สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

           Dutch battery maker Lithium Werks is investing 1.6 billion euros (12.8 billion yuan) in a massive lithium ion cell factory in China to meet surging demand for batteries. The factory will have production capacity of 8 gigawatt-hours per year, or the equivalent capacity of batteries to power 160,000 cars. It will be the company's second Chinese manufacturing site and should start production in early 2021, Chairman Kees Koolen said.  The company will provide 20 percent of the cost in equity capital and raise the rest in project finance from a consortium of Chinese banks.  "We're in China again because it moves faster than others. It makes decisions quickly," Koolen said. "We're also in discussions with European governments but they're just doing a lot of talking." Batteries will play a key role in the energy industry to complement the increasing share of intermittent renewable power, and in the auto industry as a cleaner alternative to gasoline and diesel engines prevalent in cars, buses and trucks across the world.  The deal is part of a broader partnership signed last week between the Netherlands and China.
ที่มา : www.autonews.com วันที่ 24 ตุลาคม 2561

 

         กระทรวงโยธาธิการและคมนาคม รัฐบาลกัมพูชา กำลังวางแผนสร้างมาตรฐานรถยนต์นำเข้า โดยเฉพาะรถยนต์มือ 2 เพื่อสร้างความมั่นใจด้านคุณภาพและความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน  ทั้งนี้ ที่ผ่านมากัมพูชายังไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานของรถยนต์ในการนำเข้า แม้ว่าจะมีการนำเข้ามาแล้วจำนวนมาก นอกจากนี้ประเทศกัมพูชาไม่ใช่ประเทศ ที่มีการผลิตรถยนต์จึงจำเป็นต้องสร้างมาตรฐานในการนำเข้า  โพว มาลี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง โยธาธิการและคมนาคม ระบุว่า ขณะนี้กัมพูชากำลังเตรียมกำหนดมาตรฐาน ซึ่งกระทรวงโยธาธิการและคมนาคม ได้ทำงานร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรม และสถาบันมาตรฐาน ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อ หารือเกี่ยวกับประเภทยานยนต์ที่กัมพูชาควรนำเข้า ตลอดจนกฎระเบียบระหว่างประเทศ ทั้งนี้กัมพูชาต้องปฏิบัติตาม กฎระเบียบของอาเซียนที่วางไว้ในปี 2566 ด้วย     "ประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียนได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการนำเข้ายานพาหนะให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสากล" โพว มาลี กล่าว ทั้งนี้ การประชุมของกระทรวง โยธาธิการและคมนาคม เมื่อเร็วๆ นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรฐานของอาเซียน สำหรับกำหนดประเภทยานยนต์ที่ควรใช้ในประเทศกัมพูชา ซึ่งในปี 2566 อาเซียนจะมีมาตรฐานสำหรับการ นำเข้ายานพาหนะทุกชนิด
ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ ทูเดย์ วันที่ 24 ตุลาคม 2561

 

            หลายประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) พยายามหาวิธีปกป้อง อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศของตัวเอง ที่ได้รับผลกระทบจากรถยนต์นำเข้า หลังจากมาตรการยกเลิกการจัดเก็บภาษีศุลกากรระหว่างกันในหมู่ชาติสมาชิก เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อปีที่แล้ว อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย ออกมาตรการต่างๆ เพื่อสกัดกั้นรถนำเข้า และปกป้องอุตสาหกรรมการผลิตรถ ในประเทศ ส่วนมาเลเซีย กำลังมองหา แนวทางต่างๆ เพื่อลดปริมาณการจัดจำหน่ายรถยนต์ต่างชาติ ซึ่งแนวโน้มลักษณะนี้ จะรุนแรงขึ้นเนื่องจากหลายประเทศพยายามลดการขาดดุลการค้า และกระตุ้นเศรษฐกิจ ในระยะสั้น แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า การทำลักษณะนี้จะทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อ่อนแอลงในระยะยาว   เมื่อไม่นานมานี้  อินโดนีเซีย ประกาศแผนจำกัดการนำเข้ารถด้วยการกำหนดเพดานที่ค่ายรถแต่ละแห่งจะนำเข้ามาในประเทศ โดยยึดตามการสนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่นของค่ายรถแห่งนั้นๆ เป็นหลัก ซึ่งจะทำให้บริษัทที่มีกำลังการผลิตรถ ไม่มากหมดโอกาสที่จะนำเข้ารถไปโดยปริยาย
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 24 ตุลาคม 2561