นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษก กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยแนวโน้มยอดการผลิตรถยนต์ปี 2561 ว่า ในเบื้องต้นคาดว่า มีปริมาณ 1.96 ล้านคัน สูงกว่าปี 2560 เล็กน้อยที่คาดว่า มีปริมาณ 1.95 ล้านคัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 860,000 คัน เมื่อเทียบกับปี 2560 คาดว่า มี 850,000 คัน ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม คือสถานการณ์ ตัวเลขการลงทุนภาคเอกชนที่คาดว่า เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวดี และส่งผลดีต่อยอดขายรถยนต์ "ยอดผลิตรถยนต์ปี'61 เป็นการตั้งเป้าแบบถ่อมตัว อยากดูตัวเลขเดือนพฤศจิกายน และธันวาคมปีนี้ให้ชัดๆ อีกครั้ง เราหวังจากการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งโครงการอีอีซี ที่เริ่มกลับมาจะช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น รวมทั้งกำลังซื้อที่เริ่มฟื้นขึ้น จะช่วยยอดขาย ในประเทศ" นายสุรพงษ์กล่าว
ที่มา : หนังสือพิมพ์ แนวหน้า วันที่ 6 ธันวาคม 2560
The UK has picked a site in central England to house a new automotive battery manufacturing development facility, in a move which the British government and companies hope will lead to large-scale local production. The site in the West Midlands will benefit from 80 million pounds ($107 million) of investment to develop the processes required to manufacture the latest battery technology. Announcing the investment, UK business minister Greg Clark said the center will help Britain compete globally. "The new facility will propel the UK forward in this thriving area, bringing experts from academia and industry together to deliver innovation and r&d that will further enhance the West Midlands’ international reputation as a cluster of automotive excellence," he said.
ที่มา : www.autonews.com วันที่ 5 ธันวาคม 2560
เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการสร้างศูนย์กลางการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง ให้เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยวที่ทันสมัยสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอได้ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุน ในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเพื่อพัฒนาพื้นที่เชิงอุตสาหกรรม และพัฒนาเมืองเพื่อยกระดับพื้นที่ อีกกลไกสำคัญ คือมาตรการด้านการให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ซึ่งได้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขึ้นในกระบวนการส่งเสริมการลงทุนของไทยโดยบีโอไอได้มีการปรับปรุงมาตรการในการส่งเสริมการลงทุนรูปแบบใหม่ที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง นวัตกรรม และการวิจัยและพัฒนาที่เข้มข้น ตามเป้าหมาย ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน ฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติการเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรม เป้าหมาย พ.ศ. 2560 สำหรับโครงการลงทุนในอุตสาหกรรม เป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และโครงการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ที่ไม่เคยมีในประเทศไทยมาก่อน และยังนับเป็นครั้งแรกที่มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่นักลงทุนสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทยและยังมีความยืดหยุ่นเฉพาะเจาะจงมากขึ้น
ที่มา : หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก วันที่ 4 ธันวาคม 2560