สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

          นายยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้า กล่าวว่าสมาคมไปยังกระทรวงพลังงาน ยื่น 8 ข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐในการขับเคลื่อนการใช้และพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงแนวทางในการทบทวนข้อกฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกภาคส่วน ประเด็นเร่งด่วนที่ต้องการให้ภาครัฐผลักดันเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในไทย คือ การสนับสนุนให้มีสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบ Quick Charge ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณยานยนต์ไฟฟ้า

         ข้อเสนอ 8 ข้อที่ อยากให้ภาครัฐเร่งขับเคลื่อนเช่นเดียวกัน ประกอบด้วย 1. จัดทำแผนที่นำทางเรื่องยานยนต์ไฟฟ้าแบบบูรณาการ (อีวี โรดแม็ป) อย่างเป็นรูปธรรม 2. ให้รัฐพิจารณาปรับปรุงข้อกฎหมายต่างๆ อาทิ ให้รถสามล้อ ไฟฟ้าและรถรับจ้างไฟฟ้าสามารถจดทะเบียนได้อย่างเสรี 3. ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า โดยผ่านมาตรการส่งเสริม ลดภาษีส่วนบุคคลสำหรับผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เพิ่มแรงจูงใจผู้ใช้ ยานยนต์ไฟฟ้า 4. ควรส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทั้งในรูปแบบรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและรถสามล้อไฟฟ้า 5. ส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการไทยในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 6.จัดทำมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง 7. การเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้า และ 8.ส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ไฟฟ้า การอบรมและการจัดทำหลักสูตรวิชาชีพในสถาบันการศึกษา

ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 26 สิงหาคม 2562

          ในกีฬาโอลิมปิกปี 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่น บริษัทโตโยต้าเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลัก โดยมีการจัดเตรียมยานยนต์และพาหนะที่ใช้เคลื่อนย้ายกว่า 3,700 คัน ซึ่งเกือบทั้งหมดใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นยานยนต์ไร้คนขับ ยานยนต์ไร้คนขับเป็นชัทเตอร์บัสรุ่น e-Palette ซึ่งเป็นยานยนต์อัตโนมัติระดับที่ 4 (ยังมีเจ้าหน้าที่ประจำเพื่อช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ) สามารถบรรทุกคนได้ 20 คน จำนวนประมาณ 12 คัน ใช้ในพื้นที่หมู่บ้านนักกีฬา รถยนต์ (เก๋ง) ใช้ไฮโดรเจนในการผลิตไฟฟ้า รุ่น Mirai จำนวน 500 คัน ใช้ในการเคลื่อนย้ายระหว่างสนามกีฬา รถสามล้อแบบยืน รถสกู๊ตเตอร์แบบนั่ง และรถพ่วงข้าง ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่สามารถวิ่งได้ระยะประมาณ 6 ไมล์ จำนวน 300 คัน ใช้สำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์

ที่มา: Automotive News Europe ฉบับวันที่ 26 สิงหาคม 2562

          กว่า 14 ปีที่ผ่านมานั้นผู้ผลิตรถยนต์ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการผลิตกล้องมองหลัง แต่ Swamy Kotakiri ประธานฝ่ายเทคโนโลยีของ Magna International ได้มองเห็นความสำคัญของการผลิตกล้องภายใต้สัญญา 350,000 หน่วยในปี 2007 ทุกวันนี้มีการรวมตัวกันในตลาดของระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (ADAS) ซึ่งมองว่ากล้องติดรถยนต์นั้นในอนาคตจะมีความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ในวันพุธนั้น Magna Electronic ได้เปิดโรงงานกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐใกล้ฟลินท์ รัฐมิชิแกนซึ่งมีพื้นที่ในการผลิตกว่า 230,000 ตารางฟุต ผลิตกล้อง 12 ล้านชิ้นต่อปีสำหรับลูกค้า ซึ่งบริษัท Magna ผลิตชิ้นส่วนมากกว่า 46 ล้านชิ้นสำหรับระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง Kotakiri มองว่าเป็นการสร้างระบบเทคโนโลยียานพาหนะไร้คนขับต่อไป เป็นต้น

ที่มา: Automotive News Europe ฉบับวันที่ 26 สิงหาคม 2562