นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้เตรียมความพร้อมกรณีที่สหรัฐจะมีการเรียกเก็บภาษีสินค้ายานยนต์เพิ่มขึ้นในอัตรา 25% หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้ส่งรายงานความมั่นคงแห่งชาติ มาตรา 232 ถึงนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐให้พิจารณาตัดสินแล้ว โดยขั้นตอนจากนี้ต้องรอประธานาธิบดีสหรัฐตัดสินใจภายใน 90 วันว่าจะดำเนินการตามคำแนะนำรายงายงานฉบับนี้หรือไม่ คาดว่าจะทราบผลภายในเดือน พ.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม หากสหรัฐมีการเรียกเก็บภาษีสินค้ายานยนต์และชิ้นส่วนตามมาตรา 232 จริง แนวทางที่จะแก้ไขปัญหาเพื่อลดผลกระทบของผู้ประกอบการไทย จะยึดแนวทางเดียวกับสินค้าเหล็กและอะลูมิเนียมที่สหรัฐเคยเรียกเก็บภายใต้มาตรา 232 เมื่อต้นปี 61 ที่ผ่านมา โดยไทยจะขอยกเว้นการเรียกภาษีสินค้าทั้งประเทศ โดยจะต้องชี้แจงถึงสาเหตุที่สหรัฐยังคงจำเป็นต้องนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วนจากไทยอยู่ เช่น อุตสาหกรรมภายในสหรัฐไม่มีการผลิต หรือสินค้าที่นำเข้าจากไทยไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายในสหรัฐ รวมทั้งจะขอยกเว้นภาษีเป็นรายบริษัท ที่จะต้องประสานกับผู้นำเข้าสหรัฐในการขอยกเว้น
ที่มา : หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 26 มีนาคม 2562
ภาครัฐของหลายประเทศกำลังพยายามหาทางนำผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดแอฟริกา โดยมีแม่เหล็กดึงดูดสำคัญจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะแร่ธาตุซึ่งมีอยู่หลายชนิดและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากในปัจจุบัน อาทิ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เป็นแหล่งผลิตแร่โคบอลต์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของแบตเตอรี่ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แม้อุตสาหกรรมรถยนต์ในทวีปแอฟริกายังมีขนาดเล็กด้วยกำลังการผลิตเพียงปีละ 1 ล้านคัน แต่ทวีปแอฟริกาเป็นที่ตั้งฐานการผลิตของค่ายรถยนต์กว่า 10 ค่าย จากทั้งยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐ โดยประเทศในทวีปแอฟริกาที่ค่ายรถยนต์เข้าไปลงทุนมากที่สุด คือ แอฟริกาใต้ ตามมาด้วยโมร็อกโก โดยในช่วงระหว่างปี 2556-2560 ปริมาณการผลิตรถยนต์ในทวีปแอฟริกา ขยายตัวเฉลี่ยถึง 10% ต่อปี ผู้ประกอบการของไทยที่สนใจส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ควรหาทางเร่งทำตลาดแอฟริกาในช่วงที่อุตสาหกรรมกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในระยะยาว เพราะนอกจากทวีปแอฟริกาจะมีแรงงานจำนวนมาก คาดาจะมีจำนวนแซงหน้าจีนและอินเดียในอีก 15 ปีข้างหน้าแล้ว ประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกายังให้ความสำคัญกับการขจัดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน เพื่อเพิ่มปริมาณการค้าภายในกลุ่ม ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำที่สุดในโลกเพียง 18% เมื่อเทียบกับยุโรปที่สูงถึง 70% และเอเชียที่ราว 45%
ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 25มีนาคม 2562
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 25 มีนาคม 2562