บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ABeam เปิดเผยข้อมูลผลวิจัยเกี่ยวกับ อนาคตของตลาดรถยนต์เชิงพาณิชย์
ที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศ ว่าตั้งแต่ปี 2558 - 2562 รถยนต์ปิคอัพขนาด 1 ตัน มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 4.40% ในขณะที่ยอดขายรถเชิงพาณิชย์อื่น ๆ เติบโตเพียง 2.51% ในช่วงปีเดียวกัน การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ยอดขายรถกระบะขนาด 1 ตันในปี 2563 หดตัวอย่างมาก ถึง 17% เมื่อเทียบกับปี 2562 ในขณะที่ยอดขายรถเชิงพาณิชย์อื่น ๆ ลดลงเพียง 8% แสดงให้เห็นว่าแม้จะเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ตลาดรถยนต์ที่ไม่ใช่รถกระบะ (non-pickup truck) ถือว่ามีภูมิที่แข็งแรง เมื่อเทียบกับตลาดรถยนต์กลุ่มอื่น ๆ
การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของตลาดรถยนต์เชิงพาณิชย์ในช่วงหลายปีจากนี้ คาดว่าจะเกิดขึ้นจาก 3 ปัจจัยหลัก ประกอบไปด้วย
ประการแรก ประเทศไทยยังคงนโยบายเสริมความสามารถในการแข่งขัน ทั้งด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม ทำให้การใช้รถยนต์เชิงพาณิชย์จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ประการที่สอง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อยกระดับประเทศไทยให้ก้าวสู่ศูนย์กลางการค้าการลงทุน ทำให้เกิดปริมาณการค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ตัวอย่างคือ “โครงการรถไฟไทย – จีน
ประการที่สาม เทรนด์การค้าออนไลน์ที่ไม่มีท่าที่ว่าจะลดลงแม้จะเป็นยุคหลังโควิด-19 ตลาด e-commerce ต้องพึ่งพารถบรรทุกขนาดใหญ่สำหรับการขนส่งสินค้าจากท่าเรือไปยังคลังสินค้า รวมถึงรถยนต์เชิงพาณิชย์อย่างรถกระบะสำหรับการขนส่งในช่วงสุดท้ายก่อนถึงมือลูกค้า
ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/motor/474025 วันที่ 31 มีนาคม 2564