สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

            Automotive cybersecurity is still in its infancy but developments have accelerated since 2015, when several high-profile hacks showed the industry's vulnerability and cost the companies affected a lot of money to fix. The attacks also emphasized big shortfalls in software capability and pushed compliance up the agenda. With so much to play for, automotive cybersecurity has become a burgeoning but crowded sector. Suppliers already well positioned to benefit from the predicted boom include Robert Bosch, Harman, Cisco, Honeywell, NNG, Irdeto and Karamba and Continental-owned Argus, but IHS Markit senior automotive technology analyst Colin Bird describes the sector as “still very much the Wild West.” Bird estimates revenues in the sector will have topped more than $30 million at the end of 2017, but will balloon to more than $2 billion by 2024. Said Bird: “About 90 percent of the dots remain to be joined so there is huge opportunity. Out of a potential market of 100 percent, fulfillment is currently 4 percent to 5 percent.”
ที่มา : www.autonews.com  วันที่ 14  มีนาคม 2561

 

 

           ส.อ.ท.ชี้ลงทุนเอกชนคึกคักรับตัวเลขส่งออกดี ยังห่วงเอสเอ็มอีในประเทศยอดขายนิ่ง ลุ้นไตรมาส 3 ฟื้น ชี้อีอีซีกระตุ้นความเชื่อมั่นแต่ต้องรอโครงการสร้างพื้นฐานสำเร็จก่อน กระทรวงอุตสาหกรรมเปิดตัวเลข ร.ง.4 ขยายโรงงานมาแรง มูลค่าพุ่ง 22.79%       นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สายการลงทุน เปิดเผยว่า สถานการณ์การลงทุนของภาคเอกชนช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-กุมภาพันธ์) พบว่าเติบโตดีขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) บางกลุ่มรับอานิสงส์จากการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก ทำให้การส่งออกเติบโตต่อเนื่อง ทำให้ภาคเอกชนมีการใช้กำลังผลิตมากขึ้น บางอุตสาหกรรมสูงมาก อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ สูงถึง 70-80% "แม้ภาพรวมการลงทุนของเอกชนจะดี แต่เอสเอ็มอี ที่พึ่งพาตลาดในประเทศเป็นกลุ่มที่ต้องจับตา เฝ้าระวัง เพราะกำลังซื้อในประเทศค่อนข้างทรงตัว ราคาสินค้าเกษตรไม่ค่อยดีนัก อย่างไรก็ตาม จากมาตรการสินเชื่อเอสเอ็มอี มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภูมิภาค เชื่อว่าจะทำให้กลับมาคึกคักในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ หรือตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป" นายเกรียงไกรกล่าว
ที่มา: หนังสือพิมพ์ มติชน   วันที่ 13 มีนาคม 2561
 

 

           บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) แจ้งว่าในวันที่ 14 มี.ค. 2561 จะมีพิธีวางศิลาฤกษ์โรงงานผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด ตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาล จ.สมุทรปราการ      ขณะที่นายสเตฟาน ทอยเชอร์ต ประธานบริษัท บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทเตรียมลงทุน 400 ล้านบาท ก่อสร้างและเตรียมประกอบยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ที่โรงงานบีเอ็มดับเบิลยูกรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จ.ระยอง โดยบริษัทได้ยื่นขอสนับสนุนการลงทุนต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) โครงการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าส่วนของปลั๊กอินไฮบริดและโรงงานประกอบแบตเตอรี่  ทั้งนี้ โรงงานผลิตแบตเตอรี่ดังกล่าวจะลงทุนราว 2,000 ล้านบาท คาดจะผลิตปี 2562   นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์(ประเทศไทย) กล่าวว่า บริษัทได้ยื่นขอรับการสนับสนุนการลงทุนต่อบีโอไอขยายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมราว 1.9 หมื่นล้านบาท กำลังการผลิตปีละ 7 หมื่นคัน และผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าปีละ 7 หมื่นชิ้น
ที่มา : หนังสือพิม เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 12  มีนาคม 2561