หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นตลาดก็คือมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยในปี 2568 นี้ นโยบายหลักที่ยังคงมีผลบังคับใช้คือ "มาตรการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2" หรือ "EV 3.5" ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ปี 2567 ถึงปี 2570
โดยผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า 100% (BEV) ที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับสิทธิประโยชน์หลักๆ ดังนี้ ผู้ซื้อรถยนต์นั่งไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาทจะได้รับเงินอุดหนุนสูงสุด 100,000 บาทต่อคัน หากแบตเตอรี่มีขนาดตั้งแต่ 50 kWh ขึ้นไป หรือ 50,000 บาท หากแบตเตอรี่มีขนาดต่ำกว่า 50 kWh ส่วนรถกระบะไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่ 50 kWh ขึ้นไปก็ได้รับอุดหนุนสูงสุด 100,000 บาทเช่นกัน และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 150,000 บาทที่มีแบตเตอรี่ 3 kWh ขึ้นไป จะได้รับเงินอุดหนุนสูงสุด 10,000 บาทต่อคัน นอกจากนี้ ยังมีมาตรการลดภาษีเพื่อจูงใจ เช่น การลดภาษีสรรพสามิตจาก 8% เหลือ 2% ช่วยลดต้นทุนของผู้ผลิต และลดอากรนำเข้าสำหรับรถนำเข้าทั้งคัน (CBU) โดยรถ EV ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาทจะได้รับการลดอากรสูงสุดถึง 40% และรถ EV ราคาระหว่าง 2 - 7 ล้านบาทจะได้รับลดอากรสูงสุด 20% หากผู้ประกอบการได้รับการอนุมัติจากภาครัฐ ซึ่งต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของภาครัฐ คือ ต้องได้รับการอนุมัติจากกรมสรรพสามิต ต้องมีแผนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเพื่อชดเชยการนำเข้าภายในปี 2569 หรือ 2570 ตามสัดส่วนที่กำหนด (เช่น นำเข้า 1 คัน ต้องผลิตในประเทศ 2-3 คัน) เพื่อส่งเสริมการเป็นฐานการผลิต EV ของไทยในระยะยาว อาจมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้ชิ้นส่วนแบตเตอรี่ที่ผลิตหรือประกอบในประเทศในอนาคต ซึ่งทั้งหมดนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยให้แพร่หลายยิ่งขึ้น
ที่มา: https://www.autospinn.com/2025/05/tax-deductions-and-ev-subsidies-142890 วันที่ 25พฤษภาคม 2568