สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

        อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (เอ็นทีบี)ของประเทศเวียดนาม ที่ออกมาควบคุมการนำเข้ารถยนต์ต้องออกเอกสารรับรองรถยนต์นำเข้าจากประเทศผู้ส่งออก และการตรวจสอบคุณภาพรถยนต์ใหม่ จนมีความกังวลว่าหากไม่เร่งแก้ปัญหา และในระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อการย้ายฐานผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย และอาจส่งผลให้ประเทศอื่นๆในอาเซียนดำเนินมาตรการดังกล่าวตามได้ ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้หารือกับกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน  นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่าขณะนี้ภาคเอกชนอยู่ระหว่างติดตามแนวทางแก้ปัญหาของรัฐบาลไทยต่อมาตรการเอ็นทีบี ในการส่งออกรถยนต์ไปยังประเทศเวียดนาม เนื่องจากมาตรการใหม่ของเวียดนามไม่ถูกต้องผิดกฏขององค์กรการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) ขณะที่ตลอดทั้งปีนี้ไทยตั้งเป้าหมายส่งออกรถยนต์ไปประเทศเวียดนาม 65,000 คัน
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ วันที่ 13 มิถุนายน  2561

 

              กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรม ต่างเร่งหาแนวทางการเจรจากับประเทศเวียดนาม เพื่อขอให้เวียดนามปรับท่าทีต่อการออกมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี(เอ็นทีบี)ในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเชื่อมั่นว่าเดือนกรกฎาคม 2561 นี้จะได้ข้อสรุปและเป็นผลดีต่อไทย แต่หากเวียดนามยังยืนยันจะใช้มาตรการดังกล่าวอยู่ ก็มีความเป็นไปได้สูงที่ไทยจะตอบโต้เวียดนามด้วยแนวทางใกล้เคียงกัน แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะใช้กับสินค้าใดเพราะอาจส่งต่อแนวทางการเจรจาได้   นายสมชาย หาญหิรัญ รมช.อุตสาหกรรมกล่าวว่า มาตรการเอ็นทีบีของประเทศเวียดนาม ที่เริ่มบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 โดยเวียดนามมีการตรวจรถยนต์ที่นำเข้าเวียดนามทุกลอต จากเดิมเป็นการสุ่มตรวจ ทำให้ขั้นตอนการส่งออกล่าช้า และส่งผลให้ยอดการส่งออกรถยนต์ไปประเทศเวียดนามลดลงถึง 50% ล่าสุด ทราบว่าเดือนกรกฎาคมนี้ ไทยจะมีการประชุมเจรจาอย่างเป็นทางการกับเวียดนามในประเด็นภาษีนี้ เชื่อว่าจะมีข้อสรุปที่เป็นรูปธรรมแน่นอน
ที่มา : หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์แนวหน้า วันที่ 12  มิถุนายน  2561

 

            BMW and Mercedes-Benz maker Daimler face a double whammy of trade risks in an intensifying spat between the European Union and the U.S. Both carmakers ship significant numbers of vehicles from the E.U., and also export from U.S. plants. U.S. president Donald Trump renewed threats to impose tariffs on auto imports, hitting out at the bloc’s standard 10 percent import tariff on cars  higher than a 2.5 percent American duty on auto imports and 25 percent on sport utility vehicles. With Trump extending tariffs on steel and aluminum imports to include the EU on June 1, and a heated meeting of G7 leaders in Canada over the weekend, Germany said Monday that retaliatory action on U.S. products could be ready by July 1. As a result, German carmakers have to worry not only about the potential for higher costs when they ship cars to the U.S., but also any retaliatory measures that affect the cars they produce in North America and send to the EU.
ที่มา:www.autonew.com  วันที่  11 มิถุนายน 2561