สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

             นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า แนวโน้มการส่งออกของไทยปีนี้น่าจะเติบโตได้  9-10% แต่สิ่งที่ ส.อ.ท.กังวลและต้องติดตามใกล้ชิดคือ มาตรการตอบโต้ทางการค้าของสหรัฐระลอก 2 ที่มีมูลค่า 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ครอบคลุมสินค้าเกือบทุกชนิดที่จีนส่งไปขายสหรัฐ หากยืดเยื้อและไม่สามารถเจรจาได้ คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตการ ส่งออกของไทยในปี 2562 อย่างชัดเจน และ ส่งออกอาจขยายตัวได้เพียง 4-5% โดยส่งออกคิดเป็นสัดส่วน 70% ของจีดีพี น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ผลกระทบสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐต่อการค้าโลก ในแง่ผลกระทบโดยรวม ยังคงกระทบต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจการค้าโลกในวงกว้าง เกิดการระมัดระวังเพิ่มผลผลิตและการลงทุน ทำให้กดดันบรรยากาศการค้าและการลงทุน รูปแบบและโครงสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศเปลี่ยนแปลงไป เกิดการเคลื่อนย้ายการลงทุน มีผลต่อพันธมิตรและการลงทุนใหม่ๆ ส่วนผลกระทบทางตรงที่ไทย ส่งออกไปยังสหรัฐ คือ เครื่องซักผ้า โซลาร์เซลล์ เหล็ก อะลูมิเนียม ซึ่งโดนมาตรการทางการค้า ส่วนยานยนต์และชิ้นส่วนอยู่ระหว่างการไต่สวน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน วันที่ 17 ตุลาคม 2561

 

อธิบดีกรมสรรพสามิตสั่งตั้งทีมศึกษาภาษีรถเอวีใหม่ ดึงผู้ประกอบการเอวี-อีโคคาร์ บีโอไอ กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมด้วย เผยไม่ได้ต้องการแค่รถยนต์ แต่ต้องลงทุนแล้วถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังอุตสาหกรรมอื่น เช่น รถไฟฟ้า โดรน    นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมประชุมการปฏิรูปโครงสร้างภาษีรถยนต์เพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ในอนาคต โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิตและผู้ประกอบการเกี่ยวข้องกับรถอีวีเข้าร่วมประชุม ซึ่งขอให้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด เพื่อศึกษาถึงแนวทางการส่งเรื่องรถอีวี มีตัวแทนจากผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องทั้งรถอีวี และอีโคคาร์เข้าร่วม เนื่องจากนโยบายอีโคคาร์จะหมดอายุในปี 2570 นี้ รวมถึงมีตัวแทนจากกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เข้าร่วมด้วย เพื่อนำแผนการส่งเสริมที่กระทรวงอุตสาหกรรมและบีโอไอดำเนินการอยู่มาพิจารณาประกอบไปด้วย

ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน วันที่ 16 ตุลาคม 2561

 

              EU กำหนดกรอบการดำเนินการ เพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ ภาคอุตสาหกรรมภายใน EU อย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบัน EU มีกรอบการดำเนินการลด ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้ชื่อ 2030 Climate & Energy Framework โดยประเทศสมาชิก EU จะต้องลดปริมาณ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 40% (เทียบกับ ระดับของปี 2533) ภายในปี 2573   แผนดำเนินงานดังกล่าว ได้ระบุกลุ่ม อุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้การควบคุม ได้แก่ 1) กลุ่มอุตสาหกรรม ที่อยู่ภายใต้ระบบ EU ETS ได้แก่ อุตสาหกรรมเคมีและเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมยานยนต์และ ชิ้นส่วน อุตสาหกรรมการบิน อุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมกระดาษและ เยื่อกระดาษ และอุตสาหกรรมเหล็ก และเหล็กกล้า และ 2) กลุ่มอุตสาหกรรมที่ ไม่ได้อยู่ภายใต้ระบบ EU ETS  ได้แก่ การคมนาคมขนส่ง (ยกเว้นการบิน) การเคหะ การเกษตรกรรม และการจัดการของเสีย โดยทั้ง 2 กลุ่มอุตสาหกรรมจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 43% และ 30% ภายในปี 2573 ตามลำดับ (เทียบกับระดับของปี 2548)

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 15 ตุลาคม 2561