สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

              EU กำหนดกรอบการดำเนินการ เพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ ภาคอุตสาหกรรมภายใน EU อย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบัน EU มีกรอบการดำเนินการลด ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้ชื่อ 2030 Climate & Energy Framework โดยประเทศสมาชิก EU จะต้องลดปริมาณ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 40% (เทียบกับ ระดับของปี 2533) ภายในปี 2573   แผนดำเนินงานดังกล่าว ได้ระบุกลุ่ม อุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้การควบคุม ได้แก่ 1) กลุ่มอุตสาหกรรม ที่อยู่ภายใต้ระบบ EU ETS ได้แก่ อุตสาหกรรมเคมีและเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมยานยนต์และ ชิ้นส่วน อุตสาหกรรมการบิน อุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมกระดาษและ เยื่อกระดาษ และอุตสาหกรรมเหล็ก และเหล็กกล้า และ 2) กลุ่มอุตสาหกรรมที่ ไม่ได้อยู่ภายใต้ระบบ EU ETS  ได้แก่ การคมนาคมขนส่ง (ยกเว้นการบิน) การเคหะ การเกษตรกรรม และการจัดการของเสีย โดยทั้ง 2 กลุ่มอุตสาหกรรมจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 43% และ 30% ภายในปี 2573 ตามลำดับ (เทียบกับระดับของปี 2548)

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 15 ตุลาคม 2561

 

             บริษัท เอฟโอเอ็มเอ็ม (เอเชีย) จำกัด บริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นไทยและเป็น ผู้ผลิตยานยนต์นั่งส่วนบุคคลไฟฟ้าขนาดเล็ก  บริษัทประกาศแผนการลงทุนหนึ่งพันล้านบาทสร้างโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กในประเทศไทย เพื่อป้อนตลาดในประเทศและเพื่อการส่งออก  ฮิเดโอะ ซูรุมากิ ประธานเจ้าหน้าบริหาร บริษัท เอฟโอเอ็มเอ็ม (เอเชีย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้เลือกประเทศไทยในการตั้งโรงงาน เพื่อเป็นฐานการผลิตยานยนต์นั่งส่วนบุคคลไฟฟ้าขนาดเล็กสำหรับตลาดในประเทศและเพื่อการส่งออก เพราะประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีความพร้อมในอุตสาหกรรมรถยนต์ มีการสนับสนุนภาคการผลิตรถยนต์มาอย่างยาวนาน ประกอบกับรัฐบาลไทยมี นโยบายชัดเจนในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยมีโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าภายใต้แผนการลงทุนของบริษัทมูลค่าการลงทุนในโรงงาน ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าครั้งนี้ประมาณหนึ่งพันล้านบาท โรงงานตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี มีกำลังการผลิตประมาณ 10,000 คันต่อปี คาดว่ารถคันแรกที่ออกจากสายพานการผลิต จะสามารถส่งมอบให้แก่ลูกค้าได้ในประมาณต้นปีหน้า
ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน วันที่ 15 ตุลาคม 2561

 

          สมาคมผู้จัดจำหน่ายยานยนต์จีน (ซีเอดีเอ) หนึ่งในหน่วยงานอิทธิพลสูงในตลาดยานยนต์ ยื่นเอกสารให้รัฐบาลพิจารณาลดภาษีซื้อรถยนต์ลงมาอยู่ที่ 5% จากอัตราภาษี 10% ที่เสนอโดยกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ เพื่อกระตุ้นตลาดรถยนต์ จากความกังวลว่ายอดขายรถในจีนเสี่ยงลดลงครั้งแรกในรอบ 10 ปีภายในปีนี้    ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นขณะที่รัฐบาลเริ่มวิตกว่า  อุตสาหกรรมยานยนต์จะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า และได้ออกมาตรการหลายอย่างเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยก่อนหน้านี้ซีเอดีเอเสนอให้รัฐบาลจีนลดภาษีซื้อรถเมื่อ 3 ปีก่อน ส่งผลให้ตลาดรถยนต์จีนขยายตัวแข็งแกร่ง และดึงดูดค่ายรถยนต์ต่างชาติจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา ซีเอดีเอขอให้รัฐบาลลดภาษีซื้อรถลงมาครึ่งหนึ่งสำหรับรถเครื่องยนต์ขนาดไม่เกิน 2 ลิตร คล้ายคลึงกับการให้สิทธิขอคืนภาษีสำหรับผู้ซื้อรถยนต์ขนาดเล็กเมื่อปี 2016 โดยขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่าทั้งสองกระทรวงจะทำตามข้อเสนอดังกล่าวหรือไม่ แต่ทางกระทรวงได้หารือแนวโน้มตลาดรถยนต์ คาดการณ์ยอดขายและการจัดเก็บภาษีรถร่วมกับบรรดาค่ายรถแล้วในสัปดาห์นี้      ด้าน เซียวเจิ้งซาน เลขาฯ ของซีเอดีเอ เปิดเผยว่า ตลาดรถจีนคาดว่าจะซบเซาลงเล็กน้อยในปีนี้ ขณะที่มาตรการกระตุ้นตลาดรถยนต์ในชนบทและปรับอัตราภาษีสำหรับรถยนต์มือสองอาจช่วยกระตุ้นยอดขายได้บ้าง โดยก่อนหน้านี้สมาคมผู้ผลิตรถยนต์จีน เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ในจีนลดลง 3.8% และ 4% ในเดือน ส.ค.และเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา หลังขยายตัวแข็งแกร่งถึง 13.7% เมื่อปี 2016
ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ ทูเดย์  วันที่ 12 ตุลาคม 2561