สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

         แม้ชื่อของ Koenigsegg จะไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างเท่ากับวอลโว่หรือซาบในฐานะที่เป็นแบรนด์รถยนต์ของสวีเดน แต่ถ้าเป็นโลกของซุปเปอร์คาร์แล้ว ชื่อนี้ไม่เป็นรองใครแน่นอน ขณะเดียวกันด้านความนิยมของเศรษฐีเท้าขวาหนักที่มีต่อซุปเปอร์คาร์แบรนด์นี้ก็ไม่ด้อยกว่าใคร เช่นกัน ซึ่งสิ่งที่ยืนยันถึงเรื่องดังกล่าว นั่นคือ โมเดลใหม่ล่าสุดอย่าง Koenigsegg Jesko นั้นมียอดจองเต็มโควต้าแล้ว Jesko เปิดตัวครั้งแรกในงานเจนีวา มอเตอร์โชว์ 2019 เมื่อเดือนมีนาคม ที่ผ่านมาโดยเรียกว่าเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปีของแบรนด์รถยนต์สัญชาติสวีดิชที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1994 มีรถสปอร์ตรุ่นใหม่ออกสู่ตลาด ในตอนแรกหลายคนคิดว่า มันจะเป็นผลผลิตใหม่ แต่สุดท้ายแล้วจากการที่ Agera เปิดตัวรุ่น The final ออกมาขายเมื่อปี 2018 ทำให้เดากันไม่ยากว่า Jesko คือ ตัวตายตัวแทนนั้นเอง เพราะ Agera เองก็เปิดตัวขายมาตั้งแต่ปี 2010 แล้ว ส่วนชื่อรุ่นก็มาจากชื่อของคุณปู่ผู้ก่อตั้งบริษัท นั่นคือ Jesko von Koenigsegg สำหรับรายละเอียดตัวรถ งานนี้ Koenigsegg ยังเติมอะไรที่เป็นเอกลักษณ์ของงแบรนด์เข้าไปอย่างครบถ้วนเหมือนเคย ทั้งการออกแบบในรูปลักษณ์ที่มีเส้นสายโค้งมนและตัวถังด้านหน้าเทลงด้านล่างพร้อมไฟหน้าที่ถูกวางอยู่บนซุ้มล้อหน้า รวมถึงประตูเปิดในแบบหมุน และตั้งฉากกับพื้นถนน หรือที่เรียกว่า Dihedral Door โดยรวมแล้วงานดีไซน์ทั้งหมดเป็นการทำงานร่วมกันของผู้ก่อตั้งอย่าง Christian von Koenogsegg กับ Joachim Nordwall ซึ่งตัวรถมาในสไตล์สปอร์ตเครื่องยนต์วางกลางลำ และขับเคลื่อนล้อหลัง

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 23 เมษายน 2562

              ดันส่งออกรถยนต์กระฉูด นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจราการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้ อาเซียนสามารถหาข้อสรุปในการจัดทำความตกลงยอมรับร่วม (เอ็มอาร์เอ) ผลการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์ของอาเซียนภายหลังจากได้พยายามหารือกันมานานถึง 13 ปี หรือตั้งแต่ปี 2548 โดยภายใต้ความตกลงดังกล่าว อาเซียนจะจำกัดเฉพาะผลิตภัณฑ์ยานยนต์ และชิ้นส่วนที่ผลิตภายในอาเซียนก่อนและให้มีการทลทวนเรื่องนี้ในปีที่ 4 หลังจากความตกลงมีผลบังคับว่าจะขยายขอบเขตไปถึงผลิตภัณฑ์ยานยนต์ และชิ้นส่วนที่ผลิตนอกอาเซียนหรือไม่ ทั้งนี้ได้มอบหมายให้คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านมาตรฐานคุณภาพของอาเซียน และคณะทำงานด้านผลิตภัณฑ์และยานยนต์จัดทำถ้อยคำทางกฎหมายในเอกสารความตกลงตามแนวทางที่อาเซียนสรุปกันต่อไปและจะเสนอให้ลงนามในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนครั้งที่ 51 ในเดือนกันยายน 2562 ส่วนจะมีผลบังคับใช้ได้เมื่อใด อาเซียนจะกำหนดรอบระยะเวลากันอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม หลังจากความตกลงมีผลบังคับใช้ จะทำให้ประเทศนำเข้าไม่ต้องตรวจสอบซ้ำยานยนต์และชิ้นส่วน ที่ระบุไว้ในความตกลง เพราะผ่านการตรวจสอบจากประเทศผู้ส่งออกแล้ว ถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับการส่งออกและนำเข้า ลดระยะเวลาและขั้นตอนการส่งออก นำเข้าลงได้มาก อาเซียนพูดคุยกันมา 13 ปี ยังตกลงกันไม่ได้แต่ไทยได้ใช้โอกาสที่เป็นประธานอาเซียนในปีนี้ ผลักดันให้อาเซียนเห็นตรงกันว่า การทำเอ็มอาร์เอสำหรับยานยนต์ และชิ้นส่วนของอาเซียนจำเป็นและสำคัญต่ออการค้าขาย ทำให้การค้าขายระหว่างกันสะดวกมากขึ้น

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 23 เมษายน 2562

            สนามประชันรถต้นแบบระหยัดพลังงาน “เซลล์ อีโค มาราธอน เอเซีย” เตรียมจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 ณ สนามเซปังฯ ประเทศมาเลเซีย เด็กไทยพร้อมลุย 9 ทีมจาก 7 สถาบัน นักเรียนนักศึกษามากกว่า 100 ทีมทั้วภูมิภาคเอเชีย เตรียมเข้าสู่สนามการแข่งขัน ณ เซปังอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต กัวลาลัมเปอร์ระหว่างวันที่ 29 เมษายน – 2 พฤษภาคม นี้ เพื่อเฟ้นหารถที่วิ่งได้ไกลที่สุดด้วยเชื้อเพลิง 1 ลิตร การแข่งขันแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ ประเภทรถต้นแบบแห่งอนาคต (Prototype) และ ประเภทรูปแบบใกล้เคียงกับรถยนต์ในปัจจุบัน (Urban Concept) ซึ่งในการแข่งขันปีที่แล้ว นักศึกษาตัวแทนประเทศไทย ทีมปัญจวิทยา จากวิทยาลัยช่างฝีมือปัญจะ ได้สร้างชื่อเสียงในระดับนานาชาติ โดยการค้าชัยชนะในรถยนต์ต้นแบบแห่งอนาคต (Prototype) ด้วยรถที่วิ่งได้ไกลถึง 2,341 กิโลเมตร หรือเทียบเท่ากับระยะทางจากประเทศมาเซีย ถึงสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมีนยมา ทั้งนี้ทีมเยาวชนจากประเทศไทยชนะการแข่งขันครองแชมป์ในประเภทดังกล่าวติดต่อกันถึง 9 ซ้อน ปีนี้ เซลล์ ประเทศไทยสนับสนุนนักเรียนนักศึกษาไทยจำนวน 9 ทีม จาก 7 สถาบันการศึกษาชั้นนำ เข้าแข่งขันเซลล์อีโค มาราธอน เอเชีย 2019 เพื่อมุ่งผลักดันเยาวชนก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเองสร้างสรรค์การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพให้นำมาใช้ได้จริงบนท้องถนน

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 22 เมษายน 2562