สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ยานยนต์

                    สมาคมผู้ผลิตรถยนต์จีนเปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ประมาณ 1.48 ล้านคัน หรือลดลง 13.8% โดยลดลงเป็นเดอยที่ 8 ติดต่อกัน ดีมานด์รถยนต์ในประเทศจีนเพิ่มขึ้นในรอบหลายปีเนื่องจากจีนได้พัฒนาเศรษฐกิจจนทำให้มีชนชั้นผู้บริโภคเพิ่มขึ้น แตยอดขายรายปีลดลงเป็นครั้งแรกประมาณ 2 ทศวรรษในปีที่ผ่านมาเนื่องจากเศรษฐกิจโตลดลงและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสงครามการค้ากับสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ดอยช์แบงก์คาดการณ์ว่าทางการจีนจะมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มการใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์หากไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาสงครามการค้า ในขณะที่ชิตี้แบงก์ กล่าวว่ายังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการลดภาษีเพื่อเพิ่มการใช้จ่ายหรือไม่ ดังนั้นน่าจะทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อรถยนต์จนกว่าจะมีมาตรการทางภาษี ยอดขายรถยนต์เป็นตัววัดการใช้จ่ายของผู้บริโภคจีนและเศรษฐกิจจีนโดยรวมและยังเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับบริษัทรถยนต์ต่างชาติที่หวังว่าดีมานด์ของจีนจะสามารถช่วยหนุนภาครถยนต์ทั่วโลกได้  ทางด้านบริษัทโฟร์กสวาเกนเปิดเผยเมื่อเช้าวันพุธว่าจะลดกำลังแรงงานถึง 7,000 คนเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและจะประหยัดเงินในส่วนของแบรนด์โฟร์กสวาเกนหลักๆ ให้ได้ปีละ 5,900 ล้านยูโรภายในปี 2566 เพื่อเพิ่มกำไรในการดำเนินงานเป็น 6% นอกจากนี้ บริษัทยังไม่ปฎิเสธที่จะลดพนังงานไปจนกว่าจะถึงปี 2568 แต่การเกษียณอายุก่อนกำหนดจจะช่วยให้บริษัทลดกำลังแรงงานได้ระหว่าง 5,000 – 7,000 คน มาตรการเพิ่มกำไรจะสามารถช่วยให้แบรนด์ของบริษัทมีระดับผลตอบแทนที่สามารถแข่งขันได้ 6% ในปี 2565

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 14 มีนาคม 2562

                  คงอาจกล่าวได้ว่า “รถยนต์ไฟฟ้า” หรือ EV กำลังมาแรงอย่างฉุดไม่อยู่ทั่วโลก สะท้อนออกมาจากยอดขายอีวีทั่วโลก รวมถึงรถปลั๊กอินไฮบริดที่ทะลุ 2 ล้านคัน เมื่อปี 2018 เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าจากปีก่อนหน้านี้ ตามข้อมูลของบริษัทวิจัย เอสแอนด์พี โกลบอล แพลตส์ โดยยอดขายรถอีวีคาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คิดเป็นสัดส่วน 54% ขอกยอดขายรถทั้งหมดภายในปี 2040 ซึ่งตลาดอีวีตัวท็อปคงหนีไม่พ้น จีน สหรัฐ และยุโรป “อาเซียน” เองก็นับเป็นอีกหนึ่งภูมิภาคที่น่าจับตามองไม่น้อย เพราะมีศักยภาพในการก้าวขึ้นเป็นตลาดอีวีดาวรุ่งพุ่งแรงทั้งในแง่ของขนาดตลาดและการเป็นหมุดลงทุนพัฒนารถอีวีของนานาชาติ ในแง่ของตลาดอีวีนั้นจำนวนรถอีวีในอาเซียนคาดว่าจะคิดเป็นสัดส่วนราว 20% ของรถยนต์บนท้องถนนภายในปี 2025 แบ่งเป็นรถอีวี 4 ล้อ 8.9 ล้านคัน และรถไฟฟ้า 2 ล้อ หรือ 3 ล้อ อีกกว่า 59 ล้านคัน ตามการประเมินของหน่วยงานด้านพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (iRENA) สำหรับปัจจัยหลักที่ผลักดันให้สัดส่วนอีวีอาเซียนเพิ่มขึ้นมาจากนโยบายสนับสนุนของรัฐบาล โดย “สิงคโปร์” เริ่มมุ่งหน้าเข้าสู่เส้นทางรถยนต์ไฟฟ้ามานับตั้งแต่ปี 2011 ด้วยการออกแผนกลยุทธ์ลดการปล่อยคาร์บอนจากการคมนาคม และเมื่อเดือนธันวาคม 2017 สิงคโปร์เปิด Blue SG บริการแชร์อีวีเริ่มต้นด้วยจำนวนรถ 80 คัน และจุดชาร์จ 30 จุด ด้าน “มาเลเซีย” ประกาศเป้าหมายเพิ่มอีวีบนถนนเป็น 1 แสนคันภายในปี 2030 รวมถึงเปลี่ยนไปใช้รถเมย์ไฟฟ้า 2,000 คันและเพิ่มจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเป็น 1.25 แสนจุด ขณะที่ “อินโดนีเซีย” ระบุว่าจะเพิ่มสัดส่วนอีวีในตลาดรถเป็น 20% ภายในปี 2025 แบ่งเป็นมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2.1 ล้านคัน และรถเก๋ง 2,200 คัน อีกทั้งก่อนหน้านี้ประกาศแบนการขายรถยนต์ใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลภายในปี 2040 สำหรับ “ไทย” การผลักดันอีวีช่วงที่ผ่านมาอยู่ภายใต้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกปี 2012-2021 ที่ได้รับการอนุมัติเมื่อปี 2015 โดยแผนดังกล่าวส่งผลให้จำนวนรถอีวีไฮบริด ทั้งแบบไฮบริด (HEV) และปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.02 แสนคัน ส่วนรถยนต์แบตเตอรี่ไฟฟ้า (BEV) ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 1,394 คัน ในปี 2017 จากจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดเพียง 6 หมื่นคันเมื่อปี 2014

ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 13 มีนาคม 2562

                   EA เตรียมให้เปิดจองรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น MINE MVP ในงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 40 ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม – 7 เมษายน คาดยอดขายกว่า 4000-5000 คัน เดินหน้าโรงงานแบตเตอรี่ตามแผนเล็งเปิดดำเนินการเชิงพานิชย์ปลายปีนี้ พร้อมทุ่ม 1,000 ล้านบาท ลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าไฮบริดในเมียนมา-เวียดนาม ลั่นชัดเจนภายในปีนี้ นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เปิดเผยว่า บริษัทจะนำรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น MINE MVP ราคาเฉลี่ยไม่เกิน 1 ล้านบาท ไปแสดงในงาน Bangkok international Motor Show 2019 (มอเตอร์ โชว์ ครั้งที่ 40 ) ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม – 7 เมษายน 2562 และเปิดให้จองก่อน คาดว่าจะสามารถขายรถยนต์ไฟฟ้าได้กว่า 4,000-5,000 คัน ส่วนรุ่นอื่นจะออกในปีถัดไป ทั้งนี้สอดคล้องกับที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการปรับลดภาษีสรรพสามิตเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2565 ของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า รถยนต์กระบะ และรถยนต์กระบะ 4 ประตู ที่ปล่อยค่า PM2.5 ไม่เกิน 0.005 หรือสามารถใช้ B20 ได้ ให้เก็บภาษีลดลง 1-2% และลดอัตราภาษีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนการผลิต มองว่าจะช่วยกระตุ้นตลาดรถยนต์ด้านจิตวิทยามากกว่า เช่น ทำให้ผู้บริโภคอยากใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งในระหว่างนี้บริษัทจะเร่งเดินหน้าขยายจุดบริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือสถานีชาร์จไฟฟ้า เพื่อรองรับรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ MINE และแบรนด์อื่นๆ นอกจากนี้ บริษัทยังสนใจพัฒนารถยนต์ในรูปแบบอื่นๆเช่น รถกระบะ รถบรรทุก และยานพาหนะอื่นๆ ในอนาคต ส่วนการขยายจุดบริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือสถานีชาร์จไฟฟ้า ปัจจุบันขยายไปมากกว่า 300 จุดแล้ว ซึ่งมีแผนจะดำเนินากรขยายจุดชาร์จให้ครบ 1,000 แห่งทั่วประเทศ ภายในปี 2563

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 12 มีนาคม 2562

                 การที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มั่นคงได้นั้น เราจะต้องเก่งกว่าเดิมและจำเป็นต้องมีโนว์ฮาว จุดแข็งในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์สำคัญๆอยู๋ในประเทศไทยแล้ว แต่ยังไม่พอประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถยิ่งๆขึ้น “อดิศักดิ์ โรหิตศุน” กรรมการสถาบันยานยนต์ ผู้ทำการแทยผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ ยังหมายรวมและมองไปถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การรองรับเทคโนโลยีอัตโนมัติจะเป็นอย่างไรไปติดตามกัน ปิกอัพ-พีพีวี สดใส จะเห็นว่ายอดการผลิตรถยนต์ในปี 2561 ที่ผ่านมา มียอดผลิตทะลุ 2,167,694 คัน โต 9% แบ่งเป็นการผลิตในประเทศ 1,041,739 คัน โต 20% ส่งออก 1,140,640 คัน ทรงตัว 4% ในปีที่ผ่านมา ส่วนในปีนี้ค่ายรถต่างคาดการณ์ยอดผลิตน่าจะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา สำหรับตลาดในประเทศ ส่วนส่งออกนั้นคาดว่าจะลดลงไปเล็กน้อย ลดไป 4-5% คาดปีนี้ยอดผลิตน่าจะใกล้เคียงกับปีที่แล้วที่สัดส่วนการผลิต 58% นั้นจะเป็นรถในกลุ่มปิกอัพและพีพีวี ที่เหลือจะเป็นกลุ่มรถยนต์นั่ง แบ่งตามขนาดเครื่องยนต์หลัก เป็นรถเครื่องยนต์น้อยกว่า 1,500 ซีซี อยู่ที่ 30% รถขนาด 1,500-2,000 ซีซี อยู่ที่ 9% และรถมากกว่า 2,000 ซีซี มีอยู่ 2% โดยแทรนด์ความต้องการใช้รถยนต์ของปีนี้จะเป็นไปได้ทิศทางนี้สำหรับตลาดในประเทศนั้นปี 2561 ที่ผ่านมาถือเป็นปีที่ 3 ที่ประเทศไทยมียอดขายรถยนต์เกินกว่า 1 ล้านคัน ห่วงการเมืองกระทบ ปัจจัยลบที่ต้องจับตามองมีหลายตัวเหมือนกัน เช่น การครบกำหนดอายุของรถยนต์คันแรกที่ครบอายุ 5 ปี ยังมีอยู่ และกลุ่มรถยนต์ xEV ซึ่งมีทั้งไฮบริด ปลั๊ก-อิน ไฮบริด และอื่นๆที่มีมอเตอร์ที่ค่ายรถยนต์ต่างๆจะทยอยส่งออกสู่ตลาด ทั้งญี่ปุ่นและยุโรปน่าจะมีออกสู่ตลาดมากขึ้น และช่วยกระตุ้นความต้องการในตลาดรถยนต์ได้ ส่วนปัญหาเรื่องไฟแนนซ์ สถาบันการเงิน ทั้งจากค่ายรถยนต์เองและจากสถาบันการเงินทั่วไป น่าจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ซื้อรถยนต์คันใหม่ได้ แต่เชื่อว่าทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคจะสามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้ แต่ปัจจัยที่ต้องจับตาคือ สถานการณ์การเลือกตั้ง รถใหม่ในปัจจุบันซื้อโดยวิธีการผ่อนชำระ 80-90% ผู้ที่ผ่อนรถเอาเงินเดือนส่วนพิเศษ เงินโอทีมาผ่อนรถ ถ้าเศรษฐกิจดีก็จะมีเงินมาผ่อน ทำให้วงจรเดินตามปกติ แม้ว่าดอกเบี้ยจะมีการปรับขึ้นบ้างแต่ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี หากลดโอทีก็จะส่งผลกระทบ ทั้งนี้ หากการเลือกตั้งราบรื่นก็ไม่น่าจะมีปัญหาหรือผลกระทบทแต่อย่างใด แต่หากการเลือกตั้งผ่านไปแล้วแต่ยังไม่แข็งแรง อาจจะส่งผลกระทบได้ กลุ่มเกษตรกรเองก็ยังต้องจับตาราคาพืชผล ที่ปัจจุบันยังถือว่าเป็นปัจจัยที่ต้องจับตา

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 11 มีนาคม 2562

              นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักงานแผนภาษีในฐานะริงโฆษกกรมสรรพสามิต แดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2562 ได้เห็นชอบข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ในการลดภาษีสรรพสามิตให้กับรถยนต์ที่สามารถลดฝุ่นขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) คือลดอัตราภาษีรถกระบะ(ปิกอัพ) และรถกระบะ 4 ประตู (ดับเบิลแค็บ) ที่ใช้น้ำมันดีเซลบี 20 และยกระดับมาตรฐานการปล่อยมลพิษจากท่อไอเสียของรถยนต์ดีเซล เป็นมาตรฐานยูโร 5 หรือรถที่มีค่า PM ไม่เกิน 0.005 กรัมต่อกิโลเมตร ซึ่งได้รับการลดภาษีให้ประมาณ 1-2% ขณะนี้ผู้ประกอบการรายใหญ่ 5 ยี่ห้อ ซึ่งมีรถกระบะและรถกระบะ 4 ประตู  มีความพร้อมที่จะใชชัน้ำมันบี 20 และสามารถปรับเปลี่ยนอุปกรณืต่างๆของรถยนต์ อาทิ เปลี่ยนท่อไอเสีย เป็นต้น เพื่อให้รองรับน้ำมันบี 20 ได้แล้ว โดยคาดว่า ไม่เกินปีนี้จะเห็นรถกระบะปี 20 คันแรกออกวางจำหน่าย “ทั้งนี้ คาดว่ามาตราการภาษีดังกล่าว จะจูงใจให้ผู้ผลิตปรับเปลี่ยนรถยนต์ให้เป็นบี 20 ได้เร็วขึ้น เนื่องจากมีลดภาษีให้ต่ำมากและมาตรการที่ออกมาเป็นมาตรการมีประโยชน์ต่ผู้ประกอบการและผู้ใช้รถยนต์โดยเฉพาะเรื่องของการลดมลพิษทางอากาศ ซึ่งเป็นนโยบายมี่สำคัญของรัฐ” นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม. ยังเห็นชอบให้ลดอัตราภาษีรถยนต์แบบพลังงานไฟฟ้า (อีวี)  ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จากปัจจุบันภาษี 2% ลดลงหลือ 0% สำหรับรถยนต์ที่ผลิตตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2565 ระยะเวลาทั้งสิน 3 ปี เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเร่งผลิตรถอีวีออกมาเร็วขึ้น โดยหากรถอีวี ราคา 1 ล้านบาท จะไดรับส่วนลดภาษีประมาณ 20,000 บาทต่อคัน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 8  มีนาคม 2562

               ฮุนได มอเตอร์ กำลังพิจารณาแผนการที่จะระงับการผลิตในโรงงานที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศจีน เนื่องจากยอดขายตกและมีขีดความสามารถเกินความต้องการ การเคลื่อนไหวฮุนไดเป็นการย้ำให้เห็นว่าถึงชะตาที่ผลิกผันของอุตสาหกรรมรถยนต์จีน ซึ่งได้หดตัวครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษในปีที่ผ่านมา ฮุนได เกียร์ มอเตอร์ เผชิญความเสี่ยงจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์มาก เนื่องจากต้องแข่งขันกับบริษัทจีนและบริษัทรถยนต์ระดับโลก บริษัทแถลงว่ากำลังทบทวนการผลิตเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไรและความสามารถในการแข่งขันและกล่าวว่าแผนการนั้น รวมถึง การระงับ ไม่ใช่การปิดโรงงาน 1 ในปักกิ่ง อย่างไรก็ดีบริษัทยังไม่ตัดสินใจว่าเมื่อไหร่ที่จะเริ่มระงับการผลิต แม้หนังสือพิมพ์โคเรีย อีโคโนมิคเดรี่ รายงานว่าอาจเริ่มระงับการผลิตในต้นเดือนหน้า ขณะนี้โรงงานทั้ง 5 แห่งของฮุนไดในประเทศจีน บริหารโดยบริษัทร่วมทุนฮุนไดกับ BAIC Motor Corp พนังงานประมาณ 2,000 คนได้ของเกษียณอายุโดยสมัครใจหรือโอนย้ายไปทำงานโรงงานอื่นๆ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 8 มีนาคม 2562

                    ค่ายรถท้อแบงค์ชาติขยายวงคุมเข้มสินเชื่อรถยนต์หวั่นสะเทือนตลาด ลามถึงยอดขายงนมอเตอร์โชว์ ปลายมีนาคมนี้  เผยสัญญาณชัดอนุมัติล่าช้า เงื่อนไขยุบยับขอเพิ่ม “เงินดาวน์-คนค้ำประกัน” ค่ายรถดิ้นจับมือพันธมิตร “แคปทีฟไฟแนนซ์” ร่วมทำตลาด พลิกเกมเน่นแคมเปญช่วยผ่อนลดภาระลูกค้า แหล่งข่าวในวงการรถยนต์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงภายรวมอุตสาหกรรมรถยนต์ปี 2562 ว่ายังมีปัจจัยค่อนข้างลบเยอะ แม้ว่าช่วง 1-2 เดือนแรกของปีจะมีตัวเลขยอดขายเป็นบวก รวมถึงในเดือนมีนาคมต่อเนื่องเมษายนจะมีอิเวนต์ใหญ่ขายรถอย่างงานมอเตอร์โชว์ก็ตาม แต่สิ่งที่ต้องกังวลคือภาวะเศรษฐกิจโลก สงครามการค้า รวมถึงแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศนโยบายคุมเข้มมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ ซึ่งน่าจะมีผลค่อภาวะการขายรถยนต์อย่างมีนัยสำคัญ และมีความกังวลว่าจะส่งผลต่อภาวะการขายในงานมอเตอร์โชว์ช่วงปลายเดือนนี้ เนื่องจากแบงค์ชาติมองว่ามาตรการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ในช่วงที่ผ่านมาของสถาบันการเงินต่างๆ อาจหย่อนยานเกินไป โดยพบว่าปี 2561 ที่ผ่านมาสินเชื่อรถยนต์มีอัตราเติบโตสูงสุดในบรรดาสินเชื่ออุปโภคบริโภค โดยเติบโตสูงสุดในรอบ 6 ปี ขณะเดียวกัน หนี้เสียที่ขยับเพิ่มขึ้นด้วยมาอยู่ที่ระดับ 1.66% จากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 1.60% เพิ่มเงื่อนไขเงินดาวน์-คนค้ำ แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ตอนนี้การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อรถยนต์อาจต้องลงรายละเอียดลูกค้าแต่ละรายมากขึ้นเนื่องจากยอดขายรถยนต์ใหม่ปีที่ผ่านมาขยายตัวสูงมากทะลุ 1 ล้านคันไปแล้ว ขณะที่ความเหมาะสมของตลาดและกำลังซื้อปริมาณการขายรถควรอยู่ที่ 9 แสน -1 ล้านคันต่อปี แต่ปัจจุบันทะลุ 1 ล้านคันไปแล้ว ดังนั้น สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือดีมานด์เทียม หรือลูกค้ากู้เงินไปแล้วไม่มีความสามารถผอนชำระที่แท้จริง ขณะที่ผู้บริหารสถาบันการเงินบางรายก็ยอมรับว่า แนวโน้มเอ็มพีแอลสินเชื่อรถยนต์เพิ่มมากขึ้น ทำให้หลายค่ายต้องคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อเพื่อไม่ให้เอ็นพีแอลขยายตัว ทั้งนี้ จากความเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อดังกล่าว ทำให้ตอนนี้การอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ ช้าลงมาก และจากเดิมที่ซื้อรถอาจไม่ต้องมีคนค่ำประกัน ระยะหลังก็ต้องใช้หรือบีบบังคับให้เพิ่มเงินดาวน์จากเดิมเริ่มต้น 15-20% เพิ่มเป็น 25-30% หรือมีหลักฐานทางการเงินในการขอกู้เพิ่มเติมเพื่อการันตีและรองรับว่าลูกค้ามีศักยภาพในการกู้และสามารถผ่อนชำระได้

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 7 มีนาคม 2562

                    ครม.ไฟเขียว รื้อภาษีสรรพสามิตรถยนต์ไฟฟ้า รถกระบะแก้ปัญหาฝุ่นละออง หั่นภาษีรถไฟฟ้าเหลือ 0% 3 ปี ส่วนรถกระบะปรับภาษีลง 0.5-2% นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมาได้เห็นชอบการปรับปรุงมาตรการภาษีสำหรับยานพาหนะเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5-PM10) ตามที่กรมสรรพสามิตเสนอ โดยทั้งหมดจะส่งผลให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ไม่เกิน 1,500 ล้านบาท ประกอบด้วย 1)มาตรการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์แบบพลังงานไฟฟ้า ให้ลดภาษีภายใต้หลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) โดยรถยนต์ไฟฟ้าที่เข้าร่วมโครงการฯ จากปัจจุบันอัตราภาษี 2% ให้ลดลงเหลืออัตรา 0% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2565 และใช้ปรับอัตราภาษี 2% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ให้ใช้อัตราภาษี 8% ตามเดิม 2) มาตรการปรับลดอัตราภาษีรถยนต์กระบะและรถยนต์กระบะ 4 ประตู ให้ปรับลดอัตราภาษีรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล โดยอัตราภาษีสรรพสามิตตามการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ (CO2) และการปล่อยฝุ่น PM หรือการที่เครื่องยนต์สามารถใช้น้ำมันที่มีส่วนผสมของบี 20 ได้แบ่งเป็น 1.รถยนต์กระบะที่มีปล่อย CO2 ไม่เกิน 200 กรัม (n) ต่อกิโลเมตร (กม.) ปรับลดอัตราภาษ๊จากสรรพสามิตจาก 2.5% เหลือ 2% ส่วนที่ปล่อยCO2 ไม่เกิน 200 กรัมต่อกม. ปรับลดภาษีสรรพสามิตจาก 4% เหลือ 3% ที่ปล่อย CO2 เกิน 200 ก.ต่อกม. ปรับลดภาษีสรรพสามิตลงจาก 6% เหลือ 5%

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเพทธุรกิจ ฉบับวันที่ 6 มีนาคม 2562

                  ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐเดินหน้าปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศล่าสุด หันมาปกป้องอุตสาหกรรมยนตรกรรม โดยเฉพาะรถยนต์นำเข้าจากต่างชาติ ถึงกับสั่งให้กระทรวงพานิชย์ดำเนินการสอบสวนว่ารถยนต์นำเข้าของบริษัทสัญชาติใดบ้างที่เข้ามาทำลายตลาดรถยนต์ในประเทศ และเข้าช่วยเหลือภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศภายใต้มาตรา 232 หรือไม่ ทรัมป์ย้ำด้วยว่าสหรัฐจะเรียกเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์จากสหภาพยุโรป (อียู) เพิ่มเติม ถ้าหากหารเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับอียูล้มเหลวแถมยังบอกด้วยว่า อียูเป็นกลุ่มประเทศที่ทำข้อตกลงด้วยยาก และถ้าหากไม่มีการทำข้อตกลง สหรัฐก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกเหนือจากภาษีนำเข้า คำพูดของผู้นำสหรัฐเกี่ยวกับการเกก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ครั้งนี้ เท่ากับตอกย้ำทวีตเมื่อเดือนมิถุนายน ปีที่แล้วที่ว่า สหรัฐจะเรียกเก็บภาษีรถยนต์นำเข้าจากอียูในอัตรา 20% และในเดือนพฤศจิกายน ทรัมป์ ประกาศเพิ่มอัตราภาษีเป็น 25% หลังจากบริษัทเจนเนอรัล มอเตอร์ (จีเอ็ม) ตัดสินใจปิดโรงงานหลายแห่งในสหรัฐและปลดพนักงานเพิ่มอีกกว่า 14,000 ตำแหน่ง สงครามการค้ากับจีนยังไม่ทันจบ ทรัมป์ก็เปิดศึกแนวใหม่กับยุโรปเสียแล้ว คาดปีนี้คงเป็นปีที่เหนื่อยหนักทั้งสหรัฐและประเทศคู่ค้า

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 มีนาคม 2562

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th