สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

           ความเสียหายใหญ่หลวงต่อค่ายรถเอเชีย และยุโรปจากแผนขึ้นภาษีนำเข้าเหล็ก และอะลูมิเนียมใหม่  เว็บไซต์นิคเกอิ เอเชียน รีวิว รายงานว่า นโยบายอเมริกาต้องมาก่อนของรัฐบาล สหรัฐภายใต้การนำของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์กลายเป็นดาบสองคม หลัง ทำให้ผู้ผลิตรถอย่าง "โตโยต้า มอเตอร์" ของญี่ปุ่น "ฮุนได มอเตอร์" ของเกาหลีใต้ "บีเอ็มดับเบิลยู" ของเยอรมนี และ "วอลโว่" แบรนด์รถสวีเดนในเครือบริษัทจีลี่ ออโตโมบิล โฮลดิ้งส์ของจีน พากันขยาย การผลิตในสหรัฐในช่วงกว่า 1 ปีที่ผ่านมา          บริษัทวิจัยไอเอชเอส มาร์คิต คาดการณ์ว่า กำลังการผลิตในสหรัฐของผู้ผลิตรถต่างชาติจะแตะที่ 6.9 ล้านคันภายใน ปี 2565 ใกล้เคียงกับกำลังการผลิตของค่ายรถสหรัฐซึ่งจะอยู่ที่ 7.5 ล้านคัน เมื่อเทียบกับช่วงก่อนนายทรัมป์เข้าบริหาร ประเทศในปี 2559 กำลังการผลิตรถ จะเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านคัน แม้ว่ายอดขายรถ คันใหม่ในสหรัฐอยู่ในช่วงชะลอตัว     อย่างไรก็ตาม แผนล่าสุดของ นายทรัมป์ที่จะจำกัดการนำเข้าเหล็ก และอะลูมิเนียม อาจสร้างความเสียหาย มหาศาล อย่างโตโยต้าใช้เหล็กและ อะลูมิเนียมในสหรัฐกว่า 90% ของวัตถุดิบ ทั้งหมด แต่ก็ยังต้องนำเข้าวัตถุดิบบางส่วน จากนอกสหรัฐ     มาตรการภาษีนำเข้าใหม่อาจจะทำให้ วัตถุดิบนำเข้าเหล่านี้มีราคาแพงขึ้น และหนุนราคารถที่จำหน่ายในสหรัฐ พุ่งพรวดหลังรัฐบาลประกาศมาตรการนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยหน่วยธุรกิจในสหรัฐ ของโตโยต้า เผยว่า แผนเก็บภาษีนำเข้า ดังกล่าวจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อ อุตสาหกรรมยานยนต์และผู้บริโภค
ที่มา: หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 20 มีนาคม 2561

 

           กระทรวงพลังงาน โดย กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เดินหน้าจัดพิธีเปิดสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ผลักดันนโยบายพลังงาน 4.0    เพื่อขับเคลื่อนให้ประเทศไทยกลายเป็นสมาร์ทซิตี้ (Smart Cities) รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคที่สนใจยานยนต์ไฟฟ้า โดยตั้งเป้าหมายในปี 2562 ให้มีสถานีครบ 150 สถานี และไทยจะต้องมีรถยนต์ไฟฟ้าวิ่งบนท้องถนนให้ได้มากถึง 1.2 ล้านคัน  อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานการไฟฟ้า ผู้ให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าในแต่ละเครือข่าย รวมทั้งค่ายรถยนต์ต่างๆ กว่า       20 หน่วยงาน ร่วมกันลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อร่วมกันเดินหน้าพัฒนาระบบเชื่อมต่อการใช้งานของแต่ละเครือข่ายเข้าด้วยกัน เพี่อประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด
ที่มา : หนังสือพิม เว็บไซต์คมชัดลึก วันที่ 19  มีนาคม 2561
 

 

            Brussels, 15 March 2018 – In February 2018 the EU passenger car market grew by 4.3%, with new registrations totalling 1,125,397. In volume terms, last month saw the best February results since 2008. In February 2018 the EU passenger car market grew by 4.3%, with new registrations totalling 1,125,397. In volume terms, last month saw the best February results since 2008. Nearly all major EU markets posted growth, except for the United Kingdom (-2.8%) – where car sales declined for the 11th consecutive month – and Italy (-1.4%). Spain (+13.0%) recorded the strongest gains, followed by Germany (+7.4%) and France (+4.3%). From January to February 2018, demand for new cars increased by 5.8% in the European Union, counting 2,378,965 units in total. Momentum is starting to slow down in certain markets, especially in the United Kingdom (-5.1%). However, passenger car registrations continued to grow in Spain (+16.4%), Germany (+9.5%) and France (+3.4%) during the first two months of 2018.
ที่มา: acea.be   วันที่ 16 มีนาคม 2561