สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

            นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ กล่าวภายหลัง นายโอซามุ มาสุโกะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เข้าพบว่า มิตซูบิชิจะยื่นขอส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิต รถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน รวมถึงสถานี อัดประจุไฟฟ้า คือ รถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก (plug-in hybrid electric vehicle : PHEV) มูลค่าการลงทุน 5 พันล้านบาท และรถยนต์ไฟฟ้า แบบแบตเตอรี่ (battery electric vehicle : BEV) และโรงงานแบตเตอรี่ 6 พันล้านบาท โดยจะยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ภายในเดือนธันวาคมปีนี้    ก่อนหน้านี้ นายมาสุโกะยืนยันว่า มิตซูบิชิ ผลิตรถอีวีมาตั้งแต่ปี 2009 และรถปลั๊ก-อิน ไฮบริด ตั้งแต่ปี 2013 ซึ่งถือว่ามิตซูบิชิ มีเทคโนโลยีและความพร้อมสำหรับรถยนต์ทั้ง 2 ประเภท ส่วนกลุ่มรถอีวีคงต้องมองกันอีกทีว่า ประเทศไทยจะมีความพร้อมแค่ไหน
ที่มา : หนังสือพิมพ์  ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2561

 

  จากกรณีที่รัฐบาลหารือกับผู้ผลิตรถบรรทุกและรถกระบะรายใหญ่ ในการหาแนวทางปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ให้สามารถรองรับน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล บี20 นั้น ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ยังไม่มีข้อสรุปถึงแนวทางดังกล่าว โดยที่ผ่านมาข้อกำหนดของรัฐบาลที่กำหนดให้มาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลสูงสุดไม่เกิน บี7 อีกทั้งการพัฒนาจาก บี0 ขยับสู่ บี2 และ บี5 ยังต้องใช้ระยะเวลานานในการพัฒนาเครื่องยนต์ให้สามารถรองรับได้ ซึ่งมองว่า บี20 อาจจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์และการช่วยเหลือเกษตรกรได้ในระดับหนึ่ง   ทั้งนี้ ในฐานะผู้ผลิตรถยนต์มีความกังวลในด้านคุณภาพน้ำมัน เพราะไม่ใช่เพียงการพัฒนาเครื่องยนต์ให้สามารถรองรับได้เท่านั้น แต่ยังมีด้านอื่นๆ ที่จะต้องคำนึงถึงรวมถึงในด้านการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย ขณะที่เทรนด์การพัฒนารถยนต์ทั่วโลกต่างมุ่งไปสู่การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าและลดระดับความสำคัญในการพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งอาจส่งผลต่อการพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลในทุกๆด้าน อย่างไรก็ตามอาจจะต้องขึ้นอยู่กับนโยบายการสนับสนุนของแต่ละประเทศด้วยเช่นกัน

ที่มา :หนังสือพิมพ์ โพสต์ ทูเดย์ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561

 

"สมคิด" ลุยยกระดับอุตฯยานยนต์เต็มสูบ สั่งสรรพสามิตปฏิรูปโครงสร้างภาษีรถยนต์ทั้งระบบ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ดันโปรดักต์แชมเปี้ยนปิกอัพ-อีโคคาร์และรถอีวี รับไทยแลนด์ 4.0 ตั้งทีมทบทวนเกณฑ์ปล่อย CO2ให้สอดรับกับเทคโนโลยีใหม่ เอกชนเฮพร้อมลงทุน ปลื้มคนไทยได้ใช้รถดีราคาสมเหตุสมผล  กรมสรรพสามิตได้ทำหนังสือเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงค่ายรถยนต์เกือบทุกยี่ห้อเข้าร่วมหารือ เพื่อกำหนดทิศทางการปรับปรุงหรือปฏิรูปโครงสร้างภาษีรถยนต์ทั้งระบบ ให้สอดรับกับนโยบายของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ที่ต้องการสนับสนุนนิวเอสเคิร์ฟ หรือ 5 อุตสาหกรรมหลักที่รัฐบาลสนับสนุน ซึ่งหนึ่งในนั้น มีรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่รวมอยู่ด้วย กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่ยุคอุตสหกรรม 4.0 แต่ที่ผ่านมาโครงสร้างภาษีรถยนต์ยังก้าวตามไม่ทัน มีหลาย ๆ อย่างเป็นอุปสรรค กรมสรรพสามิตต้องการให้การจัดเก็บภาษีมีความเป็นธรรม โปร่งใส เป็นสากล และลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้การจัดเก็บภาษีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและส่งเสริมโปรดักต์แชมเปี้ยนของไทย ตั้งแต่รถปิกอัพ, อีโคคาร์ และรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังจะมาเป็นโปรดักต์แชมเปี้ยนตัวต่อไป   นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า เมื่อวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา กรมสรรพสามิตได้จัดประชุมคณะทำงานปฏิรูปโครงสร้างภาษีรถยนต์เพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้า (รถยนต์อีวี) ในอนาคต มีเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการค่ายรถยนต์ต่าง ๆ และผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุม เพื่อหารือถึงโครงสร้างภาษีรถยนต์ในอนาคต ซึ่งเป็นการประชุมนัดแรก คงต้องใช้เวลาอีกระยะ

ที่มา : หนังสือพิมพ์  ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561