สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ข่าวต่างประเทศ

ประเทศไทยถือว่ามีความสามารถก้าวหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียนสำหรับความจริงจังและการดำเนินการเพื่อให้เกิดการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง นี่คือคำยืนยันที่ชัดเจนของ นายวิเวก ไวทยะ ผู้อำนวยการกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน จำกัด ที่กล่าวในงานสัมมนาทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าปี 2562 จัดโดย บีเอ็มดับเบิ้ลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ย้ำให้เห็นถึงการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยและภาคเอกชน ที่มีความพยายามขับเคลื่อนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้ไปในทิศทางเดียวกับกระแสอุตสาหกรรมยานยนต์โลก ยิ่งถ้ามองจากนโยบายและการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรมแล้วในหลายๆประเทศอาเซียนนั้น เป็นการสร้างในเชิงของนโยบายมากกว่า แต่ขณะที่ประเทศประเทศไทยนั้นแอดวานซ์กว่าประเทศอื่นและเป็รอีกหนึ่งความท้าทายของประเทศไทย ทั้งนี้ เชื่อว่าอนาคตทิศทางของรถยนต์ไฟฟ้าจะเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากการคาดการณ์การขยายตัวของภาครัฐจะเห็นได้ชัดเจนว่าวันนี้แม้ยังคงมีความไม่สอดคล้องกันระหว่างสถานีชาร์จไฟและจำนวนของรถยนต์ไฟฟ้า แต่จากความตื่นตัวของค่ายรถยนต์ ภาคเอกชนที่ได้เริ่มมการลงทุนในส่วนของสถานีชาร์จ ไม่ว่าจะเป็นค่ายอีเอ เอนี่แวร์ เมอร์เซเดส-เบนซ์ หรือบีเอ็มดับเดิลยู ฯลฯ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะเพิ่มการลงทุนในส่วนนี้ เชื่อว่าความต้องการของตลาดรถยนต์เมืองไทยในปีพ.ศ. 2561 อยู่ที่ 1.050 ล้านคันแบ่งเป็นรถปิกอัพ 560,700 คัน รถยนต์ 489,300 คัน เป็นเป้าหมายภายใต้ปัจจัยบวกที่มีการเติบโตของจีดีพที่ระดับ 4.3% ภาคอุตสาหกรรมการส่งออกและการลงทุนของภาครัฐ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างรถยนต์ไฟฟ้าความเร็วสูง รวมทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวน่าจะเป็นปัจจัยบวกที่ดี ตลาดโดนรวมมีทิศทางที่ดี แต่ทั้งนี้ก็ยังคงต้องจับตาภาวะหนี้เสียที่อาจเกิดขึ้นด้วย

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 มกราคม 2562

             นักวิชาการมั่นใจการเปลี่ยนเทคโนโลยีรถยนต์ไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า กระทบฐานการผลิตในไทยไม่มากเชื่อไทยยังคงเบอร์ 1 ในอาเซียน เผยนโยบายอีโคอีวีของรัฐบาลมาถูกทางช่วยให้รถยนต์ไฮบริดราคาถูกลง กระตุ้นลงทุนผลิตชิ้นส่วนสำคัญในไทย นายเกรียงไกร เตชกานนท์ อาจารย์ประจคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวในงานสัมมนาวิชาการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวข้อนวัตกรรมพลิกโลก แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์และเปลี่ยนผ่านสู่ New S-Curve โดยระบุว่าทิศทางเทคโนโลยียานยนต์ที่จะก้าวไปเป็นยานยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริดที่ผสมผสานระหว่างเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันและมอเตอร์ไฟฟ้า และชาร์ตไฟฟ้าได้ ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าจะไปในทิศทางใด การเข้ามาของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า จะกระทบกับอุตสาหกรรมยานยนต์เดิมไม่มาก เพราะบริษัทยานยนต์ส่วนใหญ่ล้วนแต่มีเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าของตัวเองและได้เตรียมการสำหรับทิศทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ไว้แล้ว แต่ค่ายเล็กที่ไม่ได้พัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าของตัวเอง อาจจะได้รับผลกระทบมากกว่า นอกจากนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของตัวเอง อาจจะได้รับผลกระทบมากกว่า นอกจากนี้อุตสาหกรรมยานยนต์จำเป็นต้องใช้ส่วนประกอบจำนวนมาก แม้จะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนบางประเภทอาจจะหายไป เช่น ชิ้นส่วนส่งกำลังเครื่องงยนต์ แต่ส่วนใหญ่ที่เป็นตัวถังยังคงไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากราคาซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญแล้วรถยนต์ยังเป็นสินค้าที่ต้องมีการบำรุงรักษา ผู้จำหน่ายรถยนต์จำเป็นต้องสร้างศูนย์บริการที่ครอบคลุมเพียงพอในตลาดที่จำหน่ายจึงจะจำเป็นต้องสร้างศูนย์บริการที่ครอบคลุมเพียงพอในตลาดที่จำหน่ายจึงจะทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้ากลุ่มผู้ผลิตเดิมที่เป็นเจ้าตลาดได้มีการขยายเครือข่ายและลงทุนในศูนย์บริการไว้ค่อนข้างครอบคลุม ดังนั้นการเข้าตลาดของผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหม่ยังนับว่ามีอุปสรรคอยู่พอสมควร

ที่มา : หนังสือพิมพ์  กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 25 มกราคม 2562

                 เอสจีซี ออโต้แก๊สเอนเนอร์จี รีฟอร์มแนะรัฐจริงจังกับการแก้ปัญหาฝุ่นควันเผยนำร่องรถในหน่วยงานราชการทุกคันให้เป็นมอตรกับสิ่งแวดล้อมก่อนชี้รถสาธารณะต้องใช้พลังงานสะอาด “เอ็นจีวี” นายอภิสิทธิ์ ธนาดำรงศักดิ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี ออโต้แก๊ส จำกัด ผู้ให้บริการติดตั้งก๊าซรถยนต์รายใหญ่ เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าปัจจุบันแม้ความต้องการติดตั้งก๊าซเอ็นจีวีหรือซีเอ็นจี สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไปจะลดลงไปมาก จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่รถยนต์รุ่นใหม่ ประหยัดน้ำมันมากขึ้น ทั้งอีโคคาร์และปิกอัพ แต่การแก้ปัญหาเรื่องฝุ่นควันโดยเฉพาะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพรัฐบาลต้องจริงจัง “เรายอมรับว่าตลาดหดตัวลงเยอะจากลูกค้าหลายร้อยคันต่อเดือน ตอนนี้เหลือเป็นหลักสิบ ทำให้ตอนนี้เราได้ลดขนาดของธุรกิจติดตั้งก๊าซรถยนต์ลงให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการของตลาด และหันไปทำตลาดโดยเจาะกลุ่มลูกค้ารถตู้ หรือรถโดยสารสาธารณะรวมทั้งกลุ่มลูกค้าที่มีความชื่นชอบและพอใจกับการใช้ก๊าซติดรถยนต์เป็นหลัก โดยมีลูกค้าเข้ามารับการติดตั้งเฉลี่ยเดือนละ 20-30 คัน นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ช่วงที่เกิดวิกฤตหมอกควันฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานนั้น อยากแนะภาครัฐควรรณรงค์ให้หลายภาคส่วนหันมาใช้รถยนต์พลังงานทางเลือกก๊าซเอ็นจีวีให้มากขึ้น ควรกำหนดเป็นนโยบายให้รถโดยสารสาธารณะ,รถของหน่วยงานราชการ,รถตู้ หรือแท็กซี่ ต้องใช้พลังงานทางเลือก หรือก๊าซเอ็นจีวีในการขับเคลื่อนอย่างจริงจังเพื่อช่วยลดปัญหา

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 มกราคม 2562

                  โตโยต้าประเมินตลาดรวมรถยนต์ปีนี้ 1 ล้านคันติดลบ 3.8% เหตุมาตรการกระตุ้นยอดขายลดความร้อนแรงหวั่นปัจจัยลบอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ไฟแนนซ์เข้ม สงครามการค้าจีน-สหรัฐบานปลายเร่งแผนผลิตแบตเตอรี่ไฮบริดเดือน พ.ค. พร้อมศึกษาความพร้อมโครงการลงทุนปลั๊กอินไฮบริด – อีวี ต่อเนื่อง บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถานการณ์ตลาดรถยนต์โดยระบุว่าปี 2561 ที่ผ่านมา ตลาดยอดขายมากกว่า  ล้านคันเป็นครั้งที่ 3 ในประวัติศาสตร์โดยทำได้ 1.039 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 19.2 % จากปีก่อนหน้า โดยสิ่งที่สนับสนุนการเติบโตมาจากหลายปัจจัย ทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ผลักดันให้ จีดีพี เติบโต 4.2 % จากการประเมินของธนาคารปห่งประเทศไทย ณ วันที่ 2 มกราคม ปีนี้และผลมาจากที่บริษัทรถยนต์มีมาตรการส่งเสริมการขายจำนวนมากผ่านทางแคมเปญที่หลากหลายโดยเฉพาะเงื่อนไขทางการเงิน ทั้งการดาวน์ต่ำ ผ่อนชำระยาวนาน และอัตราดอกเบี้ยต่ำ รวมถึงกิจกรรมการตลาดอื่นๆและการมีสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาดตลอดทั้งปี ประเมินตลาดรถยนต์ปีนี้ 1 ล้านคัน นายมิจิโนบุ ซึงาตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า เมื่อแบ่งเป็นประเภท พบว่ารถยนต์นั่งมียอดขายรวม 3.97 แสนคัน เพิ่มขึ้น 14.8% รถเพื่อการพานิชย์ (รวมรถปิกอัพ) 6.41 แสนคัน เพิ่มขึ้น 22.1% และปิกอัพ 4.47 แสนคัน เพิ่มขึ้น 22.6% ส่วนแนวโน้มตลาดปีนี้ประเมินว่าใกล้เคียงกับปีที่แล้ว โดยติดลบเล็กน้อย 3.8% ด้วยยอดขาย 1 ล้านคัน โดยรถยนต์นั่งคาดว่าทำได้ 3.84 แสนคัน ลดลง 3.2% รถเพื่อการพานิชย์ (รวมปิกอัพ) 6.15 แสนคัน ลดลง 4.1% และรถปิกอัพ 4.3 แสนคัน ลดลง 3.7% การประเมินว่าตลาด  1 ล้านคันซึ่งเป็นระดับที่สูง เพราะเห็นว่าการลงทุนภาครัฐบาลมีความชัดเจนและต่อเนื่อง ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นการลงทุนจากภาคเอกชน รวมถึงการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ แต่การที่มองว่าติดลบเล็กน้อยเนื่องจากยอดขายในปีที่ผ่านมามีการเติบโตสูงจากแรงกระตุ้นด้านต่างๆจำนวนมาก แต่ปีนี้ความร้อนแรงเหล่านั้นอาจจะลดลง การประเมินดังกล่าวคำนึงถึงปัจจัยลบที่อาจจะเกิดขึ้นรวมเอาไว้แล้ว แต่ถ้าทุกอย่างดี ก็มีความเป็นไปได้ที่ยอดขายจะศุงกว่า 1 ล้านคัน เหมือนกับที่ปี 2561 ที่ช่วงต้นปี โตโยต้าประเมินไว้แค่ 9 แสนคันเท่านั้น แต่เมื่อสิ้นปี ก็พบว่าตลาดขยายตัวเกินกว่าที่คาดไว้

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 มกราคม 2562

                   อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีมูลค่าถึง 5.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ทั้งจากนโยบายการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนแนวโน้มเทคโนโลยีแต่จุดยืนที่ไม่เคยเปลี่ยนคือ การส่งเสริมการผลิตและใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศเพื่อให้เกิดการจ้างงาน เกิดการถ่ายถอดเทคโนโลยีรวมถึงการสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมหรืออุตสาหกรรมสนับสนุน (Supporting Industry ) นี่คือภารกิจหลักที่กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาวอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยยึดถือมาโดยตลอด เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเปิดรับทุกเทคโนโลยีจากทุกภูมิภาคเรายังต้องเรียนรู้เทคโนโลยีจากต่างประเทศที่หลากหลายเหล่านั้น รัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมมีความเห็นตรงกันว่า ควรเปิดโอกาสให้มีการถ่ายถอดเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาในประเทศในรูปแบบอื่น เพื่อให้เกิดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) เพื่อขีดความสามารถในการแข่งขันและต่อยอดการเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกในประเทศไทยแม้ไม่มีรถยนต์แห่งชาติก็ตาม จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 โดยมีแผนพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรมเดิม ที่มีศักยภาพ (First S-Curve) และ 5 อุตสาหกรรมในอนาคต (New-S-Curve) และหนึ่งข้อสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ก็คือ The Next Generation Automotive Industry หรืออุตสาหกรรมยานยนต์สมันใหม่ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัฃญในการพัฒนาต่อยอดไปเป็น New    S-Curve หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมนั้นเอง โดยภาพรวมขณะนี้อุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยมีความพร้อมมาก และมองเห็นว่า EEC เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงและมีความเหมาะสมหลายด้าน อาทิ เป็นที่ตั้งของผู้ผลิตชิ้นส่วนที่สำคัญอละอุตสาหกรรมสนับานุนต่างๆจำนวนมาก รวมถึงศักยภาพด้านโลจิสติกส์ เช่น ท่าเรือน้ำลึกที่สามารถขนส่งรถยนต์หรือชิ้นส่วนต่างๆในปริมาณมากได้ รวมไปถึงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (Automatic and Tyre Testing Research and Innovation Center – ATTRIC ) ของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ณ บริเวณเขตสวนป่าลาดกระทิง อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นศูนย์ทดสอบกลาง ให้บริการทดสอบและรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และยางล้อตามาตรฐานสากล อีกทั้งช่วยสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ สมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 มกราคม 2562

                 รัฐบาลฝรั่งเศสให้แจ้งกับญี่ปุ่นว่า จะหาทางทำให้เกิดการรวบกิจการกันระหว่าง เรโนลต์ – นิสสัน ภายหลัง คาร์ลาส โกส์น อดีตประธานนิสสันถูกแดนอาทิตย์อุทัยจับกุมอย่างสุดช็อค รายงานข่าวของสื่อญี่ปุ่นหลายรายที่ระบุในวันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม 2562  โกส์นซึ่งเป็นผู้นำที่มีชื่อเสียงที่โด่งดังคนหนึ่งในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ของโลก เคยเป็นหัวหน้าของกลุ่มพันธมิตระหว่าง เรโนลต์ แห่งฝรั่งเศสและนิสสันกับมิตซูบิชิ แห่งญี่ปุ่น ก่อนที่เค้าจะถูกจับกุมอย่างกระทันหันขณะกลับมาถึงท่าอากาศยานกรุงโตเกียวในเดือนพฤศจิกายน ด้วยข้อหามีความประพฤติมิชอบทางการเงิน เวลานี้เค้ายังคงถูกคุมขังอยู่ โดยทีทั้งบอร์ดของนิสสันและมิตชูบิชิต่างมีมติปลดโกส์นออกจากตำแหน่งประธาน ขณะที่เรโนลต์ยังคงให้เค้าอยู่ในตำแหน่งประธานและซีอีโอของตนต่อไปเพียงแต่ตั้งผู้รักษาการแทน สำนักข่าวโตเกียวในประเทศญีปุ่น รายงานโดยอ้างอิงแหล่งข่าวหลายรายที่ใกล้ชิดกับเรื่องนี้ว่า คณะผู้แทนของฝ่ายฝรั่งเศส ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ มาร์แตง เวียล กรรมการบริหารคนหนึงของบริษัท เรโนลต์ ที่ทางรัฐบาลฝรั่งเศสเป็นผู้ส่งชื่อเข้าไป ได้เสนอการควบรวมดังกล่าวในระหว่างการเจรจากับพวกเจ้าหน้าที่ฝ่ายญี่ปุ่นในกรุงโตเกียว ในโครงสร้างผู้ถือหุ้นของเรโนลต์ รัฐบาลฝั่งเศสคือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดโดยถือครองในสัดส่วนมากกว่า 15% ขณะเดียวกันเรโนลต์ก็เป็นเจ้าของหุ้นนิสสันอยู่ 43.4% ดดยเป็นหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงด้วย เกียวโดบอกว่า การควบรวมกิจการระหว่างเรโนลต์กับนิสสันนี้ ทางประธานาธิบดีเอมมานูแอล มาครอง ของฝรั่งเศส ก็ได้แสดงความชื่นชอบ ทางด้าน นิกเกอิ หนังสือพิมพ์ธุรกิจทรงอิทธิพลของญี่ปุ่น ได้รายงานข่าวขณะผู้แทนฝรั่งเศสเสนอเรื่องการควบรวมนี้เช่นกัน ดดยระบุด้วยว่านิสสันคัดค้านเรื่อยมาต่อการที่จะให้ฝ่ายฝรั่งเศสมีอำนาจในการกำหนดทิศทางของอนาคตเหนือนิสสัน บริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นซึ่งปัจจุบันทำยอดขายได้สูงกว่าเรโนลต์มาก ตามข่าวนิกเกอิ คณะผู้แทนแดนน้ำหอมยังบอกด้วยว่า เรโนลต์ต้องการที่จะเสนอชื่อแต่งตั้งประธานคนใหม่ของนิสสัน ซึ่งตอนนี้ยังคงว่างอยู่หลังจากการปลดโกส์น มีรายงานว่า เมื่อเดือนที่แล้ว มาครงได้เจรจาหารือกับนายกรัฐมลตรีชินโอ อาแบะ ของญี่ปุ่น ในการประชุมข้างเคียงของซับมิตกลุ่ม จี 20 ที่กรุงบัวโนสไอเรส เมืองหลวงของอาเจนตืนา โดยที่ผู้นำทั้งสองเห็นพ้องกันเพียงแค่รับประกันให้ภายในกลุ่มพันธมิตร เรโนลต์-นิสสัน-มิตซูบิชิ ยังคงความสัมพันธ์ที่มีความเสถีนรภาพ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 21 มกราคม 2562

                     นิสสันรอบีโอไอเคาะส่งเสริมการลงทุน มั่นใจฐานผลิตไทยคุณภาพสูง ล่าสุดฉลองส่งออกครบ 1 ล้านคัน นายยูตากะ ชานาดะ รองประธานอาวุโสของนิสสันเอเซียและโอเชียเนีย เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีศักยภาพการผลิตรถยนต์ที่มคุณภาพระดับโลก และยังสามารถผลิตพร้อมทั้งส่งกลับไปยังประเทศญี่ปุ่นได้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ไทยเป็นฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) นอกญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก จากศักยภาพดังกล่าวที่มีของไทย โดยคาดว่าจะผลิตเพื่อรองรับตลาดในประเทศและรองรับการส่งออกในอนาคต “เราได้มีการพิจารณาจริงภายในบริษัท แต่ขณะนี้อาจจะยังไม่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกได้ ซึ่งเร็วๆนี้จะมีคำตอบที่กระจ่างชัด” นายชานาดะกล่าว นอกจากนี้ในช่วงสิ้นปีพ.ศ. 2560 บริษัทได้ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในส่วนของเทคโนโลยีไฮบริด ซึ่งบริษัทจะมีการนำเสนอเทคโนโลยีไฮบริด ซึ่งบริษัทจะมีการนำเสนอเทคโนโลยีอี-เพาเวอร์ ลงสู่ตลาด  นายอันดวน บาร์เตส ประธานนิสสัน มอเตอร์ ประทศไทย กล่าวว่า การสิ้นสุดระยะเวลาขอรับส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในส่วนของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ในช่วงปลายปีพ.ศ. 2561 ที่ผ่านมานั้นบริษัทได้ทำงานร่วมกับบีโอไออย่างใกล้ชิด โดยขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ ซึ่งจะต้องรอการประกาศจากบีโอไอในเร็วๆนี้ สำหรับเทคโนโลยีรถอีวีในต่างประเทศของนิสสัน มีเทคโนโลยีที่พร้อมนำเสนอสู่ตลาดในรถนต์ทุกประเภท ซึ่งบริษัทมองว่าเทคโนโลยี อี-เพาเวอร์เป็นเทคโนโลยีเชื่อมโยงระหว่างเครื่องยนต์สันดาปภายในกับรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต ขณะที่การสนับสนุนของรัฐบาลเพื่อให้เทคโนโลยีรถอีวีเกิดขึ้นในไทยนั้น มีการส่งเสริมในภาคผู้ผลิตจากการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ แต่ในแง้ของผู้บริโภคนั้นยังไม่มีความชัดเจนเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ ช่องทางพิเศษสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ที่จอดรถพิเศษ เป็นต้น นายบาร์เดส กล่าวว่า การสนับสนุนที่ส่งผลให้ตลาดอีวีเกิดขึ้นนั้นจะต้องประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ 1 ภาคผู้ผลิต และ 2. ภาคผู้บริโภค ซี่งไทยได้ส่งเสริมภาคผู้ผลิตแล้ว แต่ถ้าหากมีการส่งเสริมในภาคผู้บริโภคจะยิ่งสนับสนุนให้ตลาดตลาดเกิดขึ้นโดยเร็ว โดยอาจจะต้องทำทั้งสองส่วนควบคู่กันไป ด้านยอดขายปีงบประมาณ 2561 (มี.ค. 2561 – เม.ษ. 2562) ของบริษัทคาดว่าจะเติบโตเหนือการคาดการณ์เดิมที่จะมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 6.9% เพิ่มขึ้นเป็น 7.5% จากสภาพรวมตลาดเติบโตและความมั่นใจของผู้บริโภค รวมถึงสภาวะเศรษฐกิจเติบโต ทั้งนี้ ล่าสุดบริษัทได้จัดงานฉลองความสำเร็จในการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกรถยนต์ครบ 1 ล้านคัน นับตั้งแต่เริ่มส่งออกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยตลาดที่ส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ตามลำดับ และในปีงบประมาณ  2561 บริษัทติดอันดับ 1 ใน 5 ของผู้ผลิตและส่งออกรถยนต์ของอุตสาหกรรม

ที่มา : หนังสือพิมพ์  โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 18 มกราคม 2562

             “สมอ.”หนุนผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยตอบโจทย์อุตฯเป้าหมาย สนามทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ จ.ฉะเทริงเทรา เปิดดำเนินการไตรมาส 3 ปีนี้ช่วยไทยรักษาแชมป์ศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในอาเซียน ก้าวพ้นผู้รับจ้างผลิตไปสู่ผู้วิจัยพัฒนาและออกแบบรถยนต์ด้านผู้ผลิตยางล้อเผย ช่วยลดต้นทุนทดสอบกว่า 30% หนุนเพิ่มใช้ยางในประเทศ นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเปิดเผยหลังเป็นประธานรับมอบใบรับรองสนามทดสอบยางล้อตามาตรฐาน UNR117 จาก Applus+ IDIADA ประเทศสเปน ว่าศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติได้รับใบรับรองสนามทดสอบมาตรฐาน UNR117 และผิวสนามทดสอบเสียง ตามมาตรฐาน ISO 10844 : 2014 ทำให้สนามทดสอบแห่งนี้ได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ศูนย์ทดสอบยานยนต์ฯ เฟส 1 จะเปิดบริการในไตรมาส 3 ปีนี้ ซึ่งจะให้บริหารทดสอบยางล้อมาตรฐาน UN R117 ที่เป็นมาตรฐานบังคับในปลายปีนี้ จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมยางล้อของไทยให้สูงขึ้นมีความปลอดภัยขึ้นและทำให้ต้นทุนการวิจัยพัฒนายางล้อรุ่นใหม่ลดลง ส่วนในเฟสที่ 2 ก็จะก่อสร้างทันที่ และศูนย์ทดสอบยานยนต์แห่งนี้จะเสร็จสมบูรณ์ในปีพ.ศ. 2564 “ศูนยน์ทดสอบยานยนต์ฯแห่งนี้ จะเป็นสนามที่ได้รองรับมาตรฐานสากลแห่งแรกในอาเซียน จะช่วยดึงดูดการลงทุนด้านการวิจัยพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ และยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ และยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ช่วยเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้แข็งแกร่ง และเป็นแหล่งลงทุนของทั้งผู้ประกอบการไทยและต่างชาติ” หนุนวิจัยชิ้นส่วนยานยนต์ นายสมชายกล่าวว่า 50 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยได้เติบโตตามแผนที่รัฐบาลวางไว้ จนในปัจจุบันไทยเป็นแหล่งผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่แข็งแร่งที่สุดในอาเซียน มีมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ใกล้เคียงกับการส่งออกรถยนต์ทั้งคัน สิ่งนี้จะเป็นจุดแข็งของไทยในอนาคต ซึ่งการที่ไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งห่วงโซ่การผลิต จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมดึงดูดการวิจัย พัฒนาออกแบบและพัฒนายานยนต์แบบเข้ามาในไทยและศูนย์ทดสอบยานยนต์ฯแห่งนี้เป็นเครื่องจักรสำคัญที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ ส่วนการบริหารจัดการศูนย์ทดสอบยานยนต์ฯ หลังจากการก่อสร้างเสร็จจะมอบมายให้สถาบันยานยนต์และบริษัทตรวจสอบรับรองมาตรฐานยานยนต์และล้อยาง ต่างประเทศ เข้ามาร่วมบริหารจัดการ เพราะบริษัทผู้เชี่ยวชาญต่างชาติมีมาตรฐานการทดสอบที่เป็นมาตรฐานสากล มีความเป็นกลางที่ทั่วโลกให้การยอมรับรวมทังภายในศูนย์ทดสอบยานยนต์ฯ ยังมีอาคารปฎิบัติการวิจัย ที่เปิดให้บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ต่างๆ ก็จะเข้ามาตั้งศูนย์วิจัยในบริเวณนี้

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 18 มกราคม 2562
 

 

            นายชาญชัย ตระการอุดมสุข ประธานบริหาร บริษัทมาด้าเซลล์ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่าในปี พ.ศ. 2562 บริษัทตั้งเป้าหมายยอดขายไว้มากกว่า 75000 คัน หรือเติบโตประมาณ 5-10% และมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 6.7% เป็นอันดับ 3 ของตลาดรถยนต์นั่งแบบมั่นคงซึ่งเติบโตต่อเนื่องจากปีพ.ศ.  2561 ที่ถือว่าประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจสามารถทำยอดขายได้สูงสุดถึง 70000 คัน เติบโตถึง 37% นับว่าเป็นการเติบโตสูงสุดของมาสด้าทั่วโลก และส่งผลให้ในระยะ 5 ปี มาสด้ามียอดขายสะสมในไทยรวม 2 แสนคัน ผลักดันให้ไทยเป็นตลาดหลักที่สำคัญ “ในปีพ.ศ. 2561 ตลาดรถยนต์แข่งขันสูงมาก แม้มาสด้าจะไม่มีรถยนต์รุ่นใหม่มาทำตลาดเลย มีแต่รุ่นปรับโฉม แต่สร้างยอดขายและทำลายสถิติ มาจากลูกค้ามั่นใจในตัวสินค้าทุกรุ่น โดยมาสด้า 2 ทำยอดขายให้ได้มากที่สุด 45,972 คัน เติบโตถึง 45% ตลอดจนกิจกรรมการตลาดที่เข้าถึงทุกพื้นที่ ในปีพ.ศ. 2562 ถือเป็นปีทอง ที่จะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้ามาทำตลาดรวม 6 รุ่น มีทั้งรุ่นใหม่และรุ่นปรับโฉม อาทิ CX 8 , CX 3 และมาสด้า 3 ที่มาพร้อมรูปลักษณ์ดีไซต์จากไคโดะดีไซต์ เจเนอเรชั่น 2 และเทคโนโลยีสกายแอ๊กทีฟ” ส่วนภาพรวมตลาดรถยนต์ในปีนี้ จะเติบโตเล็ดน้อย หรือทรงตัวประมาณการที่ 1.03-1.06 ล้านคัน จากปีที่แล้วยอดขายรวมทั้งปี 1,040,000 คัน เติบโต 19% ความเสี่ยงที่น่ากังวล สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และภาระหนี้ครัวเรือนที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น มีผลต่อการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร ในขณะที่การเลือกตั้งมองว่าเป็นปัจจัยบวกที่จะส่งผลดีด้วย นายธีร์ เพิ่มพงษ์พันธ์ รองประธานบริหารฝ่ายการตลาดและรัฐกิจ สัมพันธ์ มาสด้าเซลล์ กล่าวว่า ปีนี้ให้ความสำคัญกับการสื่อสารกับการสร้างแบรนด์สไตล์ของมาสด้า สื่อสารให้ครบทุกช่องทาง  โดยเฉพาะออนไลน์ ให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น เพื่ปูทางไปสู่การมาของรถยนต์มาสด้าเจเนอเรชั่นที่ 7 มาสด้ายังเดินหหน้าสู่นโยบาย Sustainable Zoom-Zoom 2030 โดยในปีค.ศ. 2030 รถยนต์ทุกรุ่นของมาสด้าจะเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนแล้ว

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวสด วันที่ 16 มกราคม  2562
 

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th