ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ส่งหนังสือไปยังผู้นำเข้ารถยนต์อิสระ หรือเกรย์มาร์เก็ต 120 ราย ซึ่งครอบครองรถนำเข้ามากกว่า 5,000 คัน ให้นำรถยนต์นำเข้ามาตรวจสอบเพื่อขอใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ มอก. ด้านมลพิษเทียบเท่ากับมาตรฐานกลุ่มประเทศยุโรประดับยูโร 4 ก่อนที่จะขายให้ผู้ที่ต้องการซื้อ เนื่องจากผู้ที่ผ่านมามีผู้นำเข้าบรถยนต์อิสระหลายรายไม่นำรถยนต์มาตรวจสอบขอใบอนุญาตถือว่าผิดกฎหมายหากว่าใน 30 วันยังไม่นำเอกสารหรือนำรถเข้ามาตรวจสอบ ถือว่าฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับและจะส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษดำเนินคดีเพราะอาจเข้าข่ายฟอกเงิน “ผู้ประกอบการนำรถมาตรวจสอบเพียง 1,000 คันจากทั้งหมด 5,000 กว่าคัน ทั้งที่ขั้นตอนกาตรวจสอบระบบใหม่มีความสะดวกขึ้นมากและมีค่าใช้จ่ายใบอนุญาตคันละ 3,000 บาท ค่าทดสอบมลพิษ 50,000 บาท ซึ่งใช้เวลาไม่นาน บางรายก็อ้างว่าปล่อยรถออกไปแล้วตามกลับมาไม่ได้ ทั้งที่ผิดเงื่อนไขตั้งแต่ต้นเรื่องที่ไม่ขอใบอนุญาต
อธิบดีกรมสรรพสามิตเผย อยู่ระหว่างพิจารณาข้อเสนอการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ผลิตรถยนต์ประเภท “มายไฮบริด” ดดยกระทรวงอุตสาหกรรมผู้เสนอ ระบุ เพื่อสร้างตลาดรถยนต์อีวี ให้เกิดในประเทศในอนาคต นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอให้กรมสรรพสามิตพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ค่ายรถยนต์ที่ผลิตรถยนต์ประเภท Mild Hybrid เพื่อเป็นการสร้างตลาดรถยนต์ไฟฟ้าให้เกิดขึ้นในอนาคตซึ่งกรมสรรพสามิตอยู่ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอดังกล่าว แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวว่า ข้อเสนอเรื่องการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่รถยนต์ประเภท Mild Hybrid นั้น ต้องการอัตราภาษีเท่ากับ Hybrid ที่ได้รับจากบีโอไอ ซึ่งได้อัตราภาษีสรรพสามิตในอัตรา 4% ซี่งมาจากการผลักดันของค่ายรถยนต์ค่ายหนึ่งในประเทศที่ยังไม่มีเทคโนโลยีที่จะผลิตรถไฟฟ้าได้ซึ่งหากลดภาษีให้ในอัตราที่ 4% จะทำให้อัตราเท่ากับรถ Hybrid และต่ำกว่ารถ Eco car ที่เก็บภาษีในอัตรา 12-14% ทั้งนี้เงื่อนไขของกรมสรรพามิตรถยนต์ Hybrid ที่ได้รับการส่งเสริม BOI และได้อัตราภาษีที่ 4% คือจะต้องสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยภายใน 5 ปี นับจากวันที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ทำตามเงื่อนไขจะถูกเก็บภาษีปกติย้อนหลังจนถึงวันแรกที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ปัจจุบันมีค่ายรถยนต์ 2-3 ค่ายที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าว ซึ่งจะเริ่มได้รับตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป
ที่มา: : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 11 มีนาคม 2559
สมาคมรถยนต์โดยสารจีน (พีซีเอ) เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ในจีนเมื่อปีพ.ศ. 2561 อยู่ที่ 22.7 ล้านบาท ลดลง 6% จากปีก่อนหน้า และเป็นยอดขายที่ลดลงครั้งแรกในรอบมากกว่า 2 ทศวรรษ เนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว เช่นเดียวกับความนิยมของบริการเรียกรถรับส่งก็ฉุดยอดขายรถเช่นกัน เลขาธิการพีซีเอ กล่าวว่า แรงกดดันต่อผู้ผลิตรถยนต์กำลังเพิ่มขึ้น ยอดขายรถยนต์ที่ซบเซาจะยิ่งสร้างแรงกดดันต่อผู้เล่นที่ไม่มีความสามารถในการแข่งขัน และคาดว่าค่ายรถบางแห่งอาจทิ้งตลาดจีนในปีหน้า ตามรอบซูซูกิ มอเตอร์ ที่ขายกิจการร่วมกาค้าแห่งสุดท้ายในจีนให้พันธมิตรท้องถิ่นเมื่อปีท่แล้ว โกลด์แมน แชคส์ กรุ๊ป คาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในจีนอาจจะลดลงอีก 7% ในปีนี้ หลังจากตลาดรถจีนซบเซาต่อเนื่องหลายไตรมาสติดต่อกัน โดยคาดการณ์ว่ายอดขายอาจจะกลับมาเพิ่มขึ้น 3% ในปีพ.ศ. 2563 รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฎิรูปแห่งชาติจีนกำลังพิจารณาร่างมาตรการกระตุ้นยอดขายรถยนต์ในพื้นที่ชนบท ขณะเดียวกันก็จะเร่งปฎิรูปกระบวนการกระจายรายได้ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อให้มากขึ้น โดยจีนจะประกาศนโยบายเกี่ยวกับการเช่าบ้านและบริการต่างๆและเตรียมที่จะลดอุปสรรคด้านการลทุนในภาคส่วนต่างๆ