เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ปตท.จับมือกับ “ฟ็อกซ์คอนน์” ผู้นำด้านนวัตกรรมโลก ทุ่มเงินกว่า 7 หมื่นล้านบาท สู่การเป็นฮับยานยนต์ไฟฟ้าของอาเซียน วางเป้าหมายผลิต 7 แสนคันต่อปี
เมื่อย้อนกลับไปดูความตั้งใจของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กับการผลักดันรถยนต์ไฟฟ้าในบ้านเรา มีการตั้งคณะทำงานให้รองนายกฯ สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธานบอร์ดอีวี มีการกำหนดวิสัยทัศน์ชัดเจน ปี 2573 ต้องผลิตอย่างน้อย 30% เพื่อนำพาประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำในอนาคต โดยแบ่งเป็นรถยนต์นั่งและรถกระบะ 725,000 คัน มอเตอร์ไซค์ 675,000 คัน และรถบัสรถบรรทุกอีก 34,000 คัน สถานีชาร์จ 12,000 หัวจ่าย สถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้กับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารับจ้าง อีกราว ๆ 1,500 แห่ง
สำหรับภาคการลงทุนตัวเลขอัพเดตล่าสุดจากบีโอไอ มีโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้รับอนุมัติ 26 โครงการ มูลค่า 78,099 ล้านบาท มี 7 โครงการ ผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์แล้ว เป็นประเภทไฮบริด 3 ราย ได้แก่ นิสสัน ฮอนด้า และโตโยต้า เป็นประเภทปลั๊ก-อิน ไฮบริด 4 ราย เมอร์เซเดส-เบนซ์, บีเอ็มดับเบิลยู, เอ็มจี และมิตซูบิชิ เป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบ 100% แค่ 2 ราย คือ ฟอมม์ และทาคาโน
จากเป้าหมายดังกล่าวดูเมือนบริษัทรถยนต์อย่าง Toyota จะเข้ามามีบทบาทในส่วนนี้ เนื่องจากได้เคยประกาศ วิสัยทัศน์ ENVIRONMENT CHALLENGE 2050 ไม่เฉพาะการพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ ๆ เท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงการสร้าง CO2 ตลอดไลฟ์ไซเคิลของธุรกิจทั้งการผลิตชิ้นส่วน การปล่อยของเสียจากกระบวนการผลิต จนลดการปล่อย CO2 ให้กลายเป็น Beyond Zero ภายในปี 2050 ทำให้ทุกภาคส่วนจับจ้อง Toyota จากการประกาศวิสัยทัศน์นี้ ประกอบกับการร่วมลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ประธานใหญ่ “อาคิโกะ โตโยดะ” ประกาศจะส่งอีก 7 โมเดลทำตลาดในปี 2568 ก็ต้องมาจับตาดูว่าทั้ง 7 โมเดลดังกล่าวจะตอบโจทย์ Carbon Footprint มากน้อยเพียงใด
ที่มา: “ปตท.-ฟ็อกซ์คอนน์ จับมือปั้นไทยฮับผลิต EV” สืบค้นจาก: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/941056 และ “โตโยต้ากับรถอีวี” สืบค้นจาก: https://www.prachachat.net/columns/news-683440
วันที่ 7 มิถุนายน 2564