สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ยานยนต์

                     นายอัตสีชิ ยาชูโมโต รองประธานบริหารอาวุโส บริษัท มาสด้า เซลล์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า นโยบายปรับปรุงและขยายเครือข่ายผู้จำหน่ายภายใต้ภาพลักษณ์ใหม่ Mazda Corporate Identity หลายปีก่อน ทำให้มีนักลงทุนใหม่ๆ เข้ามาเป็นสมาชิกมาสด้าเยอะขึ้น ล่าสุด กลุ่มพระนครยนตรการ (พีเอ็นอกรุ๊ป) ตัดสินใจทุ่มเม็ดเงินลงทุนกว่า 1,500 ล้านบาท เปิด 4 โชว์รูมรวด นายธวัชชัย จึงสงวนพรสุข กรรมการผู้จัดการ บริษัท พระนคร เซลล์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด กล่าวว่า กลุ่มพระนครเติบโตมาจากการประกอบธุรกิจ ในอุตสาหกรรมยานยนต์มายาวนานกว่า 58 ปี แตกย่อยเป็นหลากหลายสินค้าและบริการที่ครอบคลุมอุตสาหกรรมรถยนต์แบบครบวงจร สำหรับ มาสด้า พระนคร เป็นธุรกิจอันดับที่ 13 เรามองเห็นการเติบโตของมาสด้ามาหลายปี ผนวกกับแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่เป็นรูปธรรม มีวิสัยทัศน์ที่เด่นชัด ในขณะที่ความต้องการครอบครองรถยนต์มาสด้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การตัดสินใจลงทุนภายใต้แบรด์มาสด้าจึงเกิดขึ้น ด้สยเงินลงทุนกว่า 1,500ล้านบาท กระจายอยู่บนทำเลศักยภาพ 4 แห่ง เน้นปักหมุดในจุดบนเส้นทางสายเสรษฐกิจเป็นหลัก และจะเปิดในครบทั้ง 4 แห่งภายในปีนี้ ซึ่งได้ฤกษ์ประเดิมเปิดสาขาแรกบนถนนเกษตร-นวมินทร์ และต่อด้วยสาขาอุดมสุขในเดือนมีนาคม สาขารัชโยธินในเดือนพฤศภาคม และสาขารัตนาธิเบศร์ในเดือนพฤศจิกายนนี้

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 มีนาคม 2562

                 นางปวีณา นันทิกุลวาณิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์เดือนมกราคม 2562 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 78,061 คัน เพิ่มขึ้น 17.3% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 30,221 คัน เพิ่มขึ้น 17.4% รถยนต์เพื่อการพานิชย์ 47,840 คัน เพิ่มขึ้น 17.3% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้ มีจำนวน 39,674 คัน เพิ่มขึ้น 21% “ตลดรถยนต์เดือนมกราคม 2562 มีปริมาณการขาย 78,061 คัน เพิ่มขึ้น 17.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ และความต่อเนื่องของกิจกรรมส่งเสริมการขายประกอบกับยังมีการทยอยส่งมอบรถยนต์ที่จองไว้ในงาน Motor Expo ซึ่งจัดขึ้นในเดือนธันวาคมของปีที่ผ่านมา รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากการเมืองในประเทศมีสัญญาณดีขึ้นจากการกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจน ปัจจัยทั้งงหมดนี้ล้วนส่งผลบวกให้กับตลาดรถยนต์ในเดือนมกราคม สำหรับตลาดรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 มีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากภาพรวมของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว และอุปสงค์ในประเทศ รวมถึงการบริโภคของภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและอุปสงค์ในประเทศ รวมถึงการยริโภคของภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง

ที่มา : หนังสือพิมพ์ แนวหน้า ฉบับวันที่ 1 มีนาคม 2562

               ชี้ส่วนใหญ่หนีภาษีฟอกเงิน-แถมรับลูกครม.แก้ฝุ่น พาณิชย์เดินหน้าแก้กฎหมายนำเข้ารถยนต์มือสองส่วนบุคคล ชี้ส่วนใหญ่เป็นรถหรู รถหนีภาษีและผิดกฎหมาย มักเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ยาเสพติด มักมีการสวมสิทธิ์ใช้ชื่อผู้อื่น นำเข้าแทน เตรียมเสนอครม.พิจารณา แถมแก้ปัญญามลพิษจากรถยนต์เก่าด้วย นางสาวชุติมา บุญยประภัศร รมช.พานิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพานิชย์(พณ.)อยู่ระหว่างปรับปรุงประกาศระเบียบเกี่ยวกับการนำเข้ารถยนต์ที่ใช้แล้ว(รถยนต์มือสอง) ก่อนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณา เพื่อป้องกันปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน แก้ไขปัญหาการหลบเลี่ยงมาตรการคววบคุมเพื่อมาจำหน่ายในประเทศ รวมถึงการสวมสิทธิ์ใช้ชื่อผู้อื่นนำเข้าแทน การปลอมแปลงเอกสาร และสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละออง “รถยนต์มือสองอยู่ภายใต้การควบคุมนำข้าของกระทรวงพานิชน์ตั้งแต่พ.ศ.2496 จำนวน 9 ประเภท เบื้องต้นจะห้ามนำเข้ารถยนต์ที่ใช้แล้วเพื่อใช้เฉพาะตัว โดยส่วนใหญ่เป็นรถหรู ส่วนรถยนต์มือสองนำเข้าประเภทอื่นๆ ก็จะโอนหน้าที่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณานำเข้า” สำหรับรถยนต์ที่ใช้แล้วเป็นสินค้าควบคุมการเข้า ครอบคลุมรถยนต์ที่ใช้แล้ว 9 ประเภท ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 87.01,87.02,87.03,87.04 และ 87.05 ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร อาทิ รถยนต์นั่งที่ใช้แล้วเพื่อใช้เฉพาะตัว รถลักษณะพิเศษที่ใช้แล้วเพื่อใช้ในกิจกรรมของตน รถยนต์ที่ใช้แล้วเพื่อใช้ในกิจการของตน รถยนต์ที่ใช้แล้วทุกชนิดที่ได้รับการยกเว้นหรือชดเชยภาษี นอกจากนี้ยังมีรถยนต์ที่ใช้แล้วทุกชนิดโดยส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การสาธารณกุศล รถยนต์ที่ใช้แล้วทุกชนิดเป็นการชั่วคราว รถยนต์ที่ใช้แล้วเพื่อเป็นต้นแบบผลิตหรือศึกษาวิจัยรถยนต์ที่ใช้แล้วเพื่อปรับสภาพแล้วส่งออก รถยนต์ที่ใช้แล้วเพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ ฯลฯ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวสด ฉบับวันที่ 1 มีนาคม 2562

                  ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles : EV) เป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยให้การสนับสนุนมาตั้งแต่ปี 2560 โดยได้วางแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านพลังงานเพื่อส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยในระหว่างปี 2557-2562 การที่รัฐบาลไทยพยายามผลักดันยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มที่เพราะนี่คือส่วนหนี่งของการลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมโดย ผศ.ดร.ภูรี สิรสุนทร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์ นักวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฮิบายว่ายานยน๕ชต์ไฟฟ้าหรือรถยนต์ไฟฟ้ามีอัตราเร่งในการออกตัวสูงไม่ต้องทดเกียร์ไม่มีเสียงดังของเครื่องยนต์นอกจากนี้ยังประหยัดค่าซ้อมบำรุงและค่าเชื้อเพลิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ก่อให้เกิดมลพิษอย่างฝุนละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ยานยนต์ไฟฟ้ามีข้อด้อยที่นักขับไม่ค่อยปลื้มคือราคาที่ค่อนข้างสูงและการชาร์จพลังงาน 1 ครั้ง (ประมาณ 4 ชั่วโมง) จะวิ่งได้ประมาณ 400 กิโลเมตร ทำให้ไม่เหมาะแก่การใช้เดินทางไกล เพราะฉะนั้นต่อให้มีข้อดีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหลายๆประเทศ อาทิ นอร์เวย์ เยอรมนี ญี่ปุ่น อเมริกาและจีน เริ่มนำมาใช้จริง แต่ความคุ้มค่าคุ้มราคาสำหรับคนไทย อาจจะต้องใช้เวลาในการวัดผลสักนิด สกว. จึงได้ทำงานวิจัยโครงหารประเมินมาตรการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าต่อการยอมรับของผู้บริโภคและประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคขนส่งเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาดูว่าจะทำอย่างไรให้ผู้ใช้รถตัดสินใจมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแทนยานยนต์ประเภทที่ใช้เชื้อเพลิง (เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal combustion engine : ICE )) ผลการวิจัยพบว่าสิ่งที่ต้องทำให้เกิดความชมัดเจนคือตัวชี้วัดเพื่อนเปรียเทียบให้เห็นชัดเจนทั้ง ต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (Total cost Ownership : TCO) ต่อยานยนต์ 1 คันไม่ว่าจะเป็นราคารถมือหนึ่งและมือสอง รวมไปถึงค่าเชื้อเพลิง ค่าบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จะตามมา เช่น ดอกเบี้ยประกันและภาษี ซึ่งในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนที่ผู้ใช้ยานยนต์ต้องจ่ายหรือ ต้นทุนเอกชนแล้ว EV ยังมีความโดดเด่นจูงใจไม่มามกพอที่จะทำให้ผู้ซื้อเปลี่ยนมาซื้อ EV โดยเฉพาะเมื่อยานยนต์ในเซ็กเมนต์เดียวกันยานยนต์ประเภทสันดาปภายในมีราคาที่ถูกกว่าในขณะที่ ต้นทุนทางสังคม โดนเฉพาะต้นทุนที่เกิดจากมลพิษทางอากาศการใช้ EV ไม่ก่อให้เกิดต้นทุนนี้เลยและมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562

                  นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เผยว่า โตโยต้าร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดประกวดโครงการ ซียู โตโยต้า ฮาโม โอเพ่น อินโนเวชั่น คอนเทสต์ (CU TOYOTA Ha:mo OPEN INNOVATION CONTEST) เพื่อร่วมพัฒนานวัตกรรมการเดินทางในอนาคต โดยรองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี กำกับดูแลด้านการพัฒนางานใหม่และงานนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมเป็นประธานในงานตัดสินรอบชิงชนะเลิศ ณ อาคารฌฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเร็วๆนี้ นายนินนาทกล่าวว่า บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ริเริ่มโครงการนี้ภายใต้ความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2560 เพื่อทดลองระบบการแบ่งปันรถกันใช้ด้วยยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก อีวี คาร์แชริ่ง (EV Car Sharing) เพื่อวิ่งมนระยะทางสั้นๆ สำหรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างระบบขนส่งสาธารณะ และการเดินทางส่วนบุคคลอย่างราบรื่น เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกสบาย เดินทางสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างรวดเร็วและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันโครงการมีรถไฟฟ้าที่ให้บริการรวมทั้งหมด 30 คัน ใน 22 สถานี โดยครอบคลุมพื้นที่ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สยามสแควร์ สามย่าน และสวนหลวง จากการประเมินโครงการ “CU TOYOTA Ha:mo” พบว่า ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากกลุ่มเป้าหมาย และเพื่อขยายระบบคมนาคม Ha:mo ออกไปในวงกว้าง ทางโครงการจึงเปิดให้นิสิตนักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาโครงการจะประสบการณ์การใช้งานจริง ภายใต้โครงการ “เวทีเปิดทาง นวัตกรรม” เพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ความสามารถ และนำแนวความคิดหรือแผนงานที่เข้าร่วมแข่งขันไปประยุกต์ใช้งานในอนาคตตลอดจนมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบ EV Car Sharing ไปในมิติต่างๆ มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 30 ทีม ผลการตัดสิน ด้านระบบขับขี่อัตโนมัติ เพื่อการรีโลเคชั่นรถ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม KWY ด้านการนำเทคโนโลยีหรือแอพพลิเคชั่นเข้ามาปรับปรุงให้ผู้ใช้งานขับขี่ปลอดภัยและประหยัดมากขึ้น รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม SIMPLE HARMOIC ด้านการออกแบบระบบรีโลเคชั่นรถ สำหรับ CU TOYOTA Ha:mo รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม CAPANITY ด้านแผนการตลาดเพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิกและการใช้งาน รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม องศ์หญิงสามย่าน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน ฉบับวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562

              นายธนานันต์ กาญจนคูหา ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอฟโอเอ็มเอ็ม (เอเซีย) จำกัด ปิดเผยว่าจากการเปิดตัว FOMM One รถไฟฟ้าจากแบตเตเอรี่ 100% ใน 2 จังหวัดคือ ภูเก็ตและขอนแก่นที่ผ่านมา พบว่าลูกค้าให้ความสนใจอย่างมาก แต่ลูกค้ายังต้องการเวลาศึกษาและตัดสินใจการเลือกซื้อเพราะเป็นรถที่เป็นเซ็กเมนต์ใหม่ในตลาด ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล้ำยุค ซึ่งนอกจากใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าแล้ว รถคันนนี้จะเชื่อมต่อกับระบบอิรเตอร์เน็ตที่รู้จักกันในชื่อว่า Internet of Things อีกด้วย ล่าสุดบริษัทได้เปิดตัวในเมืองพัทยา ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 11-17 กุมภาพันธ์  ณ ศูนย์แสดงสินค้า ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล พลาซ่า มารีน่า ภายใต้ความร่วมมือของ PEA Encom ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายและเป็นบริษัทในเครือของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยได้ร่วมกันจัดแคมเปญลดราคาพิเศษ เฉพาะในงานพร้อมกันนี้ ยังจัดรถให้ท่านผู้สนใจทดลองขับรถ EV FOMM One และร่วมกับกรุงศรีออโต้ จัดออกเบี้ยพิเศษดริ่มต้น  2.9% ผ่อนสูงสุดนาน 72 เดือน ให้แก่ลูกค้าจองรถในงาน โดย FOMM One เป็นรถนั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กที่ขับเคลื่อนด้วยระบบพลังงานไฟฟ้า 100% ออกแบบโดยทีมงานวิศวกรชาวญี่ปุ่น โดย นายฮิเดโอะ ชูรุมากิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอฟโอเอ็มเอ็ม (เอเชีย) จำกัด และลงทุนเปิดสายการผลิตรุ่นแรกในประเทศไทยด้านเงินลงทุน 1,000 ล้านบาท และได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ในประเภทการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กที่เรียกว่า ‘Micro-Fab’ อันเป็นเทคโนโลยีการผลิตรถไฟฟ้า เป็นการคิดค้นโดยวิศวกรของ FOMM เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ในการผลิตรถยนต์ ซึ่งรถรุ่นนี้แม้จะมีขนาดเล็กกระทัดรัด แต่สามารถรองรับได้ถึง 4 ที่นั่ง และไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่เป็นเทคโนโลยีรุ่นใหม่ล่าสุดจากประเทญี่ปุ่นคือ In-Wheel Motor สามารถชาร์จไฟฟ้าจากระบบภายในบ้านเพียง 6 ชั่วโมง (0-100%) คิดเป็นค่าใช้จ่าย 42 บาท วิ่งได้ไกล 160 กิโลเมตร (WLTC) ปัจจุบันมีผู้สนใจสั่งจองรถ FOMM One แล้ว 616 คัน คาดว่าจะสามารถส่งมอบรถคันแรกได้ประมาณปลายเดืทอนมีนาคม 2562 นี้ โดยมีสีให้เลือกทั้งหมด 7 สี ได้แก่ สีส้ม สีขาว สีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน สีชมพู และสีขียว

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562

                     บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลล์ จำกัด ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) สานต่อโครงการพัฒนาสู่มาตรฐานความป็นเลิศจัดสัมมนาเชิงปฎิบัติการ หลักสูตร “เทคโนโลยียานยนต์อีซูซุ” รุ่นที่ 19-20 พร้อมมอบชุดเครื่องยนต์อีซูซุ 1.9 ดีดีไอ บลูเพาเวอร์ และอุปกรณ์เพื่อการส่งเสริมการเรียน-การสอนอันทันสมัยให้แก่สถานศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยได้รับเกียรติจาก มร.โทชิอากิ มาเอคาะ ประธานกรรมการมูลนิธิกลุ่มอีซูซุ และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลล์ จำกัด และ ดร. บุญส่ง จำปาโพธิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา ร่วมเป็นประธานในพิธีมอบประกานียบัตรให้แก่คณาจารย์จากสถาบัน อาชีวศึกษาต่างๆ ที่ผ่านอบรม โทชิอากิ มาเอคาวะ ประธานกรรมการมูลนิธิกลุ่มอีซูซุ และกรรมการผู้จัดการบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลล์ จำกัด เปิดเผยว่า กว่า 6 ทศวรรษ ที่อีซูซุ ได้ดำเนินงานตามปรัชญาการดำเนินธุรกิจของอีซูซุที่เรียกว่า “วิถีอีซูซุ” นั่นคือ ผู้ใช้สุขใจเพิ่มพูลรายได้ ช่วยให้สังคมพัฒนา โดยได้ริเริ่มและสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เพราะเชื่อว่าการศึกษาคือรากฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน โดยที่ผ่านมาอีซูซุได้ร่วมมือกับสำนักงานาคณะกรรมการอาชีวศึกษาในการพัฒนาบุคคลากรของอาชีวะมายาวนาน ผ่านโครงการต่างๆ ในหลายรูปแบบ อาทิ ศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยียานยนต์ สนับสนุนโดยอีซูซุ 12 แห่ง สื่อการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ มัลติมิเดีย รวมถึงการมอบสื่อการเรียนให้แก่วิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศไทย ดังนั้นการสร้างพื้นฐานทางการเรียนรู้อย่างบูรณาการ อีซูซุจึงผลักดันให้มีการจัดอบรมสัมมนาเชิงปฎิบัติการ ในหลักสูตร “เทคโนโลยียายนต์อีซูซุ” ขึ้น เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการสร้างเสริมและต่อยอดความรู้ด้านเทคโนโลยียานยนต์จากอีซูซุไปสู่สังคมโดยรวม โดยมีบุคคลในสังกัด สอศ. เป็นกุญแจสำคัญในการเชื่อมโยงความรู้เหล่านั้นไปสู่นักเรียน นักศึกษา ในสายสาขาวิชาชีพ ซึ่งอีซูซุหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดอบรมดังกล่าว จะช่วงเสริมสร้างศักยภาพให้กับนักเรียนนักศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562

                สแกนเนีย เสริมความแข็งเกร่งตลาดไทย-เอเชีย ผุดโรงงานประกอบรถบรรทุกในประเทศไทย มูลค่า 800 ล้านบาท ระบุเป็นการลงทุนใหญ่สุดนอกยุโรป-ละติน อเมริกา พร้อมเปิดตัวรถยูโร 6 ชูจุดขายประหยัด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นายกุสต๊าฟ ชันเดล กรรมการผู้จัดการ สแกนเนีย กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า สแกนเนียเปิดโรงงานใหม่ในประเทศไทย เพื่อเสริมความแข็งแกร่งทั้งตลาดในประเทศเอเซีย โดยโรงงานใหม่ตั้งอยู่ในเขตการค้าเสรีกรุงเทพ รองรับการประกอบรถบรรทุก และแชสซีส์รถโดยสารรวมไปถึงสามารถทำการผลิตรถเก๋ง รถบรรทุกใช้งบประมาณ 800 ล้านบาท เป็นการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในสายงานการผลิตของสแกนเนียที่ดำเนินกิจการนอกทวีปยุโรปและละตินอเมริกา “การจัดตั้งโรงงานใหม่นี้เป็นความร่วมมือจากซับพลายเออร์ในประเทศสแกนเนีย สามารถสร้างรถบรรทุกและรถโดยสาร ได้ตามมาตรฐานระดับโลกโดยฝีมือคนไทย สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับการเติบโตของเรา ในเขตการค้าเสรีอาเซียนเพราะการมีถิ่นฐานในภูมิภาคนี้ทำให้สามรถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ำด้อย่างรวดเร็ว และทำให้แน่ใจว่าเราจัดหาโซลูชั่นการขนส่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า นอกจากนี้สำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคที่ก่อตั้งขึ้นในไทยยังสามารถสนับสนุนและพัฒนาธุรกิจให้กับตัวแทนจำหน่ายของสแกนเนียในเอเชียและโอเชียเนีย นายซันเดล กล่าวว่านอกจากนี้ สแกนเนียยังเปิดตัวรถบรรทุกขนาดใหญ่ มาตรฐานยูโร 6 รุ่นแรกของไทย ซึ่งสามารถช่วยลดอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงได้มาก และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพอากาศโดยรถรุ่นนี้ได้เข้าสู่ตลาดยุโรปตั้งแต่เดือน ส.ค. 2559 และได้รับการายอมรับจากสื่อมวลชน ยืนยันผลการทดสอบคุณภาพ ด้วยรางวัลรถบรรทุกยอดเยี่ยนานาชาติแห่งปี รถบรรทุกรุ่นใหม่ที่ไม่ได้เป็นเพียงยานพาหนะ หากยังเป็นเหมือนเครื่องมือพิเศษในรูปแบบของโซลูชั่นสินค้าและบริการที่ยังยืนอย่างครบวงจร โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ลูกค้าของเรามีเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการสร้างผลกำไรอย่างยั่งยืนในธุรกิจ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562

               เตรียมทะยานขึ้นแท่นผู้นำธุรกิจค้าปลีกรถยนต์ นายสัณหาวุฒิ ธรรมชวนวิริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท มาสเตอร์ กรุ๊ป คอณืเปอร์เรชั่น (เอเชีย) จำกัด หรือ “กลุ่มเอ็มจีซี – เอเชีย” หนึ่งในกลุ่มทุนยานยนต์ลายใหญ่ของประเทศไทย เปิดเผยว่าในปีนี้กลุ่มเอ็มจีซี-เอเชียเดินหน้าเพิ่มศักยภาพด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการก้าวเข้าสู่ดิจิทัล 5.0 และขยายเครือข่ายด้านการบริการ โดยยึดหลักการ “ลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญ” ตามเป้าหมายวิสัยทัศน์ปี 2020 (พ.ศ. 2563) หรือ VISION 2020 เพื่อมุ่งสู่การเป็นหนึ่งในผู้นำด้านธุรกิจค้าปลีกรถยนต์ พร้อมบริการครบวงจรในประเทศไทยและอาเซียน “โดยในช่วงเวลากว่า 5 ปีที่ผ่านมา หลายธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบจาก Digital Disruption (สภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เดิกจาดเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจขึ้นมาใหม่) ทางกลุ่มเอ็มจีซี-เอเชียตระหนัดและมองว่าเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่องค์กรจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยเดินหน้าเตรียมความพร้อมให้กลับทุกหน่วยธุรกิขในเครือเพื่อก้าวสู่ยุคดิจิทัล 5.0 อย่างเต็มรูปแบบ โดยมีการนำระบบมารเก็ตติ้งออโตเมชั่น มาใช้ฐานลูกค้าของเรากว่า 500,000 ราย รวมถึงลูกค้าผู้มุ่งหวังกว่า 700,000 ราย เพื่อวเคราะห์และยกระดับการสื่อสาร พร้อมสร้างประสบการณ์กับกลุ่มลูกค้าเหล่านี้การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อสร้างบริการแบบใหม่ที่ง่ายและสะดวก

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th