สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

         ลงทุนเอกชนเริ่มฟื้น หลังส่งออกขยายตัวดี "สศค."มั่นใจทั้งปีโต 3.8% เผยสัญญาณบวก จากการนำเข้าที่สูงขึ้น ด้าน"กรุงศรี"คาดปีนี้ โต 3.5% อานิสงส์ลงทุนรัฐ  ขณะ"ภัทร"มองขยายตัว เล็กน้อย ห่วงไทยเผชิญปัญหาขีดแข่งขันลด  หลายปีที่ผ่านมา การลงทุนภาคเอกชนที่ เติบโตช้า เป็นหนึ่งในปัจจัยฉุดการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทว่าในปีนี้นักเศรษฐกิจศาสตร่ต่างประเมินว่าการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัว  จากสัญญาณการนำเข้าสินค้าทุน และการส่งออก ที่คาดว่าจะโตต่อเนื่อง   นายศรพล  ตุลยะเสถียร ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สศค.ประเมินการลงทุน ภาคเอกชนในปีนี้จะสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง ที่ 3.8% จาก 2.1% ในปีที่แล้ว โดยเครื่องชี้หลายตัว ส่งสัญญาณ อาทิ การนำเข้าสินค้าทุน โดยใน เดือนม.ค.2561 ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนขยายตัว 30.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน และแม้จะหักการ นำเข้าสินค้าทุนรายการพิเศษแล้วก็ยังขยายตัวได้ถึง 25.0%เมื่อเทียบกับปีก่อน
ที่มา : หนังสือพิม กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 26  มีนาคม 2561
 

 

             สมาคมผู้ผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์ไทย คาดยอดส่งออกชิ้นส่วน-อะไหล่รถยนต์ปีนี้ โต 6-10% จากปีก่อนที่มียอดส่งออกเฉียด 2 หมื่นล้านดอลลาร์ จากภาวะเศรษฐกิจโลก ฟื้นตัวและลูกค้าต่างชาติมั่นใจคุณภาพสินค้าไทย   นางอัชณา ลิมป์ไพฑูรย์ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย กล่าวว่า แนวโน้มของเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัว ดีขึ้นในปีนี้ ประกอบกับคุณภาพของ ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ที่มีการ ผลิตในประเทศไทยทำให้สมาคมฯคาดว่าการส่งออกชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์จะขยายตัวจากปีก่อน 6-10%   นายสุพพัต อ่องแสงคุณ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่าปัจจุบันการส่งออกรถยนต์ ของไทยมีปริมาณสูงเป็นอันดับที่ 12 ของโลก โดยการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ในปี 2560 มีมูลค่า 19,844.69 ล้านดอลลาร์ เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2559 ถึง 15.5%      ตลาดส่งออกที่สำคัญของสินค้า ชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ของไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และจีน    นายณัฐวัฒน์ บุญวรเศรษฐ์ นายกสมาคมผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์และอะไหล่ทดแทนไทย กล่าวว่า สำหรับตลาดสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ประเภท After market หรือ REM (Replacement Equipment Manufacturing) นั้น มีความเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ผลิตไทยได้พยายามสร้างแบรนด์สินค้า ที่มีคุณภาพสูง รวมทั้งนอกจากจะพยายามรักษาฐานลูกค้าเดิมแล้วยังขยายตลาดส่งออกใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสินค้า ที่ผลิตในประเทศไทยก็ได้รับความเชื่อถือ จากลูกค้า
ที่มา: หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 23 มีนาคม 2561
 

 

             ไม่หวั่นค่ายใหญ่ล็อกสเปก มาสด้า ซูซูกิ จ้องถกบีโอไอหลังยื่นแพ็กเกจลงทุน แต่ยังไม่สรุปเรื่องเทคโนโลยีว่าจะเป็น "ฟูลไฮบริด" หรือ "ไมลด์ ไฮบริด" หวังอัตราภาษีสรรพสามิต 4% เท่าเทียมกัน ด้านเมอร์เซเดส-เบนซ์ เล็งระบบ 48 โวลต์ หลังตั้งโรงงานประกอบแบตเตอรี่ในไทย หลังจาก"โตโยต้า" ชิงธงนำลงทุนโครงการไฮบริดมูลค่า 2 หมื่นล้านบาทในไทย และมีแผนนำเทคโนโลยีลูกผสมระหว่างเครื่องยนต์กับมอเตอร์ไฟฟ้าใส่ในรถยนต์ที่ตนเองทำตลาดทุกรุ่นหลัก  โตโยต้าจริงจังกับการพัฒนาและทำตลาดรถยนต์ไฮบริดมากว่า 20 ปี หรือคิดเป็นยอดขายสะสมทั่วโลกจากรถ 34 โมเดลกว่า 10 ล้านคัน สำหรับเมืองไทยมี คัมรี่ พริอุส (ยุติการทำตลาดแล้ว) และล่าสุดกับ ซี-เอชอาร์ ที่เพิ่งเริ่มทยอยส่งมอบรถตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป
ที่มา: หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ   วันที่ 22 มีนาคม 2561