สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

            นางสาวกรองกนก มานะกิจจงกล ผู้อำนวยการกองพัฒนาและเชื่อมโยงการลงทุน (BUILD) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า จากความพร้อมทั้งทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและนโยบายรัฐบาลภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเน้นการสร้าง และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทำให้ไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมขั้นสูงและสามารถเชื่อมโยงไปยังอุตสาหกรรมรับช่วงการผลิตและชิ้นส่วนได้เป็นอย่างดี  "อุตสาหกรรมรับช่วงการผลิต สามารถสร้างมูลค่าให้กับประเทศเป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาทต่อปี และผู้ประกอบการส่วนใหญ่นั้นเป็นระดับเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการเติบโตของเศรษฐกิจไทย บีโอไอจึงมีแผนที่จะสนับสนุนการลงทุนและพัฒนาอุตสาหกรรมรับช่วงการผลิตด้วยการจัดงาน ซับคอนไทยแลนด์(SUBCON THAILAND 2018) อย่างต่อเนื่อง เป็นปีที่ 12 เพื่อส่งเสริมการจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการชาวไทยและบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่จากประเทศต่างๆทั่วโลกการส่งเสริมการออกงาน โดยงานซับคอนไทยแลนด์ในปี 2018 ได้มีการตั้งเป้าที่จะจับคู่ธุรกิจ 6,500 คู่และคาดว่าจะเกิดธุรกรรมทางธุรกิจมูลค่า ไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท โดยภายในงานจะมีผู้ผลิตชิ้นส่วนร่วม 400 รายจากทั้งไทยและต่างประเทศเข้าร่วมจัดแสดง และคาดจะมีผู้ซื้อจากทั่วโลกกว่า 25,000 ราย ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล รวมถึงอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
ที่มา: หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561
 

 

             นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยียานยนต์ในอนาคต ว่า ทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์โลกจะมุ่งสู่รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ได้แก่ รถไฟฟ้าไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และรถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง ในประเทศไทยมีการผลิตรถไฟฟ้าแล้ว 2 ประเภทคือ รถไฟฟ้าไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน ซึ่งภาครัฐได้กำหนดนโยบายและ มาตรการส่งเสริมการลงทุน รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าว โดยได้เปิดกว้างรับทุกเทคโนโลยี เพราะผู้ผลิตแต่ละรายจะมีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีที่แตกต่างกันไป      “ผู้ประกอบการไทยทั้งผู้ผลิตรถยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วน จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมที่จะปรับตัวให้เติบโตหรืออยู่รอดให้ได้ เมื่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้ามาถึง ซึ่งผู้ผลิตชิ้นส่วนจำเป็นต้องเร่งพัฒนาในทิศทางที่สอดคล้องกับผู้ผลิตรถยนต์ เพื่อก้าวไปพร้อมๆ กัน หากเปลี่ยนผ่านไม่ทันอาจสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน และอาจส่งผลให้ธุรกิจค่อยๆ ล้มหายไป ทั้งนี้จากการสำรวจข้อมูลล่าสุดของสถาบันยานยนต์ พบว่า มีผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประมาณ 1,600 ราย โดยเป็นกิจการของคนไทยจำนวน 850 ราย ซึ่งรถยนต์นั่ง 1 คัน จะประกอบด้วยชิ้นส่วนหลัก จำนวน 800-2,200 ชิ้น และในการพัฒนาจากรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่นั้น จะส่งผลกระทบกับผู้ผลิตชิ้นส่วน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก ชิ้นส่วนที่จะหายไป ได้แก่ เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง หม้อน้ำ กลุ่มที่สอง ชิ้นส่วนที่จะมีอยู่ ได้แก่ ระบบเกียร์ ระบบเบรก ชิ้นส่วนที่มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน และด้านความปลอดภัย ระบบปรับอากาศที่ใช้ไฟฟ้า และกลุ่มที่ 3 ชิ้นส่วนใหม่ ได้แก่ แบตเตอรี่ มอเตอร์ไฟฟ้า และกล่องควบคุม (ECU) หรือชิ้นส่วนที่มีการใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาขึ้น
ที่มา : หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ไทยรัฐ  วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561

 

       ภาวะการเติบโตชะลอตัวเป็นปีที่ 2 ในตลาดยานยนต์สหรัฐ บีบให้บรรดาผู้ผลิตรถของญี่ปุ่นต้องมองปัจจัยอื่นนอกเหนือจากส่วนลด เพื่อสร้างการเติบโตให้กับส่วนแบ่งตลาด และให้ความสำคัญกับการกระตุ้นความสามารถทำกำไรในตลาดขนาดใหญ่ที่สุดของตน    บรรดาผู้ผลิตรถทั่วโลกกำลังต่อสู้แย่งชิงเพื่อเป็นเจ้าตลาด ขนาดใหญ่อันดับ 2 ของโลก ในขณะที่ยอดขายรายปียังคงลดลง ต่อเนื่องจากที่เคยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 17.55 ล้านคันในปี 2559 ผู้ผลิต หลายรายให้ไปพึ่งการลดราคา เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในเซ็กเมนท์ ที่มีการเติบโตอย่างรถเอสยูวีและรถกระบะ พร้อมกับพยายามรักษายอดขายในเซ็กเมนท์รถซีดานที่กำลังดิ้นรนอย่างหนัก ต้นทุนของการลดราคาในสหรัฐทำให้ผลกำไรจากการดำเนินงาน ลดลง สำหรับผู้ผลิตรถญี่ปุ่นส่วนใหญ่ รวมถึง "โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป" และ "มาสด้า คอร์ป" ซึ่งมีแนวโน้มทำกำไรในอเมริกาเหนือลดลงเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ขณะที่ผลกำไรของ "นิสสัน มอเตอร์ โค" ในภูมิภาคนี้ ก็มีแนวโน้ม ลดลงเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน
ที่มา: หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561