สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

             สถานการณ์ตลาดรถยนต์ไทยปี 2561 ประเมินว่าจะกลับมาอยู่ในภาวะ "ขาขึ้น"  ต่อเนื่องจากปี 2560 มียอดขาย 8.7 แสนคัน สูงกว่าการคาดการณ์และเติบโตจากปีก่อนหน้า 13.5% เนื่องด้วยปัจจัยบวกทั้ง ภาวะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น สถาบัน การเงินผ่อนคลายความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ สินค้าใหม่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น   แนวโน้มการแข่งขันที่จะรุนแรงขึ้นทำให้ผู้ประกอบการต่างงัดสารพัด กลยุทธ์ช่วงชิงลูกค้าโดยเฉพาะ "เทคโนโลยี" และ "นวัตกรรมใหม่" จะถูกนำมาใช้เป็นจุดขายมากขึ้น  ยักษ์ใหญ่ "โตโยต้า"  ประกาศตัว รุกตลาดไฮบริดครบวงจร เป็นการทำตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นจากรถยนต์ไฮบริด ที่จะเริ่มกับรุ่น ซี-เอชอาร์ โดยเลือกที่จะใช้แบตเตอรี นิกเกิล ไฮไดรด์ แม้ว่าปัจจุบัน อุตสาหกรรมจะหันไปเน้นทางแบตเตอรี ลีเธียม ไอออน แต่โตโยต้า ระบุว่า นิกเกิล ไฮไดรด์ มีจุดเด่นสามารถรีไซเคิลได้   ดังนั้น นอกจากเตรียมสร้างโรงงานผลิต ในปี 2562 แล้ว โตโยต้ายังทุ่มงบอีก 300 ล้านบาท สำหรับสร้างโรงงานกำจัดซากรถที่หมดอายุ รวมถึงการจัดการกับแบตเตอรี และจะให้บริการกับรถยนต์ทุกยี่ห้อ   นายมิจิโนบุ ซึงาตะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน ประเทศญี่ปุ่น และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า โตโยต้า จะใช้ ซี-เอชอาร์ ที่จะผลิตและส่งมอบ อย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือน มี.ค. เป็นต้นไป เป็นหนึ่งในสินค้าหลักของปีนี้
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 29 มกราคม  2561
 

 

       นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้พิจารณามาตรการส่งเสริม 2 อุตสาหกรรม ตามแผนพัฒนาและขับเคลื่อน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (เอส-เคิร์ฟ) คือ 1.อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ โดยผลักดันโครงการเศรษฐกิจชีวภาพ (ไบโอ อีโคโนมี) ผ่านคณะทำงานด้านการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ภายใต้การสานพลังประชารัฐ อาทิ การเกษตรแม่นยำสูงด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเครื่องจักรกลการเกษตรอย่างเต็มประสิทธิภาพ นายพสุกล่าวว่า สำหรับปี 2560 กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้จัดเก็บสถิติกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย มียอดการแจ้งประกอบและขยายกิจการโรงงาน จำนวนรวม 1,487 ราย เงินลงทุน 182,577 ล้านบาท มีการจ้างใหม่ จำนวน 91,563 คน โดยอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เงินลงทุน 92,338 ล้านบาท อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุน 41,840 ล้านบาท และอุตสาหกรรมยานยนต์ เงินลงทุน 35,804 ล้านบาท ทั้งนี้ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ได้รับใบอนุญาตประกอบและขยายกิจการมากที่สุด 974 โรงงาน รองลงมา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 175 โรงงาน และอุตสาหกรรมยานยนต์ จำนวน 111 โรงงาน
ที่มา: หนังสือพิมพ์ มติชน   วันที่ 26 มกราคม 2561

 

         นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือน ธ.ค. 2560 มีทั้งสิ้น 1.04 แสนคัน สูงสุดในรอบ 4 ปี เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 20.1%  ทั้งนี้ เนื่องจากยอดจองรถยนต์ ในงานมอเตอร์ เอ็กซ์โป 2017 เมื่อเดือน ธ.ค. 2560 มากกว่า 3.9 หมื่นคัน นอกจากนี้เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจ ในประเทศฟื้นตัว ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสูงขึ้น การเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่จากค่ายรถต่อเนื่อง การส่งออกดี การฟื้นตัวการลงทุนภาครัฐและเอกชน การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยของรัฐบาล และการถือครองรถยนต์โครงการ รถคันแรกครบ 5 ปี  สำหรับยอดผลิตรถยนต์ปี 2560 มีจำนวน 1.98 ล้านคัน มากกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ 1.95 ล้านคัน คิดเป็น 2.28% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า มีปัจจัยหลักมาจากการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 8.62 แสนคัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 11.01% การผลิตเพื่อส่งออกปี 2560 อยู่ที่ 1.12 ล้านคัน ลดลงจากปีก่อน 3.52% แต่ยังโตมากกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 1.1 ล้านคัน
ที่มา: หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์  วันที่ 25 มกราคม 2561

เโพสต์ทูเดย์  วันที่ 25 มกราคม 2561