สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

     นายสนธิรัตน์กล่าวว่า กระทรวงฯ ยังได้วิเคราะห์ผลการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำต่อภาคการผลิต โดยพบว่าต้นทุน ค่าแรงในภาคการผลิตและบริการจะ เพิ่มขึ้น 10,006 ล้านบาทต่อปี หรือ คิดเป็น 0.07% ของจีดีพี โดยภาค บริการที่มีการใช้แรงงานเข้มข้นจะได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงมากสุด 3 อันดับแรก คือ การก่อสร้าง การขายส่งและการขายปลีก, การซ่อมยานยนต์และรถจักรยานยนต์, โรงแรมและบริการด้านอาหาร ส่วนภาคอุตสาหกรรม คือ ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม, การฟอกและตกแต่งหนังฟอก, เครื่อง จักรสำนักงานโลหะขั้นมูลฐาน  ส่วนผลกระทบต่อการส่งออก พบว่า ต้นทุนเพิ่มขึ้น 0.022% หรือมีต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 167 ล้านบาทต่อปี โดยสาขาที่มีสัดส่วนต้นทุน เพิ่มมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ การพิมพ์ เครื่องหนัง เครื่องแต่งกาย โลหะประดิษฐ์ และเฟอร์นิเจอร์ ส่วนอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบน้อย ได้แก่ เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ และยานยนต์
ที่มา: หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายวัน 360 องศา  วันที่ 19 มกราคม 2561

 

         บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ค่ายรถยักษ์ใหญ่ ของญี่ปุ่น แถลงว่า ได้ระงับการผลิตรถทั้งหมด สำหรับส่งออกไปตลาดเวียดนามตั้งแต่เริ่ม ต้นปี 2561โดยปัจจุบัน โตโยต้ายังมีการผลิตรถ ในเวียดนาม แต่นำเข้ารถจากไทย อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น คิดเป็นประมาณ 1 ใน 5 ของยอดขายรถในตลาดเวียดนาม หรือ 1,000 คันต่อเดือน นายมิชิโนบุ ซึงาตะ ประธานโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย แถลงว่า ตลาดเวียดนาม ชะลอตัวลงอย่างชัดเจนในปีที่แล้ว หลังจาก ผู้บริโภคยับยั้งแผนการซื้อรถใหม่ เพราะรอให้ มาตรการยกเลิกภาษีนำเข้ามีผลบังคับใช้สิ้นปี 2560  ยอดขายรถในเวียดนามระหว่างเดือนม.ค.-พ.ย. 2560 ลดลง 10% เทียบกับปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 245,000 คัน ซึ่งนายซึงาตะ กล่าวว่า บริษัทคาดว่าจะเกิดแรงกระตุ้นครั้งใหญ่ในปีนี้ แต่เนื่องจากอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษีของรัฐบาลเวียดนาม ทำให้ บริษัทส่งออกรถไปตลาดนี้ไม่ได้ มาตรการดังกล่าวซึ่งประกาศใน เดือนต.ค.กำหนดให้มีการทดสอบการปล่อย มลพิษและความปลอดภัยกับรถนำเข้า ทุกล็อต หลังก่อนหน้านี้มีการทดสอบเฉพาะกับรถนำเข้าล็อตแรกเท่านั้น
ที่มา: หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 18 มกราคม 2561

 

       การลงทุนในชิ้นส่วนยานยนต์ โดยเฉพาะแบตเตอรี่เพื่อรับตลาดเกิดใหม่กลุ่มรถยนต์ไฮบริด ซึ่งเป็นเทรนด์ของโลกและประเทศไทย รวมถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้กับโปรดักต์เกือบทุกตัวเพื่อเป็นมาตรฐานของยานยนต์ในอนาคต เน้นไปที่ 4 กลุ่มหลัก คือ ประกอบด้วย 1.ระบบไฮบริด เจเนอเรชั่นใหม่ 2.นวัตกรรมโครงสร้างใหม่ TNGA (Toyota New Global Architecture) ระบบความปลอดภัยใหม่มาตรฐานระดับโลก และระบบนำทางและเชื่อมต่อผู้ขับขี่กับรถยนต์ (Toyota T-connect Telematics) ซึ่งโตโยต้าเริ่มแนะนำกับรถซับคอมแพ็กต์เอสยูวีรุ่นใหม่ ซี-เอชอาร์ จะส่งมอบให้ลูกค้าได้ในเดือนมีนาคมนี้   "มั่นใจว่าตลาดฟี้นตัวแล้ว ปัจจัยบวกตอนนี้มีครบ ทั้งความเชื่อมั่นจาก ผู้บริโภค, มาตรการส่งเสริมจากภาครัฐ, จีดีพีที่มีแนวโน้มดีในระดับ 3.9% รวมถึง การเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ของค่ายรถต่าง ๆ จะเป็นแรงกระตุ้นให้ยอดขายรถทั้งปีทะยานขึ้นในระดับ 900,000 คัน"
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 17 มกราคม  2561