สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
         บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ จะเริ่มสร้างโรงงานประกอบรถแห่งแรกที่เมียนมาในปีนี้ เพื่อตอบรับความต้องการรถใหม่ที่ขยายตัว ขึ้นอย่างแข็งแกร่ง หลังจากที่การนำเข้ารถยนต์มือสองถูกควบคุมเข้มงวดมากขึ้นในปี 2560 โตโยต้าจะลงทุนหลายพันล้านเยน ในโรงงานประกอบรถปิคอัพในเขต เศรษฐกิจพิเศษทิลาวา ซึ่งตั้งอยู่ชานเมืองย่างกุ้ง โดยเมื่อปี 2561 ยอดขายรถใหม่ใน เมียนมาเพิ่มขึ้น 2 เท่าเป็นประมาณ 17,000 คัน และปัจจุบันมีค่ายรถหลายแห่งที่เข้าไป ตั้งฐานการผลิตในเมียนมา อาทิ ซูซูกิ มอเตอร์ ฟอร์ด มอเตอร์ และฮุนได มอเตอร์ เพื่อรองรับความต้องการที่แข็งแกร่ง
 
          คาดว่าการเคลื่อนไหวของโตโยต้าครั้งนี้จะกระตุ้นให้บรรดาผู้ผลิตชิ้นส่วนรถเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถในเมียนมามากขึ้น ในเบื้องต้น ค่ายรถยนต์ชั้นนำของญี่ปุ่นตั้งเป้าผลิตรถปิคอัพในโรงงานแห่งใหม่ในเมียนมาให้ได้ประมาณปีละ 10,000 คัน ที่ผ่านมา โตโยต้า เข้าไปลงทุนตั้ง โรงงานผลิตใน 5 ประเทศอาเซียน รวมทั้ง ไทยและอินโดนีเซีย แต่กลับมีความระมัดระวัง ในการเข้าไปตั้งโรงงานผลิตในเมียนมา ขณะที่ รัฐบาลเมียนมา มีนโยบายห้ามนำเข้ารถยนต์เพื่อให้บรรดาค่ายรถเข้ามาตั้งฐานการผลิตในเมียนมา ด้วยความหวังว่าอุตสาหกรรมรถยนต์จะช่วยสร้างงานให้ประเทศได้ โดยรัฐบาลเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษสำหรับรถปิคอัพนำเข้าในอัตราสูงถึง 40% แต่หากเป็นรถที่ผลิตในประเทศไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในส่วนนี้และผู้ผลิตรถยังได้รับ การยกเว้นภาษีด้วย
          
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 29 พฤษภาคม 2562
           สงครามการค้า หรือ Trade War ถูกชุดชนวนขึ้นตั้งแต่ปีที่ผ่านมา หลังสหรัฐและจีนได้เปิดฉากขึ้นภาษีสินค้านำเข้าระหว่างกันหลายรายการ มูลค่ารวมหลาย แสนล้านดอลลาร์ ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอลงชัดเจน เพราะปัจจุบันต้องยอมรับว่าการค้าโลกเชื่อมโยงถึงกันหมด ในฐานะที่การส่งออกถือเป็นรายได้หลักของไทย คิดเป็นสัดส่วนราวๆ 60-70% ของจีดีพี เราจึงได้รับผลกระทบไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สะท้อนจากตัวเลขส่งออกล่าสุดของกระทรวงพาณิชย์เดือนเม.ย. ติดลบไป 2.57% หรือ คิดเป็นมูลค่า 18,555 ล้านดอลลาร์ ต่ำสุดใยรอบ 2 ปีโดยหดตัวแทบทุกตลาด โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับหนึ่งของไทย สาเหตุหลัก มาจากสงครามการค้าที่กระทบต่อกำลังซื้อทั่วโลก รวมทั้งความผันผวนของ อัตราแลกเปลี่ยน
 
            หนึ่งในสินค้าส่งออกสำคัญของไทย ที่หดตัวลงอย่างชัดเจน คือ รถยนต์สำเร็จรูป ตัวเลขล่าสุดเดือนเม.ย. อยู่ที่ 67,114 คัน ต่ำสุดรอบ 2 ปี ลดลงถึง 7.52% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยลดลงเกือบทุกตลาด ยกเว้นออสเตรเลียที่กลับมาเพิ่มขึ้นเป็นเดือนแรกของปี และตลาดตะวันออกกลางที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันดิบ ส่งผลให้ช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.เม.ย.) มียอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปรวม 366,955 คัน ลดลง 0.23% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือ คิดเป็นมูลค่าส่งออก 185,200 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.46%
 
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 27 พฤษภาคม 2562

                นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย ประกาศแต่งตังบริษัท เดลต้า อีเล็คโทรนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ให้บริการเครื่องชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ พร้อมเดินหน้าติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั้งแบบเร็วกระแสตรง และแบบธรรมดากระแสสลับ ที่โชว์รูมตัวแทนจำหน่ายทั้งหมด 32 แห่ง ทั่วประเทศ โดยความร่วมมือดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนเป้าหมาย การพัฒนาการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ที่ต้องการให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า จำนนวน 1.2 ล้านคัน บนท้องถนนภายในปีพ.ศ.2579 และเพื่อส่งมอบเครื่องชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า ที่ได้รับมาตรฐานสากล พร้อมการบริการที่ได้มาตรฐานจากเดลต้า อีเลคทรอนิคส์ และได้รับการรับรองโดยนิสสัน ให้แก่เจ้าของรถยนต์นิสสัน ลีฟ (Nissan LEAF) ในประเทศไทย นายราเมช นาราลิมัน ประธาน นิสสัน ประเทศไทย กล่าวว่า “นิสสัน ประเทศไทย ขับเคลื่อนอิโคซิลเต็มส์ของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าและคนไทยทุกคน โดยการร่วมสร้างสรรค์อนาคต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านยานยนต์ไฟฟ้า และเพื่อเป็นการตอกย้ำถึงความตั้งใจนี้ เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับเดลต้า อีเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) เพื่อร่วมกับนิสสันเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้เกิดการเปลี่ยนไปใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

ที่มา : หนังสือพิมพ์ แนวหน้า ฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม 2562