European Union negotiators agreed to new rules that give Brussels the power to check up on national car approval authorities after Germany and Italy dropped their resistance to the EU having greater control. Under the new regulation, the EU executive will be able to trigger EU-wide recalls, carry out checks on cars and fine automakers up to 30,000 euros per car for breaches of the rules. Under current rules, national bodies, such as Germany's KBA authority, approve new cars and only they have the power to revoke those licenses. The draft law allows the EU to carry out an audit of national authorities which approve vehicle types and sets a minimum number of on-road emissions tests a country is obliged to carry out after such checks in the U.S. helped to uncover the Volkswagen emissions-rigging scandal.
ที่มา : www.autonews.com วันที่ 8 ธันวาคม 2560
ข้อตกลงอาเซียน-จีน ที่จะมีผลบังคับใช้ ในเดือน ม.ค.ปีหน้า โดยหนึ่งในรายละเอียด ของข้อตกลงจะเปิดให้นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า (EV) จากจีน ทำให้หลายฝ่ายเกรงว่าจะเกิดผลกระทบต่อการผลักดันนโยบายสนับสนุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทยล่าสุดรัฐกำลังนำมาตรการกำหนดมาตรฐานแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ามาใช้เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ อีกทั้งเตรียมใช้เวทีเศรษฐกิจไทย-จีนในเดือน ม.ค.ปีหน้า หารือทางออกร่วมกัน พล.อ.นาวิน ดำริกาญจน์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เพื่อป้องกันผลกระทบจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือน ม.ค.2561 ซึ่งอาจจะกระทบกับการส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า(Electric Vehicle : EV) ในไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังหารือถึงมาตรการป้องกันผลกระทบโดยแนวทางหนึ่งที่จะนำมาใช้ก็คือการกำหนดมาตรฐานการนำเข้าแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าหรือกำหนดมาตรฐานแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่จะใช้ในประเทศไทยซึ่งเป็นแนวทางที่หลายๆประเทศนำมาใช้เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ โดยในการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้า การลงทุนและเศรษฐกิจไทย-จีน (JC เศรษฐกิจไทย-จีน)ที่จะมีขึ้นในเดือน ม.ค.2561 ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพจะมีการหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้ในที่ประชุม
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 7 ธันวาคม 2560
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษก กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยแนวโน้มยอดการผลิตรถยนต์ปี 2561 ว่า ในเบื้องต้นคาดว่า มีปริมาณ 1.96 ล้านคัน สูงกว่าปี 2560 เล็กน้อยที่คาดว่า มีปริมาณ 1.95 ล้านคัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 860,000 คัน เมื่อเทียบกับปี 2560 คาดว่า มี 850,000 คัน ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม คือสถานการณ์ ตัวเลขการลงทุนภาคเอกชนที่คาดว่า เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวดี และส่งผลดีต่อยอดขายรถยนต์ "ยอดผลิตรถยนต์ปี'61 เป็นการตั้งเป้าแบบถ่อมตัว อยากดูตัวเลขเดือนพฤศจิกายน และธันวาคมปีนี้ให้ชัดๆ อีกครั้ง เราหวังจากการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งโครงการอีอีซี ที่เริ่มกลับมาจะช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น รวมทั้งกำลังซื้อที่เริ่มฟื้นขึ้น จะช่วยยอดขาย ในประเทศ" นายสุรพงษ์กล่าว
ที่มา : หนังสือพิมพ์ แนวหน้า วันที่ 6 ธันวาคม 2560