Europe shouldn't rush to abandon the combustion engine and must build up its own production of electric vehicle batteries to compete with China, auto suppliers and manufacturers said at the Frankfurt auto show. The comments come as the future of the car has become a hot topic in campaigning ahead of Germany's Sept. 24 election, especially after Britain and France announced plans to eventually phase out combustion engines to try to cut pollution. Roberto Vavassori, president of the European Association of Automotive Suppliers, warned a headlong rush to EVs would hand business to China, which along with South Korea and Japan dominate battery production for such vehicles. "We need to provide a sensible transition period that doesn't give unwanted gifts to our Chinese friends," he said, estimating European automakers were paying 4,000-7,000 euros ($5,000-8,000) to China for batteries for every EV.
ที่มา : www.autonews.com วันที่ 20 กันยายน 2560
อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์เริ่มมองเห็นสัญญาณบวก ล่าสุดกลุ่มยานยนต์เพิ่งปรับเป้าเพิ่มสวนทางตลาดส่งออกปรับลดตัวเลขลงเล็กน้อยขณะที่กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีผู้ผลิตทั่วประเทศมากกว่า2,500รายพบกระแสตอบรับจากตลาดส่งออกเป็นชิ้นส่วนออกไปกลับดีเกินคาด! นายองอาจ พงศ์กิจวรสิน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)กล่าวว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศดีขึ้นหากเทียบกับปี 2559 ที่มียอดขายในประเทศ 7.7แสนคัน ปีนี้จะเพิ่มเป็น 8 แสนคันตามเป้าเดิม เมื่อต้นปีที่ตั้งไว้ แต่ล่าสุดมาปรับเพิ่มเป็น 8.3 แสนคัน ซึ่งตลอดปีนี้จะทำได้ตามเป้าหมายใหม่นี้แน่นอน วัดจาก7เดือนแรกที่ผ่านมายอดขายในประเทศเติบโตขึ้นมาแล้วประมาณ 10% เริ่มเห็นตลาดในประเทศดีขึ้นนับตั้งแต่ที่มีนโยบายรถยนต์คันแรกออกมาหลังน้ำท่วม ตลาดในประเทศโต 1.4-1.5 ล้านคันพอหลังรถยนต์คันแรกหมดไปตลาดในประเทศก็ลดลงฮวบและก็กลับมาไต่ขึ้นเป็น 8.3 แสนคันในปีนี้ และปีหน้าก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยยอดขายในประเทศมีโอกาสขยับไปที่ 8.5 แสนคัน
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 20 กันยายน 2560
ค่ายรถยนต์ยังตรึงราคาขาย รับภาษี สรรพาสามิตใหม่ คิดจากฐานราคาขาย ปลีก 100% แจงต้องใช้เวลาศึกษาอีกระยะเพื่อบาลานซ์ต้นทุน-ราคาขายใหม่ เผยจับตาค่ายรถหั่นออปชั่น-ปรับแพ็กเซอร์วิส ภายหลังจากกระทรวงการคลังได้ประกาศ อัตราภาษีสรรสามิตใหม่ เมื่อ วันที่ 16 ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งได้ปรับรูปแบบ การจัดเก็บภาษีรถยนต์ จากเดิมคิดอัตรา ภาษีหน้าโรงงาน ไปเป็นการจัดเก็บภาษี ณ ที่ขาย นั้น จะเห็นได้ว่าอัตราภาษี ดังกล่าวไม่ได้มีผลกระทบหรือการเปลี่ยนแปลงมากนัก โดยอัตราภาษีส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ที่ลดลงจากของเดิม เพียงแต่รูปแบบและวิธีการคำนวน ที่เปลี่ยนไปจากเดิม คิดจากราคาหน้าโรงงานจากฐานภาษีเดิมมาจากราคาขายปลีก 76% ขยับเป็นฐานภาษีจากราคาขายปลีก 100% ณ จุดจำหน่ายนั้น ให้ช่องว่างของราคา ประกอบกับเดิมที่คิดอัตราภาษีหน้าโรงงานยังมีส่วนต่างระหว่างผู้ประกอบการที่ได้รับสิทธิจากฟรีโซน ซึ่งมีความแตกต่างจากผโดยเฉลี่ย 5-10% ก็จะทำให้เกิดความแตกต่างกันอยู่พอสมควร นายธนวัฒน์ คุ้มสิน นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงเรื่องดังกล่าวว่า ขณะนี้ ค่ายรถยนต์หลายค่ายต่างก็พยายามทำงานอย่างหนักเพื่อปรับตัวและรับกับโครงสร้างภาษีที่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าโดยรวมอัตราภาษีจะลดลง แต่ต้องไม่ลืมว่า อัตราที่ลดลงไปนั้น คิดจากฐานภาษี ไม่ใช่หน้าโรงงานเช่นเดิม นั่นหมายความว่า ฐานราคาที่นำไปคำนวณจากภาษีจะสูงขึ้น ทำให้ค่ายรถยนต์หลาย ๆ ค่ายต้องทำการบ้านอย่างหนัก เพื่อหาบาลานซ์การปรับหรือไม่ปรับขึ้นราคาจำหน่ายให้ดี
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 20 กันยายน 2560