สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

          โอกาสของรถยนต์ไฟฟ้าในกลุ่มประเทศเกิดใหม่แนวโน้มการตอบรับที่ดี ด้วยความเข้าใจในเทคโนโลยีของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสสำคัญในการเตรียมตัวแนะนำผลิตภัณฑ์ นิสสัน ลีฟ ใหม่ รถยนต์ไฟฟ้าร้อยละ 10 ลงสู่ตลาดในกลุ่มประเทศเอเชียนและโอเชียเนีย ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไทย ภายในปีงบประมาณ 2562 นอกจากนี้ ยังได้มีการศึกษาตลาดและเตรียมข้อมูลในการนำเสนอรถยนต์ไฟฟ้าในตลาดอื่นๆของภูมิภาค อาทิ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในการนำเสนออนาคตแห่งการขับขี่ที่มีประสิทธิภาพยิ่งกว่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จากการสำรวจในหัวข้อความรู้จักและความเข้าใจในรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ปรากฏว่า ร้อยละ 87 เป็นของสิงคโปร์ ร้อยละ86 เป็นของอินโดนีเซีย ร้อยละ 84 เป็นของเวียดนาม ร้อยละ 83 เป็นของฟิลิปปินส์ ร้อยละ 82 เป็นของไทย ร้อยละ 79 เป็นของมาเลเซีย
ที่มา: หนังสือพิมพ์ มติชน   วันที่ 9 มีนาคม 2561
 

 

      บีเอ็มฯ ลงทุน 400 ล้าน เตรียมรับอีวีของบริษัท จับตาการสนับสนุนในรายละเอียดของรัฐบาล   นายสเตฟาน ทอยเชอร์ต ประธานบริษัท บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย เปิดเผยว่า ปี 2561 บริษัทเตรียมเงินลงทุน 400 ล้านบาท ก่อสร้างและเตรียมประกอบยานยนต์ภายใต้นโยบายยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ของบริษัท พื้นที่ 5,000 ตารางเมตร บริเวณโรงงานบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จ.ระยอง     ทั้งนี้ บริษัทได้ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในโครงการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าส่วนของปลั๊กอินไฮบริดและโรงงานประกอบแบตเตอรี่ โดยอยู่ระหว่างการคุยกับรัฐบาลถึงรายละเอียดใกล้ชิด   "โรงงานประกอบแบตเตอรี่ของบริษัทอยู่ในแผนที่จะเริ่มดำเนินการในปี 2562 ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือขณะนี้ยังไม่มีผู้ผลิตแบตเตอรี่เซลล์ในประเทศไทย ดังนั้น จึงมองว่าการประกอบในลักษณะใช้ชิ้นส่วนในประเทศ 100% อาจเป็นไปได้ยากในขณะนี้" นายทอยเชอร์ต กล่าว
ที่มา : หนังสือพิม เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์  วันที่ 7  มีนาคม 2561

 

           บริษัทญี่ปุ่น 11 ราย รวมทั้งบริษัทพลังงานและผลิตรถยนต์ ประกาศ สร้างสถานีประจุพลังงานสำหรับยานยนต์เซลล์ เชื้อเพลิงไฮโดรเจน 80 แห่งภายในปี 2565 หวังช่วยกระตุ้นเทคโนโลยีพลังงานยุคใหม่   บริษัทเจแปนเอชทูโมบิลิตี ซึ่งมีโตโยต้า มอเตอร์และเจเอ็กซ์ทีจี นิปปอน ออยล์แอนด์เอเนอร์จี ร่วมให้การสนับสนุน แถลงวานนี้ (5 มี.ค.) จะสร้างสถานีประจุพลังงานให้กับ ยานยนต์เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (เอฟซีวี) จำนวน 80 แห่ง เกือบสองเท่าของที่มีอยู่ใน ขณะนี้ภายในปี 2565    นายยูทากะ คุวาฮารา รองประธานอาวุโส เจเอ็กซ์ทีจี นิปปอน ออยล์ แถลงว่า เนื่องจาก ไม่ค่อยมีผู้ใช้และต้นทุนการก่อสร้างและ ดำเนินการปั๊มไฮโดรเจนสูง จึงทำให้การก่อสร้าง ล่าช้าไปจากเป้าที่รัฐบาลเคยตั้งไว้ถึง 100 แห่ง ภายในเดือน มี.ค.2559 ปัจจุบันญี่ปุ่นมี ปั๊มไฮโดรเจนราว 90 แห่ง เจเอ็กซ์ทีจี นิปปอน ออยล์ ดำเนินการอย่างน้อย 40 แห่ง อีก 10 แห่งกำลังวางแผนหรือก่อสร้าง
ที่มา: หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 6 มีนาคม 2561