฟตี้ ซิสเต็ม พลัส (Lexus Safety System Plus) เจเนอเรชั่นที่ 2 พร้อมระบบป้องกัน มาพร้อมกับรุ่นเอฟ สปอร์ต (F SPORT) ได้รับการถ่ายทอดดีเอ็นเอจากรถสปอตซุปเปอร์คาร์อย่าง เลกซัส แอลเอฟเอ (Lexus LFA) ชุดแต่งรอบคันและเบาะนั่งดีไซน์เฉพาะของเอฟ สปอร์ต ให้ความรู้สึกโอบกระชับ เพิ่มความเร้าใจจากเสียงเครื่องยนต์ในการขับขี่ด้วยระบบ แอ๊กทีฟ ซาวด์ คอนโทรล (Active Sound Control) และระบบกันสะเทือนแบบแปรผัน อแดพทีฟ แวเรียเบิล ซัสเพนชั่น (Adaptive Variable Suspension) ช่วยดูดซับแรงของโช๊คอัพที่ล้อทั้ง 4 ให้ตอบสนองต่อการควบคุมของผู้ขับขี่และสภาพพื้นผิวถนนได้อย่างเหมาะสม

ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน ฉบับวันที่ 27 มีนาคม 2562

             นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้เตรียมความพร้อมกรณีที่สหรัฐจะมีการเรียกเก็บภาษีสินค้ายานยนต์เพิ่มขึ้นในอัตรา 25% หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้ส่งรายงานความมั่นคงแห่งชาติ มาตรา 232 ถึงนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐให้พิจารณาตัดสินแล้ว โดยขั้นตอนจากนี้ต้องรอประธานาธิบดีสหรัฐตัดสินใจภายใน 90 วันว่าจะดำเนินการตามคำแนะนำรายงายงานฉบับนี้หรือไม่ คาดว่าจะทราบผลภายในเดือน พ.ค.นี้

              อย่างไรก็ตาม หากสหรัฐมีการเรียกเก็บภาษีสินค้ายานยนต์และชิ้นส่วนตามมาตรา 232 จริง แนวทางที่จะแก้ไขปัญหาเพื่อลดผลกระทบของผู้ประกอบการไทย จะยึดแนวทางเดียวกับสินค้าเหล็กและอะลูมิเนียมที่สหรัฐเคยเรียกเก็บภายใต้มาตรา 232 เมื่อต้นปี 61 ที่ผ่านมา โดยไทยจะขอยกเว้นการเรียกภาษีสินค้าทั้งประเทศ โดยจะต้องชี้แจงถึงสาเหตุที่สหรัฐยังคงจำเป็นต้องนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วนจากไทยอยู่ เช่น อุตสาหกรรมภายในสหรัฐไม่มีการผลิต หรือสินค้าที่นำเข้าจากไทยไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายในสหรัฐ รวมทั้งจะขอยกเว้นภาษีเป็นรายบริษัท ที่จะต้องประสานกับผู้นำเข้าสหรัฐในการขอยกเว้น

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 26 มีนาคม 2562