ภายใต้การบริหารประเทศของ “นเรนทรา โมดี” ในสมัยที่2 ยังมุ่งมั่นที่การยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค การสร้างงาน และเดินหน้าอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง เป็นแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของอินเดียให้มีมูลค่าสูงถึง 5ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 จากปัจจุบันมูลค่าปัจจุบัน 3ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา “นีร์มาลา สิทรารามาน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินเดีย ได้แถลงงบประมาณ ประจำปี 2019 ต่อรัฐสภา โดยได้จัดตั้งงบประมาณมูลค่าเกือบ 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในแผนพัฒนาระยะ 5-10 ปี วึ่งการลงทุนจะครอบคลุมตั้งแต่สนามบิน รถไฟ รวมถึงการสร้างถนนในพื้นที่ห่างไกลเพิ่มอีก 125,000 กิโลเมตร เพื่ออำนวยความสะดวกต่อเกษตรกรสำหรับการนำสินค้าเกษตรออกมาขายในจุดต่างๆทั่วประเทศได้ง่ายขึ้น พร้อมกับแผนการยกระดับคุณภาพ “เส้นทางรถไฟ” เชื่อมต่อด้วยระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงศึกษาขยายเส้นทางรถไฟให้เชื่อมโยงกันทั่วประเทศ โดยได้จัดตั้งงบประมาณยกเครื่องเส้นทางรถไฟอยู่ที่ 73,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2030 และที่น่าสนใจคือรัฐบาลอินเดีย ให้ความสำคัญกับการผลักดัน “อุตสาหกรรมรถยนตืไฟฟ้า” อย่างจริงจังโดยเบื้องต้นได้จัดตั้งงบประมาน 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้าเช่นสถานีชาร์จไฟฟ้าและ เทคโนโลยีสำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ รวมถึงเตรียมลดภาษีเงินได้ 150,000 รูปี หรือราว 2,185 ดอลลาร์สหรัฐให้กับประชาชนที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อนรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อกระตุ้นดีมานด์การใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศอินเดียมากขึ้น โดยในปี 2017-2018 ยอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในอินเดีย เฉลี่ยเพียง 2,000 คันต่อปีเท่านั้น “ปุณีต คุปตะ” ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยตลาดรถยนต์ บริษัท IHS Markit กล่าวว่า นโยบายสนับสนุนผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของของรัฐบาลอินเดียนั้น จะช่วยสร้างดีมานด์ในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของอินเดียได้ดีขึ้น เพราะปัจจุบันคนอินเดียยังนิยมซื้อรถยนต์ขนาดเล็กที่มีราคาถูกเป็นส่วนใหญ่ โดยปี 2018 ยอดขายรถยนต์ขนาดเล็ก รวมถึงรถ SUV รถบรรทุกขนาดเล็ก และ รถยนต์ส่วนบุคคลมีจำนวนมากกว่า 4 ล้านคัน นอกจากนี้รัฐบาลยังเตรียมที่จะลดภาษีสินค้าและบริการ (GST) ของรถยนต์ไฟฟ้า และเพิ่มภาษีรถยนต์เชื้อเพลิงสันดาป อย่างไรก็ตามเมื่อ สัปดาห์ที่ผ่านมาสมาชิกหลายพันคนของสมาคมรถไฟฟ้าริกชอว์ หรือ รถสามล้อไฟฟ้าได้เข้าเรียกร้องกับรัฐบาลให้ช่วยเหลือในงบประมานการพัฒนารถไฟฟ้าริกชอว์ เพื่อนำมาแทนที่รถสามล้อเครื่องในปัจจุบัน เนื่องจาก รถสามล้อเครื่องนั้นถือเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อวิถีการใช้ชีวิตของคนอินเดีย เมื่อปลายปี 2018 กระทรวงคมนาคมขนส่งอินเดีย เปิดเผยว่ารัฐบาลกำลังพิจารณาที่จะห้าม “รถสามล้อเครื่อง” ให้บริการในหลายเมือง ที่ติดโผว่าค่ามลพิษอากาศอยู่ในระดับอันตราย โดยทางการนิวเดลี กล่าวว่าสามล้อเครื่องถือเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้อากาศในหลายเมืองของอินเดียอยู่ในสภาพที่เป็นอันตราย “ราจ เจงกาปา” นักวิเคราะห์ ตลาดรถยนต์ของอินเดีย ทูเดย์มองว่า การกระตุ้นให้เกิดการใช้รถยนต์ไฟฟ้าของ รัฐบาลอาจจะแก้ปัญหามลพิษทางอากาศแต่ไม่แก้ปัญหาการจราจร ซึ่งอินเดียถือเป็นประเทศที่มีการจราจรวุ่นวาย ติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศ รัฐบาลควรสนับสนุนการพัฒนารถไฟฟ้าริกชอว์มากกว่าการห้ามใช้งาน เพราะ จะทำให้อัตราการว่างงานในอินเดียนั้นเพื่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะกลายเป็นปัญหาเรื้อรังได้
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 18 กรกฎาคม 2562
ภายใต้การบริหารประเทศของ “นเรนทรา โมดี” ในสมัยที่2 ยังมุ่งมั่นที่การยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค การสร้างงาน และเดินหน้าอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง เป็นแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของอินเดียให้มีมูลค่าสูงถึง 5ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 จากปัจจุบันมูลค่าปัจจุบัน 3ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา “นีร์มาลา สิทรารามาน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินเดีย ได้แถลงงบประมาณ ประจำปี 2019 ต่อรัฐสภา โดยได้จัดตั้งงบประมาณมูลค่าเกือบ 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในแผนพัฒนาระยะ 5-10 ปี วึ่งการลงทุนจะครอบคลุมตั้งแต่สนามบิน รถไฟ รวมถึงการสร้างถนนในพื้นที่ห่างไกลเพิ่มอีก 125,000 กิโลเมตร เพื่ออำนวยความสะดวกต่อเกษตรกรสำหรับการนำสินค้าเกษตรออกมาขายในจุดต่างๆทั่วประเทศได้ง่ายขึ้น พร้อมกับแผนการยกระดับคุณภาพ “เส้นทางรถไฟ” เชื่อมต่อด้วยระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงศึกษาขยายเส้นทางรถไฟให้เชื่อมโยงกันทั่วประเทศ โดยได้จัดตั้งงบประมาณยกเครื่องเส้นทางรถไฟอยู่ที่ 73,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2030 และที่น่าสนใจคือรัฐบาลอินเดีย ให้ความสำคัญกับการผลักดัน “อุตสาหกรรมรถยนตืไฟฟ้า” อย่างจริงจังโดยเบื้องต้นได้จัดตั้งงบประมาน 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้าเช่นสถานีชาร์จไฟฟ้าและ เทคโนโลยีสำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ รวมถึงเตรียมลดภาษีเงินได้ 150,000 รูปี หรือราว 2,185 ดอลลาร์สหรัฐให้กับประชาชนที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อนรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อกระตุ้นดีมานด์การใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศอินเดียมากขึ้น โดยในปี 2017-2018 ยอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในอินเดีย เฉลี่ยเพียง 2,000 คันต่อปีเท่านั้น “ปุณีต คุปตะ” ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยตลาดรถยนต์ บริษัท IHS Markit กล่าวว่า นโยบายสนับสนุนผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของของรัฐบาลอินเดียนั้น จะช่วยสร้างดีมานด์ในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของอินเดียได้ดีขึ้น เพราะปัจจุบันคนอินเดียยังนิยมซื้อรถยนต์ขนาดเล็กที่มีราคาถูกเป็นส่วนใหญ่ โดยปี 2018 ยอดขายรถยนต์ขนาดเล็ก รวมถึงรถ SUV รถบรรทุกขนาดเล็ก และ รถยนต์ส่วนบุคคลมีจำนวนมากกว่า 4 ล้านคัน นอกจากนี้รัฐบาลยังเตรียมที่จะลดภาษีสินค้าและบริการ (GST) ของรถยนต์ไฟฟ้า และเพิ่มภาษีรถยนต์เชื้อเพลิงสันดาป อย่างไรก็ตามเมื่อ สัปดาห์ที่ผ่านมาสมาชิกหลายพันคนของสมาคมรถไฟฟ้าริกชอว์ หรือ รถสามล้อไฟฟ้าได้เข้าเรียกร้องกับรัฐบาลให้ช่วยเหลือในงบประมานการพัฒนารถไฟฟ้าริกชอว์ เพื่อนำมาแทนที่รถสามล้อเครื่องในปัจจุบัน เนื่องจาก รถสามล้อเครื่องนั้นถือเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อวิถีการใช้ชีวิตของคนอินเดีย เมื่อปลายปี 2018 กระทรวงคมนาคมขนส่งอินเดีย เปิดเผยว่ารัฐบาลกำลังพิจารณาที่จะห้าม “รถสามล้อเครื่อง” ให้บริการในหลายเมือง ที่ติดโผว่าค่ามลพิษอากาศอยู่ในระดับอันตราย โดยทางการนิวเดลี กล่าวว่าสามล้อเครื่องถือเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้อากาศในหลายเมืองของอินเดียอยู่ในสภาพที่เป็นอันตราย “ราจ เจงกาปา” นักวิเคราะห์ ตลาดรถยนต์ของอินเดีย ทูเดย์มองว่า การกระตุ้นให้เกิดการใช้รถยนต์ไฟฟ้าของ รัฐบาลอาจจะแก้ปัญหามลพิษทางอากาศแต่ไม่แก้ปัญหาการจราจร ซึ่งอินเดียถือเป็นประเทศที่มีการจราจรวุ่นวาย ติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศ รัฐบาลควรสนับสนุนการพัฒนารถไฟฟ้าริกชอว์มากกว่าการห้ามใช้งาน เพราะ จะทำให้อัตราการว่างงานในอินเดียนั้นเพื่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะกลายเป็นปัญหาเรื้อรังได้
ฟอร์ด มอเตอร์ คอมปานี และโฟล์คสวาเกนกรุ๊ป ประกาศขยายความร่วมมือเป็นพันธมิตรระดับโลกในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า และจะร่วมมือกับอาร์โก เอไอ เพื่อเปิดตัวเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับในสหรัฐอเมริกา และยุโรป เพื่อให้ทั้งสองบริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงการบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพดร.เฮอร์เบิร์ท ไดส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโฟล์คสวาเกน และ ดร.จิม แฮคเก็ต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฟอร์ด มอเตอร์ คอมปานี พร้อมด้วย ดร.ไบรอัน เชลสกี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อาร์โก เอไอ ประกาศว่า โฟล์คสวาเกนจะร่วมมือกับฟอร์ดในการลงทุนกับอาร์โก เอไอ บริษัทแพลทฟอร์มเทคโนโลยีรถไร้คนขับจากความร่วมมือระหว่างฟอร์ดและโฟล์คสวาเกน ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ (SDS) ของอาร์โก เอไอ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการรุกตลาดยุโรป และอเมริกา นอกจากนั้นแพลตฟอร์มของอาร์โก เอไอ ที่สามารถเข้าถึงตลาดผ่านเครือข่ายทั่วโลกของผู้ผลิตรถยนต์ ยังมีศักยภาพในการขยายเทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัติให้ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวางสุดในปัจจุบัน โฟล์คสวาเกน และฟอร์ด ต่างก็จะนำระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติดังกล่าวมาใช้กับรถที่ผลิตขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เพื่อสนับสนุนการนำร่องการขนย้ายคนและสินค้าทั้งสองของบริษัทบรรดาผู้นำได้ประกาศว่า ฟอร์ดจะเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายแรกที่ได้ใช้การออกแบบรถยนต์ไฟฟ้าและโมดูลรถยนต์ไฟฟ้า (Modular Electric Toolkit หรือ MEB) ของโฟล์คสวาเกน เพื่อส่งมอบรถไร้มลพิษในปริมาณมากให้กับตลาดยุโรป ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป อาร์โก เอไอ วางแผนที่จะทำงานร่วมกับฟอร์ดและโฟล์คสวาเกนอย่างใกล้ชิดในการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติให้แก่ผู้ผลิตรถยนต์ที่จำเป็นในการส่งมอบรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติที่สามารถผลิตได้ในจำนวนมาก เพื่อให้การพัฒนารถเพื่อการแบ่งปันการใช้บริการ และบริการส่งสินค้ามีความปลอดภัย น่าเชื่อถือ และทนทาน
ที่มา : หนังสือพิมพ์ สยามกีฬา ฉบับวันที่ 17 กรกฎาคม 2562