สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

             Chinese vehicle imports declined 87 percent in June from a year earlier to 15,000 vehicles as automakers delayed shipments before tariff cuts on foreign-made vehicles took effect last month, according to an industry association.  The data from the China Automobile Dealers Association, which was reported by local media on Monday, also showed that overall sales of imported vehicles during the first half of 2018 fell 22 percent year on year to 451,971 vehicles.  The association published the June data last week and has yet to release July figures. In May, China said it would steeply cut import tariffs for foreign-made automobiles and car parts to 15 percent from 25 percent starting July 1. But in July, China raised tariffs on vehicles imported from the United States to 40 percent amid rising trade tensions with Washington. "June was the most impacted month," said Wang Cun, director of the China Automobile Dealers Association's import committee. "Many car dealers held back their import orders and decided not to import until July 1," he said.
ที่มา : www.autonews.com วันที่ 7 สิงหาคม 2561

 

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าว นำคณะผู้แทนไทยจากภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมการประชุม คณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee : JTC) ระดับรัฐมนตรีการค้าไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 2-3 สิงหาคม 2561 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนามว่า ฝ่ายไทยได้ติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับการออกระเบียบควบคุมการนำเข้ารถยนต์ของเวียดนามมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา โดยเวียดนามได้กำหนดให้รถยนต์ที่นำเข้าทุกรุ่น-ทุกแบบ ต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐานสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยกับห้องทดลองของรัฐบาลเวียดนามเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ฝ่ายไทยได้เสนอให้เวียดนามจัดทำความตกลงยอมรับร่วม (MRA) มาตรฐานยานยนต์ไทย-เวียดนาม เพื่อแก้ไขปัญหาการเสียเวลาและค่าใช้จ่ายที่หน่วยงานทั้ง 2 ฝ่ายตรวจซ้ำในเรื่องเดียวกัน“ผลการหารือครั้งนี้มีสัญญาณบวก เพราะเวียดนามรับข้อเสนอไทยในเรื่องการปรับกระบวนการทำงานภายใต้กฎหมายตรวจสอบมาตรฐานรถยนต์นำเข้า ซึ่งปัจจุบันเวียดนามมีห้องปฏิบัติการการตรวจสอบเพียง 1 แห่ง และมีเจ้าหน้าที่ไม่มาก ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาตรวจสอบเพิ่มขึ้นจาก 3-4 วันกลายเป็น 30 วัน ฝ่ายไทยจะให้ความร่วมมือในการฝึกอบรมและพัฒนาผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบยานยนต์ให้กับเวียดนามรวมทั้งให้เวียดนามใช้ไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในซัพพลายเชน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งชาติของเวียดนาม
ที่มา : หนังสือพิมพ์  ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 6 สิงหาคม 2561

 

               "พีเอ็นเอ กรุ๊ป" จ้องเรียกค่าเสียหายจากทาทา หลังประกาศยุติไลน์ผลิตใน ปท. เลิกใช้โรงงานบางชันฯ ย้ำสัญญาระบุจ้างผลิตปีละ 1,200 คัน ด้านทาทา ยันแผนรุกตลาดยังเหมือนเดิม ทั้งเซอร์วิสและงานขายอยู่ครบ โปรดักต์ ใหม่เน้นซีบียูจากอินเดีย กลุ่มพระนครยนตรการ หรือพีเอ็นเอ กรุ๊ป (PNA) เปิดเผย  กระแสข่าวรถยนต์ทาทายุติไลน์การผลิตในเมืองไทย หันไปใช้วิธีนำเข้าแทน ตามที่นายพี บาลาจี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (ซีเอฟโอ) ของกลุ่มบริษัท ทาทา มอเตอร์ส ประเทศอินเดีย ประกาศนั้นมีสัญญาณมาระยะหนึ่งแล้ว  หลังจากช่วงกลางปี 2560 ที่ผ่านมา บริษัททาทา มอเตอร์ ได้เจรจาใช้โรงงาน บางชันเยนเนอเรลเอเซมบลี ประกอบรถยนต์ทาทา ซีนอน ซึ่งได้มีการทดลอง ประกอบ แต่เป็นจำนวนไม่มากนัก เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ ผู้บริหารทาทา มีแผนจะขึ้นไลน์ประกอบรถยนต์ ทาทา ซูเปอร์เอซ มินต์ ที่โรงงานแห่งนี้ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2561 ที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด  "เรามีข้อตกลงร่วมกันผลิต ปีละ 1,200 คัน นี่ผ่านมาเกือบเดือนเพิ่งประกอบไปได้เพียง 100-200 คันเท่านั้น ยิ่งช่วงหลังผลิตน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ช่วงย้ายจากโรงงานธนบุรีฯ มาอยู่โรงงาน บางชันฯ ทาทาประกาศว่าใช้เงินกว่า 500 ล้านบาท"  หากทาทา ตัดสินใจไม่ประกอบรถยนต์ที่โรงงาน บางชันฯ ทาทาต้องรับผิดชอบค่าขนย้าย อุปกรณ์ซึ่งคิดเป็นมูลค่ามหาศาล รวมทั้งจะต้องมีการจ่ายค่าเช่า พื้นที่ของโรงงานให้กับทางพีเอ็นเอ กรุ๊ปด้วย
ที่มา หนังสือพิมพ์  ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 6 สิงหาคม 2561